'ดีป้า' โชว์ศูนย์ 5G EIC ช่วยภาครัฐ-เอกชน 2,000 รายปรับตัวเผชิญวิกฤตโควิด-19

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเผยผลการดำเนินงาน ศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) ในรอบ 1 ปี มีผู้เข้าชมศูนย์แห่งนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา ราว 2,000 ราย ตลอดจนเปิดอบรมไปแล้ว 6 หลักสูตร

9 พ.ย. 2564 นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ประเทศไทยเผชิญมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาปรับตัวประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G กันมากขึ้น ซึ่งช่วงเดือนกันยายน 2563 ดีป้า ได้จัดตั้ง ศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) โดยความร่วมมือกับพันธมิตรสำคัญอย่าง บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้ศูนย์แห่งนี้กลายเป็น Sandbox แหล่งเรียนรู้ชั้นเยี่ยม มอบองค์ความรู้ให้กับทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับแอปพลิเคชัน 5G และบริการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และดิจิทัลสตาร์ทอัพ ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 พลิกฟื้นเศรษฐกิจยุคดิจิทัลให้เติบโตอย่างมั่นคง

“ตั้งแต่เปิด ศูนย์ 5GEIC แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนผู้เข้าชมพื้นที่ทดสอบ ทดลอง และปฏิบัติการภายในศูนย์ ราว 2,000 ราย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ อีกทั้งเปิดอบรมให้กับผู้สนใจไปแล้ว 6 หลักสูตร สามารถยกระดับทักษะดิจิทัลให้บุคลากรด้านเทคโนโลยี มากกว่า 1,000 ราย” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สอดคล้องกับมุมมองของ คุณศรุตา ตั้งใจ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท พีบีเอ โรบอทิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ศูนย์ 5G EIC มีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผู้ให้บริการด้าน AI ROBOTICS and Automation Solution เพราะฉะนั้นหัวใจหลักสำคัญในการให้ประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าคือ เรื่องของ Data and Platform ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยี 5G ในการขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ของบริษัท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสร้างเสถียรภาพโซลูชันของบริษัทฯ ได้มากขึ้น ที่สำคัญศูนย์แห่งนี้ ยังเข้ามาช่วยเสริมทักษะให้ความรู้ในการปรับใช้เทคโนโลยีกับ Use Case ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น สามารถขยายฐานลูกค้ากระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น จากเดิม 30-50% ของกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่า 80% ของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบกับในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทุกคนต้องปรับตัว และหันมาพึ่งพิงเทคโนโลยีจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทเติบโตสวนทางกับภาพรวมของเศรษฐกิจ ดังนั้นการมีเทคโนโลยี 5G จึงเป็นตัวเร่งให้เกิดการนำมาใช้ได้จริง ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมตลาดระดับโลกได้แน่นอน

ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ความสำคัญของศูนย์แห่งนี้คือ การเป็นแหล่งพัฒนากำลังคน เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี สอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ ที่มุ่งเน้นการทำวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้จะทำให้เกิด Use Case มีชีวิต นำไปต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่สามารถใช้งานได้จริง เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน โดยเปลี่ยนโครงสร้างทั้งมหาวิทยาลัยฯ ให้กลายเป็นห้องเรียนคือ สามารถเรียนได้จากของจริง เห็นองค์ประกอบเสมือนจริง เปิดโลกวิธีการเรียนรู้ใหม่ ผ่านเทคโนโลยี VR AR ซึ่งจะกระจายนักศึกษาไปทั้งมหาวิทยาลัยฯ ไม่เกิดการกระจุกตัวอยู่แต่ในห้องเรียน ป้องกันความเสี่ยงโควิด-19 ภายใต้คอนเซปต์ Living Lab ดังนั้นเทคโนโลยี 5G จึงเป็นส่วนสำคัญในการแปลงโฉมมหาวิทยาลัยฯ เพราะต้องอาศัยระบบที่มีความเสถียรทั้งภายในและภายนอกอาคาร

สำหรับ ศูนย์ 5G EIC แห่งนี้ตั้งอยู่ ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นพื้นที่ทดลองการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการต่าง ๆ เช่น บริการทางการแพทย์ด้วย 5G (5G Medical Care), การเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G (5G Smart Agriculture) ระบบท่าเรืออัจฉริยะผ่านระบบ 5G (5G Port) การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยี 5G (5G Remote Education) ระบบการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G (5G Smart Security) เป็นต้น ซึ่งผู้สนใจเข้าชมศูนย์ 5G EIC สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ www.5geicthailand.com

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน

'ดีป้า' แถลงผลสำเร็จ ยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงาน

'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ

'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ

ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ

ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better

'ดีป้า' ประกาศผล 100 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งระดับประเทศ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากกิจกรรม Coding Bootcamp ใน 8 ภูมิภาค กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมประกาศผล 100 ทีม