28 ก.ค.2565 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สามประสาน วินัย-ยารักษาเร็ว-วัคซีน วัคซีนไม่ใช่คำตอบเดียว จาก Imperial Collegeในวารสาร Science เดือนมิถุนายน และรายงานอื่นๆ จนปัจจุบัน
สำคัญมากครับ ทั้ง T และ B cell ในคนได้วัคซีนสามเข็ม หรือ ได้วัคซีนบวกติดเชื้อด้วยโควิดสายเก่งต่างๆ (variant of concern) มาก่อน เมื่อมีการติดโอไมครอนกลับมีการตอบสนองที่ลดลงไปต่อโอไมครอน เมื่อเทียบกับสายอื่นๆ และอธิบายว่าเมื่อมีการติดโอไมครอนที่เป็นการติดเชื้อตามธรรมชาติ โอไมครอนไม่ได้ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างที่หวังจะให้เป็น แบบตัวกระตุ้นผสมกับวัคซีน ที่เรียกว่า ไฮบริด
และวัคซีนที่ฉีดไปทั้ง 3 เข็ม รวมทั้ง mRNA gen ใหม่ ที่มี omicron spike ก็ได้ผลแบบเดียวกันคือ กลับลดลงต่อโอไมครอน แต่กลับไปเพิ่มภูมิต่อโควิดสายเดิม ทั้ง อู๋ฮั่น แอลฟา เดลต้า ตามที่มีพิมพ์เขียวอยู่
ทั้งนี้ แสดงว่าepitopes ของ T และ B ที่วัคซีน รุ่นใหม่จะดีหรือไม่อาจจะต้องอยู่นอก spike/RBD หรือขึ้นกับ Conformational epitopes ระหว่างการติดเชื้อของ โอไมครอนหรือไม่ ตามที่คณะผู้วิจัยวิเคราะห์
ปรากฎการณ์นี้ เรียกว่า hybrid immune damping
ผลกระทบก็คือไม่ว่าฉีดวัคซีน หรือไม่ว่าติดโอไมครอนไปแล้วหรือ ฉีดและติดไปแล้ว ติดโอไมครอนใหม่ซ้ำซากได้ และหมายความว่าลองโควิดที่จะเจอจะมากขึ้นเรื่อยๆจากการติดเชื้อซ้ำๆ แม้ว่ารายงานระยะแรกในปี 2565 โอไมครอนดูเหมือนจะเกิดลองโควิดน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม การฉีดครบสามเข็มด้วย PZ หรือ MDN / AZ AZ และ เข็มสาม PZ หรือ MDN ยังเป็นสิ่งจำเป็น ที่ช่วยลดอาการหนักหรือลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต
สำหรับวัคซีนเข็มสี่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำเข็มสี่ มีประโยชน์สำหรับคนที่อายุ 80 หรือสูงวัยที่มีโรคประจำตัว (การศึกษาอายุเกิน 60 ขึ้นไปโดยเฉลี่ยอายุ 80 ปี) ด้งรายงานจาก ต่างประเทศ
การใช้เข็มสี่ที่เป็น bivalent (mRNAเดิมผสมโอไมครอน 1/2) ในสถานการณ์ โอไมครอน BA 4/5 รวมกระทั่งถึงการใช้วัคซีนที่เป็นโอไมครอน BA4/5 เกรงกันว่าภายในเดือนกันยายนหรือตุลาคม โอไมครอนอาจจะหนีออกไปอีก รวมกระทั่งมีวาเรียนท์สายย่อยอื่นออกมา ที่สามารถหนีทั้งในการป้องกันการติดเชื้อ
แม้ว่าความดี ของการลดอาการหนักอาจจะยังคงอยู่จากการฉีดวัคซีนที่ผ่านมารวมทั้งการติดเชื้อด้วย โดยที่ไม่ได้ออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงต่อโควิดตัวใดตัวหนึ่ง และเป็นการออกฤทธิ์แบบ เฉียบไวเฉียบพลัน (ระบบinnate )
ด้วยความเก่งกาจของโควิดและข้อจำกัดของวัคซีน ดังนั้นวัคซีนคงไม่ใช่คำตอบเดียว แต่ต้องเป็นการร่วมประสานวินัยของพวกเราเอง และยาที่ใช้รักษาต้องสามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุดเพื่อยุติกระบวนการติดเชื้อและทำให้อาการสงบเร็วไม่แพร่เชื้อต่อ และอาจลด ลองโควิด และวัคซีน ภาคบังค้บ 3 เข็ม (มากกว่านั้นตามความสมัครใจ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หมอธีระวัฒน์’ แนะอาหารช่วยชีวิต นมไม่พร่องไขมันกลับดี
อาหารสุขภาพช่วยชีวิต และทำให้มนุษย์เรา ไม่ต้องเป็นหม้อยาที่โดนโยนยาเป็นกำเข้ามา และแน่นอนโด๊ปยาเป็นกำก็ไม่รอด
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
บิดสะบัดคอระวังอัมพฤกษ์! ‘หมอธีระวัฒน์’ แนะวิธีแก้เมื่อยคอด้วยตัวเองที่ถูกต้อง
เรื่องใกล้ตัวที่เป็นท่าบริหารประจำหรือที่ทำ เวลาเมื่อย หรือเป็นกระบวนการในการนวดคลายเมื่อย ดัดเส้น รวมทั้ง เป็นกรรมวิธีในการบำบัดทางกายภาพและจัดกระดูก
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567