สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่องหวั่นพวกเห็นแก่ตัว กอบโกย พาปิดประเทศ
31 ต.ค. 2564 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง หวั่นพวกเห็นแก่ตัว กอบโกย พาปิดประเทศ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,101 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 – 30 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.6 กังวลพวกฉวยโอกาสเห็นแก่ได้ ช่วงเปิดประเทศ ทำผิดกฎหมายซ้ำเติมวิกฤตเดือดร้อนประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 2.4 ไม่กังวล
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กังวลต่อพวกนายจ้าง เจ้าของโรงงาน และพวกเอเย่นต์นำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย เห็นแก่ตัว สร้างปัญหาพ่วงต่อซ้ำเติมวิกฤตชาติและประชาชน เช่น โควิดระบาดรอบใหม่ ยาเสพติด ค้ามนุษย์ คนไทยตกงาน ไม่มีงานทำ ขาดรายได้ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 10.6 ไม่กังวล
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบความกังวลของประชาชนระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ ได้แก่ พวกไม่เคร่งครัด ไม่ควบคุมโรค เกิดโควิดรอบใหม่ ร้อยละ 45.8 สถานบันเทิงทำผิดกฎหมาย แหล่งแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ ร้อยละ 43.1 เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ฝ่ายปกครอง ทหาร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน ปล่อยปละละเลย เป็นต้นเหตุวิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ ร้อยละ 41.0 ขบวนการลำเลียงค้ายาเสพติด ร้อยละ 40.0 พวกลำเลียงขนคนค้ามนุษย์ ร้อยละ 38.9 และ พวกฉวยโอกาส เอาเปรียบ โก่งราคา สินค้าและบริการ เช่น ค่าแท๊กซี่ รถรับจ้าง ค่าที่พัก เป็นต้น ร้อยละ 38.7 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.8 ต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมมือรับผิดชอบร่วมกันใช้มาตรการควบคุมสังคม จัดการเด็ดขาด กับพวกฉวยโอกาสทำผิดกฎหมายต้นตอ วิกฤตเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 2.2 ไม่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.5 เชื่อว่า เปิดประเทศควบคู่กับมาตรการควบคุมโรค การ์ดไม่ตกร่วมกันเป็นแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนได้ ดีกว่า ปิดประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่เชื่อ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจและควบคุมโรคอย่างเคร่งครัดควบคู่กันไปแต่กังวลขบวนการฉวยโอกาส เห็นแก่ตัว กอบโกย ช่วงเปิดประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มต้นเหตุของปัญหา นายจ้าง เจ้าของโรงงานและเอเย่นต์นำเข้าแรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยไม่ผ่านกระบวนการทำ MOU และการควบคุมโรค ส่งผลเสียหายกระทบเป็นลูกโซ่ซ้ำเติมวิกฤตชาติและประชาชน เช่น สถานบันเทิงผิดกฎหมายแพร่เชื้อโควิดรอบใหม่ ยาเสพติด ค้ามนุษย์ และคนไทยตกงานขาดรายได้ ประมาท การ์ดตก ไม่รับผิดชอบส่วนรวม เป็นต้น
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ฝ่ายปกครอง ทหาร แรงงานและสาธารณสุข รวมทั้ง กทม.ปล่อยปละละเลย หรือแม้แต่ประชาชนที่ไม่รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม จะเป็นเหตุต่อต้นตอวิกฤตปัญหาเหล่านี้ การเปิดประเทศจะกลายเป็นดาบสองคม ส่งผลเสียหายต่อทุกคนใน
ชาติไม่สามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การเปิดประเทศควบคู่กับมาตรการควบคุมโรคที่ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนได้ดีกว่า ปิดประเทศ ทั้งนี้ รัฐและสังคม ต้องร่วมกันจัดการเด็ดขาดกับขบวนการฉวยโอกาส กอบโกยช่วงเปิดประเทศ ทั้งขบวนการทำผิดกฎหมายและพวกโก่งราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จ แถมล่าช้าทำหลุดระบบนับแสนคน
นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (นายจ้างสีขาว)เปิดเผยถึงปัญหากระบวนการทำ CI (Certificate of Identity) เพื่อรับรองสถานะบุคคลสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
'กิต Three Man Down' ป่วยโรค VKH ค่ายแจ้งพักการแสดงในสถานบันเทิง
GeneLab ต้นสังกัดของศิลปินวง Three Man Down ได้แจ้งข่าวว่านักร้องหนุ่ม กิต-กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ ป่วยด้วยโรค Vogt–Koyanagi–Harada disease (VKH) ทำให้จำเป็นที่จะต้องหยุดพักการแสดงในสถานบันเทิง
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30