'ดีป้า' ร่วมพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหลังโควิด

"ดีป้า" เดินหน้าส่งเสริมภาคเอกชนพัฒนา Safe T Travel แพลตฟอร์มท่องเที่ยวไทยที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีเอไอและบิ๊กดาต้ามาใช้วิเคราะห์ความชอบและความต้องการของนักท่องเที่ยว ก่อนนำเสนอข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแบบครบวงจรในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มคน โดยสามารถจองและชำระค่าบริการผ่านแอปพลิเคชัน QueQ พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย เสริมความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจ และร่วมพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19

31 ต.ค.2565 - ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องหยุดชะงัก ประชาชนทั่วโลก รวมถึงคนไทยเองต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยหันมาให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน การดำเนินธุรกิจ หรือแม้แต่การจับจ่ายใช้สอย รวมไปถึงการท่องเที่ยว และแม้ว่าสถานการณ์ต่างๆ กำลังดำเนินไปสู่ภาวะปกติใหม่ ภาคธุรกิจ เริ่มให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคกลับต้องประสบกับปัญหาด้านข้อมูลที่มีปริมาณมากและหลากหลาย ดังนั้น ดีป้า ในนามหน่วยงานภาครัฐจึงต้องเร่งพัฒนาบริการแก่ภาคประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง นำเสนอผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ควบคู่ไปกับการยกระดับผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทย

ด้วยเหตุนี้ ดีป้า จึงให้การส่งเสริม บริษัท เซฟที ทราเวล จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลสัญชาติไทยดำเนินโครงการ Digital Food Tourism เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลในระดับปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในชื่อ “Safe T Travel” (Multi Food Tourism Platform) ให้บริการข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ที่พัก (Accommodation) บริการยานพาหนะขนส่ง (Transportation) ร้านอาหาร (Restaurants) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น (Local Guide) กิจกรรมสันทนาการ (Activities) ร้านสินค้าที่ระลึก และสถานที่ปลอดภัย (Self-care) โดยนักท่องเที่ยวสามารถจองบริการต่าง ๆ ล่วงหน้า และชำระค่าบริการผ่านแอปพลิเคชัน QueQ อีกหนึ่งพันธมิตรที่ร่วมโครงการฯ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงอุทยานต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีการแจ้งเตือนให้นักท่องเที่ยวได้ทราบเมื่อใกล้ถึงคิว ซึ่งจะช่วยลดความหนาแน่นในพื้นที่ รองรับผู้ใช้งานได้ไม่จำกัด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารและการท่องเที่ยวไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า Safe T Travel ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางแนะนำประสบการณ์
การรับประทานอาหาร สันทนาการ และการท่องเที่ยวแบบครบวงจร โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่นักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง ด้วยการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้วิเคราะห์ความชอบและความต้องการเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มคน ก่อนประมวลผล และนำเสนอข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) ด้านการเดินทางท่องเที่ยว จองที่พัก/ร้านอาหาร ฯลฯ แบบ One Stop Service ที่ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน Safe T Travel จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวของไทยในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย ทั้งวิสาหกิจขนาดกลาง ขยาดย่อม และรายย่อยนำเสนอข้อมูลของตนเองในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนักท่องเที่ยวแบบอิสระและกรุ๊ปทัวร์

นอกจากนี้ ดีป้า จะร่วมส่งเสริมองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ
ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยวในวงกว้าง

“แพลตฟอร์มท่องเที่ยวไทยที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคนไทยจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ในการรับบริการอย่างปลอดภัยและได้มาตรฐาน ก่อให้เกิดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ๆ และสร้างโอกาสการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวสู่พื้นที่เมืองรอง ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่าง ๆ ของไทย พร้อมกันนี้ ดีป้า ประเมินว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าสู่แพลตฟอร์ม Safe T Travel มากกว่า 10,000 ราย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับเหล่าผู้ประกอบการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ลดการพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ก่อนนำพาประเทศก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในระยะถัดไป” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน

'ดีป้า' แถลงผลสำเร็จ ยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงาน

'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ

'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ

ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ

ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better

'ดีป้า' ประกาศผล 100 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งระดับประเทศ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากกิจกรรม Coding Bootcamp ใน 8 ภูมิภาค กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมประกาศผล 100 ทีม