นพ.ธีระวัฒน์เผยPM 2.5 ไม่ได้ทำร้ายปอดอย่างเดียว แต่มีผลต่อหัวใจ ซ้ำร้ายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันดับสี่ ในการเสียชีวิตมากกว่าไขมันสูง-ความอ้วน และไตแปรปรวนด้วยซ้ำ
02 ก.พ.2566 - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ฝุ่นจิ๋วพิษเจอไม่นาน...หัวใจวาย” มีเนื้อหาว่า เจอฝุ่นจิ๋วพิษ 2.5 และจิ๋วใหญ่ PM 10 กับไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เพียงแค่วันถึงสองวันโอกาสเสี่ยงตายสูงจากเส้นเลือดหัวใจตัน (acute MI) เป็นการรายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021 รวมทั้งบทบรรณาธิการ
ทั้งนี้ ทุกๆปริมาณของฝุ่นเล็กจิ๋วและจิ๋วใหญ่ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จนกระทั่งถึงระดับ 33.3 และ 57.3 ตามลำดับ จะเสี่ยงตายต่อโรคหัวใจสูงขึ้น และเช่นเดียวกันกับความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นการศึกษาในประเทศจีนในช่วงปี 2013 ถึง 2018 แต่ประเทศจีนมีการปรับตัว เตรียมการจัดการกับฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2012 และประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ โดยเริ่มมีการติดตั้ง เครื่องวัดทุกๆ 1 ตารางกิโลเมตร โดยจะมีเครื่องวัดหนึ่งเครื่อง คอยเตือนและคอยจัดการกำจัดมลพิษเหล่านี้ ตามนโยบายเด็ดขาด จนมีความสำเร็จอยู่บ้าง
การศึกษานี้เป็นการพิสูจน์ตอกย้ำ ข้อสังเกตก่อนหน้านี้ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นจิ๋วพิษ ที่ไม่ได้ทำร้ายปอดอย่างเดียว แต่มีผลต่อหัวใจในลักษณะเฉียบพลันด้วย และไม่ใช่เป็นในลักษณะที่เป็นผลเรื้อรังเท่านั้นแบบที่เข้าใจกัน
ทั้งหมดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า พายุทราย ภูเขาไฟระเบิด การจงใจเผาป่าเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมอย่างอื่น และมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น จากการต้องการพลังงานจากการเผาถ่านหินฟอสซิล เหล่านี้เป็นตัวการสำคัญในการเกิดฝุ่นจิ๋วพิษ 2.5 และผลกระทบจากการเผาฟอสซิล เพื่อพลังงานอย่างเดียว เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างน้อย 12% ทั่วโลก และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับสี่ ในการเสียชีวิตทั้งบุรุษและสตรี และมากกว่าปัจจัยอื่นที่เกี่ยวกับไขมันสูง ระดับน้ำตาล ความอ้วน การไม่ออกกำลัง หรือภาวะไตแปรปรวนด้วยซ้ำ
การที่ต้องเผชิญกับมลภาวะเช่นนี้ ทุกนาทีทุกวันต่อเนื่องทั้งชีวิต และมลพิษที่ยังถูกปลดปล่อยออกมา จากเครื่องยนต์ จากรถ จากโรงงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำร้ายสุขภาพ และฝุ่นจิ๋วพิษเหล่านี้ทำให้เสียชีวิตจากโรคทางหัวใจและเส้นเลือดมากกว่า 50% ทั้งนี้ เกิดขึ้นได้แม้ว่าระดับฝุ่นพิษเหล่านี้จะต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนดตามขององค์การอนามัยโลกหรือตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ
ประชากรโลกมากกว่า 92% จะอยู่ในพื้นที่ที่ค่าฝุ่นพิษและมลภาวะทางอากาศ เกินมาตรฐานองค์การอนามัยโลกมาตลอด โดยมีการประเมินว่าต้องเสียงบประมาณในการรักษาเยียวยาบำบัด สวัสดิการ เป็นล้านล้านดอลลาร์ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตจากมลภาวะทางอากาศเหล่านี้
มลภาวะทางอากาศเหล่านี้ ทราบกันดีมานานว่าเกี่ยวข้องกับฝุ่นพิษจิ๋วเล็กและใหญ่รวมกระทั่งถึงซัลเฟอร์–ออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ และมีการศึกษาความเชื่อมโยงกับสาเหตุการตาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและระบบเส้นเลือดในประเทศทางฝั่งตะวันตกแต่ยังมีข้อจำกัดในการระบุระดับ และชนิด และขนาดของฝุ่น และผลกระทบระยะเวลาที่ส่งผลกับการตายเฉียบพลัน
การศึกษาที่มีการรายงานครั้งนี้มาจากพื้นที่มณฑลหูเป่ย และมีเมืองหลวงก็คืออู่ฮั่น
ทั้งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีมลภาวะทางอากาศเข้มข้น และทำให้สามารถทำการศึกษาจากคนที่ตายจากโรคหัวใจและเส้นเลือดจำนวน 151,608 ราย ค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นเล็กจิ๋ว 2.5 ในมณฑลนี้ และในหลายพื้นที่ของประเทศจีนและอินเดียอยู่ที่ 63.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และการที่ได้รับฝุ่นพิษจิ๋วเล็ก 2.5 และจิ๋วใหญ่ขึ้นขนาด 10 ไมครอนภายในหนึ่งวัน หรือในวันนั้นเองจะส่งผลกับการตายอย่างมีนัยสำคัญ
ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ทุกๆปริมาณที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นจิ๋ว 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงของการตาย 4.14% และสำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์เพิ่มความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1.3%
จากการวิเคราะห์ในเชิงลึกในรายงานนี้ไม่พบความสัมพันธ์ชัดเจนกับระดับของโอโซน แต่การที่ไนโตรเจนไดออกไซด์มีส่วนในการตายทำให้มีการเพ่งเล็งถึงมลพิษ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ของรถเป็นพิเศษ ทั้งนี้ แน่นอนคนสูงวัยอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ตายเยอะกว่าคนหนุ่มสาวและคนที่อายุน้อยกว่า 70 ปี แต่การตายที่ไม่สมควรเหล่านี้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ
การระบาดของโควิด-19 ปรากฏผลชัดเจน จากการที่แทบไม่มีการใช้รถยนต์และเครื่องบินโดยสาร และมีผลต่อการที่มลภาวะฝุ่นจิ๋วเล็กเหล่านี้หายไปมาก
ทั้งนี้ เป็นความฝันของมวลมนุษยชาติที่จะเห็นท้องฟ้าสีน้ำเงิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด
ขอแค่ยื้อเวลา แม่เลี้ยงเดี่ยววัย 29 ปี ป่วยมะเร็งกระดูกอ่อนระยะสุดท้าย วอนผู้ใจบุญเมตตา
ขอแค่ยื้อเวลา ได้อยู่กับลูกๆ นานกว่านี้ แม่เลี้ยงเดี่ยววัย 29 ปี ป่วยมะเร็งกระดูกอ่อนระยะสุดท้าย ทรุดหนัก เดินไม่ได้ นอนติดเตียง มา 3 เดือนแล้ว ไม่มีเงินรักษา วอนผู้ใจบุญเมตตา
โควิด-19 รายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาลทะลุหลักพัน เสียชีวิต 3 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2567
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล ทะลุหลักพัน เสียชีวิต 5 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2567
‘หมอธีระ’ ข้องใจตัวเลขโควิด สัปดาห์ก่อนพุ่งอาทิตย์นี้ลดฮวบ ไม่ใช่เรื่องปกติ
สัปดาห์ก่อน ตัวเลขนอนรพ.พุ่งขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 78% แต่สัปดาห์ล่าสุดนี้ ลดลงฮวบฮาบจากสัปดาห์ก่อนถึง 57.7% ส่วนตัวคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ควรต้อง explore