2 ก.ย.2565 - เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ส่งจดหมายถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ชะลอการตรวจสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(Power Purchase Agreement) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และบริษัทผู้พัฒนาโครงการเขื่อนปากแบง ปากลายและหลวงพระบาง เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในช่วงวิกฤตค่าไฟแพงและพลังงานสำรองของประเทศไทยสูงเกิน 50%
หนังสือระบุว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนบนแม่น้ำโขง 3 แห่ง จะยิ่งทำให้เกิดภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในระยะยาวต่อผู้บริโภคและชาวบ้านริมฝั่งโขง 8 จังหวัดยังต้องแบกรับภาระทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ดังที่กำลังเกิดขึ้นจากเขื่อนไซยะบุรีมาแล้ว
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยนางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ประธานกมธ.ฯ ได้จัดประชุมเพื่อตรวจสอบกรณีการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงไม่ชอบด้วยกฎหมายและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นครั้งที่ 2 โดยมีตัวแทนฝ่ายที่ถูกร้องคือ กฟผ. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ร่วมชี้แจง แต่ไม่มีตัวแทนจากสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติร่วม และตัวแทนฝ่ายผู้ร้องจำนวน 7 คน เข้าร่วมการประชุม
นายอำนาจ ไตรจักร ตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงกล่าวว่า ผลกระทบเขื่อนไซยะยุรีชัดเจน ชาวประมง เกษตรริมโขง ประเพณี กระทบทุกอย่าง ปลาในแม่น้ำโขงหายไปกี่ชนิด ดินตะกอนหายไปเพราะอะไร วันนี้มาทราบว่าการไฟฟ้าตั้งงบเยียวยา 45 ล้านบาท ถามว่าเอาเกณฑ์ไหน พวกเรา 7 จังหวัด 1,050 หมู่บ้าน ผลกระทบชัดเจน ที่ดินของตนหายไป มีแต่โฉนด ความเสียหายไม่มีการเยียวยา ถามไปหน่วยงานไหนก็ไม่มีรับ สิ่งเหล่านี้เกิดกับพี่น้องริมโขง
“ท่านจะเยียวยา ท่านเอาเกณฑ์ไหนมาวัด ปัญหาเก่ายังไม่แก้ ปัญหาใหม่เอามา เราไม่คิดเรื่องเยียวยา ตอนนี้ขอชะลอสัญญาอีก 3 เขื่อนไปก่อน ขอให้ กฟผ. ศึกษาผลกระทบให้ครบถ้วนก่อน ไม่ใช่ทำประชาพิจารณ์ไปให้ผ่านๆ เท่านั้น ผมมาวันนี้ได้ยินว่า 45 ล้านคิดไว้ ประชาชนขอให้ชะลอก่อน พวกเรายิ่งลำบากจากภาระค่าไฟแพงและปัญหาผลกระทบอยู่ตอนนี้ ทำแบบนี้เท่ากับยิ่งจะซ้ำเติมชาวบ้าน เราอยากให้เลื่อนการซื้อขายออกไปก่อน เพราะตอนนี้ยังไม่จำเป็น”นายอำนาจ กล่าว
นายมนตรี จันทวงศ์ กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง กล่าวว่า ควรจะต้องมีการเปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกฟผ.และบริษัทต่อสาธารณะ เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะ และข้อกังวลเกี่ยวกับร่างสัญญา เนื่องจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าวมีลักษณะเป็นการ “ไม่ซื้อ ก็ต้องจ่าย” (take or pay) ที่อาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนผู้พัฒนาโครงการ หากมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขให้หวนคืนได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อย 29 – 35 ปี ตามอายุสัญญา ซึ่งประชาชนผู้จะได้รับผลกระทบโดยตรงและในฐานะผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นโดยไม่มีความเป็นธรรมระยะในยาวอันเป็นผลกระทบอย่างยิ่งทั้งประชาชนและประเทศชาติ อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อีสานสกูตเตอร์ เลาะตามสายแม่น้ำ 8 จังหวัด ปลดพันธนาการเขื่อนแม่น้ำโขง
กลุ่มแม่โขงอีสานสกูตเตอร์รณรงค์ผลกระทบจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง จากเขื่อนสานะคาม จ.เลย ถึง เขื่อนภูงอย จ.อุบลฯ ผ่าน 8 จังหวัดติดแม่น้ำโขงระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร
ไม่รอด! ศาลสั่งจำคุก-ริบรถยนต์ เจ้าของเทสล่าหัวร้อนขับป่วนบนทางด่วน
ที่ศาลแขวงดุสิต ซอยสีคาม ถนนนครไชยศรี พนักงานอัยการสำนักงานคดีศาลเเขวง ได้ยื่นฟ้อง นายปิติพัฒน์ กาญจนภาณุรัช ในข้อหา ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย
นายกฯแพทองธาร กล่าวถ้อยแถลงไทยยึดหลัก 3 ข้อ เสริมสร้างประชาคมลุ่มน้ำโขง
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) ของการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ 8 แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
แจงดราม่า! งานตักบาตรพระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด โยนออแกไนซ์รับผิด
จังหวัดนครพนม ได้รายงานข้อเท็จจริง กรณีงาน "มหาบุญแห่งศรัทธานครพนม" โดยตามที่ปรากฏข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็น "ทัวร์ลงยับ นิมนต์พระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น
สิ้นท่า 'ท้าวตู้' ตัวตึงค้ายาฝั่งโขง ยอมแฉหมดเปลือกแลกอิสรภาพ
นครพนม-จู่โจมจับกลางลำน้ำ “ท้าวตู้ตัวตึงฝั่งโขง” พร้อมชาวประมงคนไทยรวม 2 ราย ทำทีหาปลาแฝงขนยาบ้า ลูกเล่นอ้างจะแฉชื่อเอเยนต์ เพื่อแลกกับอิสรภาพ
ทัวร์ลงยับ! นิมนต์พระ 1 พันรูป ตักบาตรริมโขง ปล่อยพระนั่งตากแดดจนเหงื่อชุ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้ชื่อ “Kittichai Kaenjan” โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว มีข้อความว่า “มนต์พระมานั่งตากแดด จนหลวงพ่อเปียกเมิด บาดเจ้าของนั่งในฮ่ม (พระกะคนใด๋ ฮ้อนเป็นคือกัน) บางอำเภอมาตั้งแต่ตี 3 นั่งถ้าจนหกโมง