นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ เผยท่องเที่ยวฟื้นตัวก้าวกระโดด ต้องการแรงงาน 1.7หมื่นคน
12 มีนาคม 2566 – นายศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ กล่าวว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ปี 2565 ฟื้นตัวได้ดี อัตราเข้าพักกลางปี 2565 40% ปลายปี 2565 70% ปี 2566 ฟื้นตัวแบบก้าวกระโดด อัตราเข้าพัก ตั้งแต่มกราคมจนถึงมีนาคม เฉลี่ย 88% ซึ่งก่อนโควิด มีอัตราเข้าพัก 86% แสดงว่ากลับมาเป็นปกติแล้ว ค่าเซอร์วิสขาร์จ ของโรงแรม เฉลี่ย 30,000 -50,000บาท ถือว่า ท่องเที่ยวกลับมาดีเกินคาด อีกทั้ง ตลาดจีนเริ่มกลับเข้ามารวมทั้งตลาดใหม่คือคาซัคสถาน
ในส่วนปัญหาของการท่องเที่ยว ประสบกับปัญหาต่างๆ อาทิ ค่าตั๋วเครื่องบินแพงมาก อาทิ ไปกลับ ภูเก็ตกรุงเทพฯประมาณ 10,000บาท ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องให้การบินฟื้นตัวให้ค่าโดยสารถูกลง โดย ก่อนโควิด มีจำนวน 450เที่ยวบิน ตอนนี้ 250 เที่ยวบิน ถือว่า ฟื้นตัว 50% ยอดนักท่องเที่ยว ก่อนโควิด จำนวน 50,000 -60,000คนตอนนี้ได้จำนวนกว่า 40,000คน แล้ว ถือว่า ฟื้นตัว 70%
ปัญหาต่อมา คือ ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น และ ปัญหาสำคัญ คือ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน จำนวน 17,000คน ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ประสานกับสถานศึกษาทั่วประเทศ ส่งนักศึกษาเข้ามาฝึกงานในระบบทวิภาคี เป็นโอกาสดีที่นักศึกษาได้ทำงานได้ประสบการณ์ตรงของแต่ละสาขาอาชีพและบางสถานประกอบการอาจรับเข้าทำงานได้ทันที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถึงคิวภาคใต้ ฝนตกหนัก-หนักมาก ระวังน้ำป่า!
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตา
ยังไม่ปิด 'ศปช.' รันงานต่อรับมือภาคใต้ฝนถล่ม
“บิ๊กอ้วน“ ยังไม่ปิด ศปช. เหตุต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อ เตรียมพร้อมรับมือสัปดาห์นี้ภาคใต้ยังมีฝนหนักหลายพื้นที่
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนอากาศแปรปรวน 2-5 พ.ย.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
'ศปช.' เตือนภาคใต้ 9 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงมาก เฝ้าระวังใกล้ชิด
ศปช.ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมเตือนภาคใต้ 9 จังหวัดเสี่ยงสูงเฝ้าระวังฝนตกหนักในช่วงนี้ใกล้ชิด ยันยังไม่ถอนกำลังฟื้นฟูเชียงราย
กทม.- ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก ใต้ระวังน้ำท่วม
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคกลางตอนล่าง