สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่องนโยบายโดนใจ ช่วยประชาชน
7 พ.ย. 2564 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง นโยบายโดนใจ ช่วยประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,235 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 – 6 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา
ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ 5 อันดับแรก ของความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายและมาตรการโดนใจ ช่วยเหลือประชาชน ช่วงวิกฤตโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า อันดับแรก คือ โครงการคนละครึ่ง เป็นผลงานรัฐบาลโดยรวม ร้อยละ 81.7 อันดับสอง ได้แก่ การเปิดประเทศ ดึงรายได้เข้าประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เข้มไปกับมาตรการควบคุมโรค ร้อยละ 71.4 อันดับสาม ได้แก่ โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดราคาอาหาร ของกิน ของใช้ ช่วยประชาชนลดภาระค่าใช้จ่าย โดย กระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 53.7 ในขณะที่ อันดับสี่ ได้แก่ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด – 19 การจัดหาวัคซีนและตัวยาอื่น ๆ ให้ประชาชน โดย กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 52.2 และอันดับห้า ได้แก่ โครงการประกันรายได้เกษตรกร พืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ยางถ้วย ยางแผ่น มันสำปะหลัง ปาล์ม และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดย กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรฯ ร้อยละ 50.2
ที่น่าสนใจคือ ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกร พืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ยางถ้วย ยางแผ่น มันสำปะหลัง ปาล์ม และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำแนกแบ่งออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้และภาคอีสาน พอใจต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกร พืช 5 ชนิด มากกว่าทุกภาค คือ ร้อยละ 61.3 ของภาคใต้และร้อยละ 59.8 ของภาคอีสาน ในขณะที่ ประชาชนในภาคเหนือ พอใจต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรน้อยที่สุดคือร้อยละ 22.4 คนกรุงเทพมหานครพอใจ ร้อยละ 43.3 และคนภาคกลางพอใจร้อยละ 48.5
ที่น่าพิจารณาคือ ความพึงพอใจของประชาชนต่อ นโยบายและมาตรการด้านอื่น ๆ เช่น ความมั่นคง ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมายลอบเข้าเมือง การให้บริการระบบราชการแก่ประชาชน และการศึกษา เป็นต้น พบว่า พอใจต่อมาตรการความมั่นคง ความขัดแย้งของคนในชาติ ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดย หน่วยงานความมั่นคง ร้อยละ 45.6 พอใจต่อการให้บริการประชาชนในการติดต่อราชการ เช่น ฝ่ายปกครอง ที่ว่าการอำเภอ กทม.โดยสำนักงานเขต หน่วยงานระดับท้องถิ่นและส่วนกลางโดยภาพรวม ร้อยละ 42.6 พอใจโครงการและการบริการรถไฟฟ้า สายต่าง ๆ การจราจรทาง บก น้ำ และอากาศ โดยกระทรวงคมนาคม ร้อยละ 42.4 และพอใจต่อการแก้ปัญหายาเสพติด โดยกระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 42.3
นอกจากนี้ มีความพอใจต่อโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ร้อยละ 41.1 พอใจต่อการแก้ปัญหา มลพิษ สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะ โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40.0 อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ พอใจต่อการแก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายหลบหนีเข้าเมือง ร้อยละ 37.4 พอใจต่อ คุณภาพการศึกษาและความปลอดภัยของเด็กนักเรียน โดย กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 37.1 และพอใจต่อ คุณภาพการศึกษาของนักศึกษา โดย กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร้อยละ 36.9 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมต่อ นโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ 5.45 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ภาคใต้ 6.46 คะแนน รองลงมาคือ ภาคกลาง ได้ 5.81 คะแนน และภาคอีสานได้ 5.13 คะแนน ในขณะที่ คนกรุงเทพมหานคร ได้ 5.00 คะแนน และคนในภาคเหนือ มีคะแนนเฉลี่ยความพอใจน้อยสุด 4.64 คะแนน
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็น 5 อันดับแรกของนโยบายและมาตรการโดนใจช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง การเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นผลงานรัฐบาลโดยรวม โครงการธงฟ้าลดราคาของกินของใช้ของกระทรวงพาณิชย์ การควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข การประกันรายได้เกษตรกรของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ เป็นนโยบายและมาตรการที่โดนใจช่วยประชาชน ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาและต้องการของประชาชนที่มีมากขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในประเทศ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งเครื่องขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจมหภาคและปากท้องไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะการออกนโยบายต่อโครงการต่างๆมากขึ้นที่จะช่วยให้ ครัวเรือน ชุมชน การท่องเที่ยว เกษตรกร และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย เริ่มฟื้นตัวยืนได้และก้าวเดินไปข้างหน้าไปด้วยกัน โดยต้องระวังควบคุมโรคและไม่ประมาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซูเปอร์โพลชี้ เด็ก- เยาวชน สนใจการเมืองแต่อยากเห็นการทำงานโปร่งใส
ดร.ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เด็กคิดอย่างไรต่อการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 14 – 19 ปี ทุกภูมิภาคของประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,089 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม พ.ศ.2568 ที่ผ่านมา
‘อนุทิน’ ปลื้มโพลสะท้อน ปชช. ยก ‘มหาดไทย’ กระทรวง-รัฐมนตรี มีผลงานด้านสังคม
‘อนุทิน’ ขอบคุณประชาชนให้คะแนนมหาดไทยอันดับ 1 กระทรวงและรัฐมนตรีมีผลงานด้านสังคม เผยเป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อประชาชนและประเทศชาติ
โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
'รมว.ท่องเที่ยว' นำร่อง 'แอ่วเหนือคนละครึ่ง' แพจเกจกระตุ้นท่องเที่ยวปลายปี
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางตรวจเยี่ยม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระหว่างวันที่ 11-12 ต.ค.67 ในสถานที่ท่องเที่ยว
ขุดคำพูด 'เผ่าภูมิ' โจมตีคนละครึ่ง ตอนนี้เป็นรมต.แล้ว คงได้บทเรียนอย่าพูดแต่เอามัน
กรณีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยฟื้นโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่งนั้น