วชิระภูเก็ตตั้ง กก.สอบเด็กทารกแขนหักระหว่างรักษา

รพ.วชิระภูเก็ตแถลงข่าวด่วน แจงกรณีเด็กทารกกระดูกแขนซ้ายหักระหว่างรักษาใน รพ. เตรียมตั้งกรรมการสอบพร้อมดูแลและเยียวยาต่อไป

08 มิ.ย.2565 – นพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต, พญ.ศุภลักษณ์ ละอองเพชร รองผอ.รพ.วชิระภูเก็ต คณะแพทย์พยาบาล บิดามารดาพร้อมญาติของเด็กทารก และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารคุณพุ่ม รพ.วชิระภูเก็ต

โดย รพ.ได้แถลงการณ์กรณีเด็กทารกมีกระดูกแขนซ้ายหักระหว่างนอนรักษาในโรงพยาบาลระบุว่า รพ.วชิระภูเก็ตได้รับ ด.ญ. HN 1407243 เข้ารักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดด้วยเรื่องสำลักขี้เทาหายใจเหนื่อย และมีภาวะพร่องออกซิเจน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นั้น ด.ญ. HN 1407243 ได้รับการรักษาด้วยการให้ออกชิเจน สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และยาปฏิชีวนะทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนขาสองข้างได้ตามปกติ แขนขาไม่ผิดรูป

เหตุการณ์โดยสังเขปในวันก่อนและหลังเกิดเหตุ ดังนี้ วันที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 21.00 น. เจ้าหน้าที่ชั่งน้ำหนักทารก ยังพบว่าสามารถขยับแขนขาทั้งสองข้างได้ตามปกติ หลังจากนั้นเวลา 22.00น.มีการวัดสัญญาณชีพ ระดับออกซิเจนและให้นมตามเวลาพบว่าทารกดิ้น จึงห่อตัวทารกแบบตรึง 3 ตำแหน่งไว้ (แขน ลำตัว และ ขา)

วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 02.00 น. เจ้าหน้าที่คลายผ้าห่อตัว เปลี่ยนเป็นห่อด้วยผ้าผืนเดียว วัดสัญญาณชีพ ให้นมทารก โดยไม่ได้ประเมินการเคลื่อนไหว เนื่องจากทารกหลับ เวลา 06.00 น. วัดสัญญาณชีพ และให้นมทารก โดยไม่ได้ประเมินการเคลื่อนไหว เนื่องจากทารกหลับ เวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่จะอาบน้ำให้ทารก พบว่าทารกไม่ขยับแขนข้างช้าย แขนซ้ายอยู่ในท่าศอกเหยียดตันแขนบิดเข้าหาแนบกับลำตัว จึงได้ปรึกษากุมารแพทย์ประเมินและตรวจร่างกาย ไม่พบรอยฟกช้ำเขียวหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของเด็ก หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ได้ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อมาตรวจดูอาการและให้ถ่ายภาพรังสีแขนซ้าย พบว่ากระดูกต้นแขนซ้ายหัก แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อได้รักษาโดยยึดตรึงแขนซ้ายไว้

สรุปเนื่องจากไม่พบร่องรอยฟกช้ำ หรือบาดแผลภายนอก จึงสันนิษฐานว่า สาเหตุที่ทำให้กระดูกแขนซ้ายของทารกหัก มาจากการที่ห่อตรึงไว้ โดยเฉพาะบริเวณแขนที่ปิดหมุนแนบลำตัวค่อนไปทางด้านหลัง และมีแรงกระแทกบริเวณศอกจากการยก-วางทารก

แนวทางการรักษากระดูกตันแขนข้ายหัก แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อได้ให้การรักษาด้วยวิธีการที่ทำให้ทารกสบายตัวมากที่สุด โดยแพทย์ใช้วิธีการใช้ผ้าดามยึดแขนที่หักไว้กับลำตัวเด็กเป็นเวลา 2 -3 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเฝือก หรือผ่าตัด เนื่องจากกระดูกของทารกจะมีการเชื่อมประสานกันเองและจะนัดติดตามอาการหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ขอแสดงความเสียใจ และขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลได้ดำเนินการทบทวนเหตุการณ์เบื้องตัน และจะตั้งกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง เพื่อนำมาพัฒนาระบบการดูแลรักษาให้มีคุณภาพและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย

นพ.วีระศักดิ์กล่าวว่า รพ.วชิระภูเก็ตจะตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหาหลักฐานรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดส่งกล้องวงจรปิดให้กองพิสูจน์หลักฐานตำรวจตรวจสอบหาสาเหตุ และยืนยันว่า กระบวนการต่างๆ ไม่เงียบหาย ทาง รพ.วชิระภูเก็ตรับผิดชอบการรักษาดูแลเด็กให้ทั้งหมดรวมทั้งการเยียวยาต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาการยังวิกฤติ! ทารกกระดูกไหปลาร้าหัก ติดเชื้อจากทำคลอด

ความคืบหน้ากรณีที่ครอบครัวหนึ่งใน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม  หลังจาก น.ส.อารีย์ยา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี

'ต้นหอม' แชร์ปัญหาฝุ่นจากหมอ ห่วงทารก เครื่องฟอกอากาศเอาไม่อยู่!

นาทีนี้ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงไม่หยุดเลยทีเดียว โดยเฉพาะทางภาคเหนืออย่าง เชียงใหม่-เชียงราย ล่าสุด ต้นหอม-ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ ได้แชร์สถานการณ์ฝุ่นพิษจากเพจ "Doctor กล้วย" เพจของคุณหมอท่านหนึ่งที่เชียงราย ซึ่งเผยว่าทางโรงพยาบาลต้องใช้เครื่องฟอกอากาศหลายตัวโดยเฉพาะในห้องทารกแรกคลอด ที่ปอดเด็กเพิ่งเริ่มทำงานวันแรกก็ต้องเจอศึกหนักแล้ว