เลขาฯประธานชวนหลั่งน้ำตาอำลา ปชป. เรียกร้องขอความเป็นธรรมเป็นผู้เสียสละ แต่ถูกโพลไร้มาตรฐานเขี่ยให้ไม่ให้ลงสมัคร ไม่มีที่ยืนในพรรค จากนี้ไปจะไปหารังใหม่ที่ชื่อว่ารวมไทยสร้างชาติ
08 ธ.ค.2565 - นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎร และ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จังหวัดตรัง 4 สมัย กล่าวเปิดใจกับผู้สื่อข่าวว่า เป็น ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็น ส.ส.มา 4 สมัย บรรพบุรุษก็อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ทุกคนก็รักศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด การตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพราะไม่มีที่ยืน พรรคเขาใช้วิธีทำโพลเลือกผู้สมัครของการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ และประกาศว่าตนเองแพ้โพล ส่วนลึกในใจก็เสียใจเพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ให้กำเนิดตนมา มีท่านนายกฯชวน ท่านนายกกิจ เปรียบเสมือนบิดาทางการเมือง
นายสมบูรณ์กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อย้ายไปอยู่พรรคใหม่ ก็ได้ปรึกษาผู้ใหญ่ โดยเฉพาะท่านชวน โดยแจ้งให้ท่านทราบว่าทางพรรคเขาได้ทำโพลและประกาศว่าผมแพ้โพล พูดง่าย ๆ คือ ผมไม่มีที่ยืน ผมจึงเรียนกับท่านชวนไปว่าจะขอลงสู้เพื่อเป็นผู้สมัครของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้พี่น้องประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เมื่อทางพรรคส่งได้คนเดียว เมื่อทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งตนเอง ก็จำเป็นที่ต้องไปหาพรรคการเมืองอื่นที่เขายินดีที่จะส่งเป็นผู้สมัคร ซึ่งทั้งนี้ถามว่าตนเองจะตอบกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของเสียงอย่างไรนั้น ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าวันนี้แสดงความจำนงว่าลงสมัครเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดมาว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ส.ส.เขต จะมี 400 เขตทั่วประเทศ จังหวัดตรังจาก 3 เขตก็จะเพิ่มเป็น 4 เขต ก็จะกลับมาเหมือนกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 เมื่อมี 4 เขต ตนเองเป็น ส.ส.อยู่ในเขต 4 ซึ่งเป็น ส.ส.มา 4 สมัย
“ผมแสดงความจำนงเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อแสดงความจำนงไปแล้ว ทางพรรคแจ้งว่าเนื่องจากในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ถ้าส่งลงไปอาจจะแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าใช้หลักอะไรเป็นหลักคิดว่าถ้าส่งลงจะแพ้การเลือกตั้ง เพราะถ้าดูตามคะแนนเดิม ตนเองลงในเขตเลือกตั้งที่ 4 ครั้งแรกปี 2544 ผมได้คะแนน 9 พัน กว่าคะแนน พอปี 2548 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 คนได้ที่ 1 คะแนน 59,600 คะแนน พอครั้งที่ 3 เนื่องจากมีการรวมเขต เขต 3,4 มารวมกันผมได้คะแนน 122,000 กว่าคะแนน ถ้าเฉลี่ยได้ประมาณ 6 หมื่นกว่าคะแนน พอครั้งที่ 4 ปี 2554 ผมได้คะแนน 74,387 คะแนน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เดินเข้าคูหา 100 คน ลงคะแนนให้ผม 90 กว่าคน เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าตนเองเป็นหลุมดำหรือลงเลือกตั้งแล้วผมงแพ้ ถ้าดูตามคะแนนแล้ว ผมเองยังมั่นใจของคะแนนไว้วางใจของพี่น้องประชาชนที่ให้เรา กว่า 7 หมื่น 4 พันคะแนนถือว่าเยอะมาก”
นายสมบูรณ์เล่าอีกว่า เมื่อให้เหตุผลไปแล้ว เขาแจ้งว่า เนื่องจากเขตนี้มีผู้สมัครมากกว่า 1 คน โดยหลักการจริง ๆ ก็ พรรคก็คงต้องใช้ระบบพิจารณาระหว่างตนเองกับผู้สมัครอีกคน เราดูกันว่าความเหมาะสมควรจะเป็นใคร เป็นสมาชิกกันมามากน้อยแค่ไหน การเป็นสมาชิกมันเป็นความจงรักภักดีต่อพรรค ตนเองเป็นสมาชิกมาหลายสิบปีแล้ว พรรคต้องพิจารณาว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาคุณสมบูรณ์แพ้นะ เพราะฉะนั้นครั้งนี้เราจำเป็นต้องหาผู้สมัครใหม่ ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้เอาอย่างนี้ไหม เรามาสำรวจความเห็นของคนในพรรคประชาธิปัตย์ในเขตเลือกตั้งและสมาชิก
นายสมบูรณ์ย้ำว่า ได้แจ้งไปแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการทำโพล พรรคต้องมีวิธีที่พิจารณาที่เป็นธรรมกว่าวิธีการตัดสินด้วยการทำโพล เช่นถ้าทำโพลด้วยหลักวิชาการ ทำโพลอย่างถูกต้อง ตนเองเป็นเป็นนักกีฬา เมื่อผลการแข่งขันออกมาแล้วเรายอมรับได้ แต่ในการทำโพลครั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตเยอะมาก หลังจากที่ประกาศผลตนเองได้ไปสอบถามทำหนังสือถึงท่านหัวหน้าพรรคว่า ขอทราบรายละเอียดของการทำโพล เช่น สถาบันที่ทำโพลคือที่ไหน ตามข่าวแจ้งว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การออกแบบสำรวจสอบถามเรื่องแบบสำรวจมันก็ต้องถูกหลักตามวิชาการ เชื่อถือได้ การกระจายตามประชากรของเขตที่ 4 ของชุมชน ตำบล เป็นอย่างไร สุดท้ายก็ไม่ได้รับคำตอบ หลังจากนั้นไปหาท่านเลขาธิการได้ให้ชื่ออาจารย์ที่ทำโพล ซึ่งหลังจากนั้นได้ติดต่อไปยังอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ที่ได้รับรายชื่อมา แล้วเดินทางไปยังหาดใหญ่ ไปสอบถามว่าในการทำโพลครั้งนี้อาจารย์มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง และได้ทำหนังสือไปยังหัวหน้าอีกฉบับหนึ่ง เรียนให้ทราบว่าหลังจากที่ตนเองไปพบท่านอาจารย์ที่ทำโพลทั้ง 3 ท่านแล้ว สรุปว่า โพลที่ทำโพล ส.ส.ตรังเขต 4 ไม่ใช่ ม.อ.เป็นผู้ทำโพล เป็นเพียงแค่อาจารย์ของ ม.อ.เป็นนักวิชาการอิสระ ที่มารับจ้างทำโพล ด้วยเงินค่าจ้าง 1 แสน 8 หมื่นบาท ตามที่อาจารย์ได้แจ้งมา
“ผมได้ถามว่าเมื่อทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นผู้ทำโพล ไม่ได้รับรองผลโพล ก็คืออาจารย์เป็นผู้รับรองถูกต้องหรือไม่ ผมจึงถามต่อไปว่าวัตถุประสงค์ของการทำโพลครั้งนี้อาจารย์ทราบหรือไม่ว่าทำเอาไปตัดสินว่าใครเป็นผู้สมัคร ทางอาจารย์แจ้งว่าไม่ทราบ เขาคิดว่าเอาไปประกอบการพิจารณา อาจจะมีการพิจารณาหลาย ๆ หลักเกณฑ์ การทำโพลว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ การออกแบบสอบถามมีหลายข้อ ผมถามว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร เรื่องความน่าเชื่อถือ ความยุติธรรมของแบบสอบถามมีการชี้นำหรือไม่ ทางอาจารย์ตอบว่าแต่ละข้อมูลได้มาจากทางพรรค แต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ต้องมาวิเคราะห์ว่าข้อมูลนี้มีความเป็นธรรมกับผู้สมัครหรือไม่”
นายสมบูรณ์เปิดใจต่อว่า เมื่อสอบถามการกระจายแบบสอบถามไปยังประชากรอาจารย์ให้ใครลงไปสำรวจ เขาแจ้งว่าให้เครือข่ายเยาวชนในจังหวัดตรัง แบบสอบถาม 6,300 ชุด อาจารย์จัดสรรอย่างไร แบบสอบถามต้องมีตราประทับ ต้องรันนิ่งนัมเบอร์ที่จะออกไปตามอำเภอต่าง ๆ เพื่อให้ได้ 6,300 ชุด ทางอาจารย์แจ้งว่าไม่ทำเลย ไปถ่ายเอกสารทั้งหมดที่เหลือ จึงมองว่านี่เป็นข้อสังเกต ซึ่งไปเจอการถ่ายเอกสารที่ร้านถ่ายเอกสารที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเป็นพันแผ่น เอกสารดังกล่าวเป็นตัวจริงหรือไม่ เขาบอกว่าเป็นแบบสอบถามจริง จึงนำไปแจ้งความว่าเอกสารดังกล่าวอาจจะเอามาเป็นการทุจริตในการทำโพลก็ได้ ไปสอบถามใคร หรือมานั่งเขียนเอาเอง ซึ่งได้ถามว่าอาจารย์ได้ออกไปควบคุมหรือไม่ ทางอาจารย์บอกปฏิเสธว่าไม่ได้ออกไปควบคุม เพราะเชื่อใจ จึงมองว่าการทำโพลไม่โปร่งใส เพราะตนเองเป็น ส.ส.มา 4 สมัยย่อมมีทีมงาน เมื่อไปสอบถามทีมงานในพื้นที่ว่ามีใครได้ใบสำรวจบ้างหรือไม่ คำตอบที่ได้คือไม่มีใครได้ใบสำรวจสักคนเดียว ก็แสดงว่าการสำรวจนี้สำรวจจริงหรือไม่ เป็นการจัดทำเป็นโพยหรือไม่ เมื่อผลออกมาแล้วก็ไม่ได้คำตอบก็รอว่าเขาพิจารณาอย่างไร
“มันเป็นสิ่งที่เจ็บปวดบางเรื่องเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมเองรักพรรคประชาธิปัตย์มาก มาวันนี้เราเองกลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ทางท่านหัวหน้าแนะนำให้ตนไปลงบัญชีรายชื่อ ผมก็ขอบคุณท่านหัวหน้า แต่ผมขอลงเขต เพราะก่อนหน้านี้เคยเสียสละไปแล้วในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตรังเหลือ 3 เขต ทั้งที่เป็นสิทธิของผม ผมก็ทำเพื่อพรรค ไม่ให้พรรคมีการทะเลาะแย่งกัน เพราะการเมืองถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจะมาแย่งกันทำไม เราสามารถที่จะทำงานตรงจุดไหนก็ได้ ผมจึงไปขึ้นบัญชีรายชื่อลำดับที่ 35 เป็นที่ทราบคือลำดับไม่ถึง ท่านชวนก็เมตตาให้ไปเป็นเลขาประธานรัฐสภา ผมก็ทำหน้าที่เลขานุการประธานรัฐสภาอย่างดี แล้ววันนี้ทำงานให้พรรคก็ยังทำอยู่ ไม่ว่าจะเจอโควิด หรือ น้ำท่วม งานบุญ งานกุศลต่าง ๆW
นายสมบูรณ์กล่าวว่า ในวันนี้จะไปยื่นไปลาออกกับ กกต. ทั้งนี้ดูพรรคที่ต้องมีนโยบายที่ทำเพื่อพี่น้องประชาชน และโดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นธรรม ผ่านการเมืองมา 20 กว่าปี เห็นนโยบายของพรรคการเมืองไม่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งจะเห็นข่าวในวันสองวันนี้ ในเรื่องการเลือกปฏิบัติของพรรคการเมืองในกรณีทีเป็นรัฐบาล พรรคนี้ไม่เลือกเราไม่พัฒนา เชื่อว่าพรรคที่เห็นแก่ประชาชนให้ความยุติธรรมต่อประชาชน วันนี้เห็นนโยบายของพรรครวมไทยสร้างชาติก็ตัดสินใจว่าจะไปขอร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เอกนัฏ' มั่นใจกระแสนิยม รทสช. ติดลมบน เลือกตั้งครั้งหน้าได้ สส.เพิ่มขึ้น
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เปิดใจต่อสื่อมวลชนถึงกระแสของพรรค รทสช.ขณะนี้
'เด็กชวน' สวนกลับ 'ทักษิณ' อยากสารพัด แต่ผวาอยู่ 2 เรื่อง
'ราเมศ' ยัน 'ชวน' ต่อสู้สิ่งไม่ถูกต้อง ยึดหลักสุจริตมาโดยตลอด ปัดแค้นส่วนตัวกับ 'ทักษิณ' สวนกลับคงไม่อยากหนีไปต่างประเทศซ้ำอีก
'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด
'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด
'ธนกร' แนะฝ่ายค้านเปิดศึกซักฟอกรัฐบาล อย่าแค่เล่นละคร ต้องตรวจสอบให้จริงจัง
นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแบบลงมติ
'จุรินทร์' ยึดหลัก 4 ข้อ โหวตแก้รธน. เชื่อ สว. ลงมติมีเหตุผลอยู่แล้ว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา
โฆษก รทสช. ขอบคุณแรงเชียร์ ผลโพลชี้ความนิยม 'รทสช.-พีระพันธุ์' เพิ่มขึ้น
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดเผยว่า ขอขอบคุณทุกการสนับสนุนและความไว้วางใจจากพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกคนในปีที่ผ่านมา ที่ให้การสนับสนุนและให้ความไว้วางใจพรรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง