วธ.เผยเยียวยาศิลปินสูงอายุที่ได้รับผลกระทบโควิดแล้ว 2,055 รายวงเงินกว่า 10 ล้านบาท

ศิลปินสูงอายุเฮ วัฒนธรรมจ่ายเงินเยียวยาศิลปินอายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 แล้ว 2,055 ราย เตรียมจ่ายที่เหลือเมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

12 ต.ค.2565 - นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน พิจารณาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนแก่กลุ่มศิลปินและกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยจากการหารือร่วมกันในส่วนของกลุ่มศิลปินและกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีอายุเกิน 65 ปีที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบและไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แจ้งความประสงค์เพื่อขึ้นทะเบียนรับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลผ่านสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมบันเทิงและสมาคมศิลปินพื้นบ้านนั้น ขณะนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการเยียวยาศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ของ วธ. จำนวน 2,459 ราย วงเงินรวมทั้งสิ้น 12,295,000 บาทแล้ว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการถึงเดือนตุลาคม 2565

นายอิทธิพลกล่าวต่อไปว่า เบื้องต้น วธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้โอนเงินเยียวยาให้กับศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบที่ 1 จำนวน 2,055 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 10,275,000 บาท และที่เหลืออีก 404 ราย เป็นเงินจำนวน 2,020,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีผู้ขอแก้ไขและปรับปรุงข้อมูลบัญชีธนาคาร ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะดำเนินการโอนเงินเยียวยาต่อไป พร้อมกันนี้ วธ. ได้มีหนังสือแจ้งสมาคม สมพันธ์ มูลนิธิ ชมรม ที่ขอรับการเยียวยาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อรับทราบผลการโอนเงินให้ศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ตามโครงการเยียวยาฯ และปัญหาอุปสรรคดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วย 1. สหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทย 193 ราย 2. สมาคมศิลปินขับซอล้านนา 58 ราย 3. สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา 125 ราย 4. สมาคมลิเกแห่งประเทศไทย 366 ราย 5. สมาคมหมอลำอีสาน 110 ราย 6. สมาคมหนังตะลุงปักษ์ใต้ 116 ราย 7. สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย 48 ราย 8. สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ 57 ราย 9. สมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทย 13 ราย 10. สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 388 ราย 11. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ 1 ราย 12. สมาคมผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ 2 ราย 13. มูลนิธิสวัสดิการนักแสดง 66 ราย และ 14. ชมรมกลุ่มศิลปินบันเทิงแห่งประเทศไทย (ศิลปินกลางแจ้ง) 512 ราย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)

"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย

“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน

“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA