เตรียมคลอดมาตรการ “ภาษีรถอีวีคันแรก” หลัง “สุพัฒนพงษ์” เคาะมาตรการหลักหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์อีวี คาดมีผลเร็วสุด 1 ม.ค. 2565 พร้อมตั้งกองทุนหวังช่วยกดราคารถยนต์ไฟฟ้า ยันราคาต้องไม่แรงกว่ารถสันดาป
29 พ.ย. 2564 รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ได้พิจารณาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เป็นประธาน พิจารณาในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ โดยคาดว่ามาตรการภาษีรถอีวี จะมีผลในปี 2565 หรือ อย่างเร็วที่สุดมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565
ทั้งนี้ มาตรการภาษีรถอีวี จะต้องมีลักษณะที่สนับสนุนให้คนมีรถได้ คล้ายกับมาตรการภาษีรถคันแรก แต่รายเอียดจะต้องรอให้ นายสุพัฒนพงษ์ เป็นผู้ชี้แจงทั้งหมด โดยจะมีการตั้งกองทุนเข้ามาสนับสนุนในเรื่องของราคา รวมทั้งพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายในการถือครองรถ (Total Cost Of Owner) จะต้องไม่สูงกว่ารถสันดาปในปัจจุบัน เช่น รถอีวีอยู่ที่ 900,000 บาทต่อคัน ก็ต้องต้องใกล้เคียงกับรถสันดาปปัจจุบันที่ 600,000 บาทต่อคัน เพื่อให้สามารถซื้อรถอีวีได้ในราคาถูกลง
“ปัจจุบันภาษีนำเข้ารถยนต์อีวียังมีความแตกต่างกัน บางประเทศได้อัตรา 0% ตามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) นำเข้าจากญี่ปุ่น 80% กรณีเป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) อัตรา 20% จากเกาหลีใต้ 40% และจากยุโรป 80% โดยมาตรการภาษีรถอีวี จะเป็นอัตราเดียวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ” รายงานข่าว ระบุ
อย่างไรก็ดี ขณะที่นโยบายการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถอีวี เชื่อว่า ผู้ประกอบการยังมีความต้องการเข้ามาลงทุน แต่ความพร้อมแต่ละรายไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาให้รอบด้าน ส่วนการสนับสนุนให้ไทยเป็นจ้าวแห่งการผลิตรถกระบะไฟฟ้า ปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถกระบะอยู่แล้ว แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าก็ยอมรับว่าทำได้ยาก เพราะปัจจุบัน รถกระบะขนาดบรรทุก 1 ตัน เมื่อเป็นรถไฟฟ้า มีขนาดแบตเตอรี่ 200-300 กิโลกรัม หากต้องการจะสนับสนุนก็ต้องไปพิจารณารายละเอียด ความเป็นไปได้อีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ให้เร่งพิจารณามาตรการภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิต เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมรถอีวีทั้งห่วงโซ่การผลิต เริ่มต้้งแต่การผลิตแบตเตอรี่เป็นต้นไป รวมถึงอาจต้องมีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์อีวีในระยะต่อไป
นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการ หรือกลไกที่เข้าไปช่วยเพื่อสนับสนุนให้ราคารถยนต์อีวีลดลง จากปัจจุบันที่มีราคาแพง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้งานมากขึ้น เบื้องต้นอาจดำเนินการเป็นลักษณะเงินกองทุน ส่วนรายละเอียดคงต้องรอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติพิจารณา
ขณะเดียวกัน ต้องมีมาตรการสนับสนุนให้ไทยซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าแห่งการผลิตรถกระบะ น้ำหนัก1ตัน เริ่มมีการผลิตรถกระบะแบบไฟฟ้า จากขณะนี้ที่เริ่มมีค่ายรถยนต์บางแห่งมีการนำเข้ารถกระบะประเภทดังกล่าวมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีสายการผลิตในประเทศ ดังนั้นเงื่อนไขในการนำเข้ารถกระบะไฟฟ้าระยะแรกอาจต้องเพิ่มเรื่องการสนับสนุนการผลิตในประเทศไทยเข้าไปด้วย โดยต้องไปดูโครงสร้างภาษีที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนรถกระบะไฟฟ้า เพื่อให้ไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตรถกระบะ ซึ่งที่ผ่านมามีทางการผลิตเพื่อขายในประเทศและการส่งออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สุพัฒนพงษ์' ไขก๊อกสส.รทสช. 'แม่เลี้ยงติ๊ก' ขยับนั่งแทน
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) เปิดเผยว่า วันนี้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้ยื่นหนังสือ
'บิ๊กป้อม' บอกไม่รู้-ไม่ได้ดูแลโครงการนิคมฯจะนะ หลังนายกฯมอบ 'สุพัฒนพงษ์' ปธ.สอบข้อเท็จจริง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯให้สัมภาษณ์กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม แต่งตั้งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ
'สุพัฒนพงษ์' ลุยกู้เงิน 2 หมื่นล้านเร่งเยียวยาปัญหาน้ำมันแพง
"สุพัฒนพงษ์" เผนกระบวนการเยียวยาปัญหาน้ำมันแพง เร่งกู้เงิน 2 หมื่นล้านบาท เสริมกองทุนน้ำมันฯ แย้มจ่อฟื้นช็อปดีมีคืนรับปีใหม่จับตาลอยกระทงหวั่นเกิดคลัสเตอร์โควิด กระทบปีใหม่
'สุพัฒนพงษ์’ ลั่นยังมีหวังเศรษฐกิจไทยปีหน้า โต 5-6%
"สุพัฒนพงษ์" ลั่นยังมีหวังเศรษฐกิจไทยปีหน้า โต 5-6% ชู 4 โอกาสกระตุ้น ทั้งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก ดึงเอกชนย้านฐานการผลิต และปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ด้าน ททท.ฟันธงหน้าท่องเที่ยวไทยเริ่มฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไป