ส.ว. ติงแผนปฏิรูปประเทศช้า ไม่มั่นใจอีก 1 ปีทำรัฐบาลดิจิทัลสำเร็จ

29 พ.ย.2564 - ที่ประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาความคืบหน้าในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งพิจารณา แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน และ แผนปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และ สังคม โดยส.ว. ได้ท้วงติงต่อการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ในหลายประเด็น อาทิ การสร้างรัฐบาลดิจิทัล ที่พบว่ามีระยะเวลาของรัฐบาลเหลืออีก 1 ปีเศษ แต่การทำงานของหน่วยงานพบว่าไม่สามารถทำตามแผนได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการทำงานของหน่วยงานรัฐที่ทำงานล่าช้า โดยเห็นได้จากการตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม แต่ที่ผ่านมา พบว่ามีการชี้แจงข่าวเท็จ ข่าวปลอมจำนวนน้อยมาก เช่น พบข่าวปลอม 100 เรื่อง แต่การชี้แจงพบมีเพียง 6 เรื่องเท่านั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามต่อความคืบหน้าต่อการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน หลังจากทราบว่าได้เสนอร่างเนื้อหาให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้ว

พ.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ชี้แจง ถึงร่าง พ.ร.บ.ฯ ว่า กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการจัดทำเนื้อหา ได้นำเสนอร่างพ.ร.บ. ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรอบที่สาม หลังจากที่หน่วยงานได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ในสาระสำคัญ ร่างกฎหมายดูแลสื่อไม่ให้มีใครรังแกสื่อมวลชน นอกจากนั้นส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับการอบรมผ่านสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ความพยายามยกร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะมีความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เสนอกฎหมายที่กังวลว่า สื่อมวลชนควบคุมกันเองจะไม่สามารถทำได้ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน กังวลว่าหากมีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมเป็นกรรมการจะขาดความเป็นอิสระ อย่างไรก็ดีรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาดังกล่าว ผ่านการตั้งอนุกรรมการฯ มีนายมานิจ สุขสมจิต สื่อมวลชนอาวุโสเป็นประธานอนุกรรมการฯ โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายพื้นที่ และเสนอให้ ครม. พิจารณารอบที่หนึ่ง เมื่อวัน 18 ธ.ค.62 และมีมติเห็นชอบ จากนั้นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนส่งร่างกฎหมายให้กรมประชาสัมพันธ์พิจารณาและจัดทำบทวิเคราะห์ผลกระทบด้านกฎหมาย แต่กรรมการกฤษฎีกาและ ครม. 23 มี.ค.63 และ 29 เม.ย.63 ขอให้นำเรื่องกลับมาเสนอครม. อีกครั้ง

“การเสนอเนื้อหาร่างกฎหมายต่อ ครม. ครั้งที่สอง 23 ก.ย. 63 ครม.รับทราบด้วยความกังวล เพราะถูกสื่อมวลชนวิจารณ์การทำงาน หากไม่ดูรายละเอียดให้รอบคอบ อาจถูกมองว่าต้องการออกกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อและอีกทางคือ หากปล่อยให้คุมกันเอง จะทำให้มองว่ารัฐบาลต้องการให้สื่อมวลชนเป็นพวก จากนั้นจึงนำเสนอให้คณะกรรมการประสานงานสภาฯพิจารณาก่อนส่งให้ครม. พิจารณา 9 ก.พ.64 มีข้อสังเกตุ ก่อนจะส่งให้ กรมประชาสัมพันธ์พิจารณา เมื่อ 23 เม.ย.64 โดยหน่วยงานได้ได้นำข้อเสนอแนะ หารือกับอนุกรรมการยกร่าง เห็นว่าผ่านมาหลายรอบ จึงยืนยันกลับไปว่า จะใช้ร่างกฎหมายฉบับเดิม แต่ไม่ติดใจหากสภาผู้แทนราษฎรจะแก้ไข” พ.ท.สรรเสริญ ชี้แจง

พ.ท.สรรเสริญ ยังชี้แจงด้วยว่า กรมประสัมพันธ์ทำหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการครม. แล้ว เพื่อให้นำเข้าสู่ที่ประชุมครม. รอบที่สาม โดยยืนยันว่าได้ทำอย่างละเอียดและรอบคอบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' แนะให้โอกาส สว. ชุดใหม่ อย่าด้อยค่า

นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 โพสต์เฟซบุ๊กระบุความเห็นถึงรายชื่อสว.ชุดใหม่ ว่า เขาคือใครและเราคือใครในประเด็นวุฒิสมาชิกชุดใหม่

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

จ่อสอบผู้สมัครสว.กว่า4หมื่นคน

เลขาฯ กกต.ยกคำพิพากษาศาลวินิจฉัยสมัคร สว.ไม่ตรงกลุ่มอาชีพไม่ผิด สิทธิการรับสมัครเป็นคนละส่วนกับเอกสารรับสมัครเป็นเท็จ

เลขาฯกกต. อ้างคำพิพากษาศาล สมัคร สว.ไม่ตรงกลุ่มอาชีพไม่ผิด

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกสมัครเป็นเท็จ รับจ้างสมัคร