“นพวรรณ” โฆษกดีอีเอสฝ่ายการเมือง มองนโยบายเปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ ตัวแปรลดจำนวนข่าวปลอมโควิด เพราะประชาชนเริ่มหันมาสนใจปัญหาเศรษฐกิจและนโยบายรัฐมากขึ้น
29 ต.ค. 2564 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมตลอดช่วงสัปดาห์นี้ (22-28 ต.ค.64) โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เริ่มเห็นแนวโน้มปัญหาข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิดยังคงลดลงต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของจำนวนข่าวปลอม และความสนใจของประชาชนที่มีต่อข่าวปลอมโควิด ปัจจัยส่วนหนึ่งอาจมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยลง อีกทั้งรัฐบาลประกาศเดินหน้าเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. นี้ ความสนใจของประชาชนจึงเริ่มหันมาที่ประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายรัฐมากขึ้น
โดยจากข้อมูลรอบสัปดาห์ล่าสุดของศูนย์ฯ พบว่า มีข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 11,464,623 ข้อความ หลังคัดกรองแล้ว พบว่ามีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 208 ข้อความ โดยเป็นจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 111 เรื่อง โดยจำนวน 59 เรื่อง เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด-19
สำหรับภาพรวมของจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 111 เรื่อง สัปดาห์ล่าสุดนี้มากกว่า 50% เป็นข่าวในกลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยมีจำนวน 60 เรื่อง รองลงมาเป็นข่าวกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ 41 เรื่อง กลุ่มภัยพิบัติ 9 เรื่อง และกลุ่มเศรษฐกิจ 1 เรื่อง
ทั้งนี้จากการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 54 เรื่อง พบว่ามีสัดส่วนของเฟคนิวส์ (ข่าวปลอม/ข่าวบิดเบือน) และข่าวจริงในระดับใกล้เคียงกัน โดยในส่วนของข่าวจริงนั้นรวมถึงข่าวเรื่อง ครม.อนุมัติ ร่างพ.ร.ฎ.ควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดูแลผู้ประกอบการ ผู้ซื้อ-ผู้ขาย
ขณะที่ ข่าวปลอมซึ่งมีคนสนใจสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ผู้ว่าฯ จังหวัดภูเก็ต แอบลักลอบนำมุสลิมต่างด้าวเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย อันดับ 2 กทม. เตรียมรับมือพายุถล่มหนักที่สุด วันที่ 26 ต.ค. – 12 พ.ย. 64 และอันดับ 3 ปตท. รายได้สูงถึง 3 ล้านล้านบาท/ปี แต่นำส่งเข้ารัฐแค่ 1% เท่านั้น
“ประชาชนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันแก้ปัญหาข่าวปลอมได้ โดยเมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 เพื่อหลีกเลี่ยงจากการเป็นเหยื่อข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน” นางสาวนพวรรณกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
ดีอี เตือน 'มิจฉาชีพ' ปล่อยข่าวปลอม ธ.ก.ส. เปิดให้กู้ปิดหนี้
ดีอี เตือน “มิจฉาชีพ” ปล่อยข่าวปลอม “ธ.ก.ส. เปิดให้กู้ปิดหนี้ คนติดเครดิตบูโรยื่นได้ทุกอาชีพ เพียงมีรายได้ 9,000 บาทขึ้นไป” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
เตือนข่าวปลอม! ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นรอบใหม่
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
ดีอี ระวังข่าวปลอม 'PEA' ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกัน
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “PEA ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกันที่ www.การไฟฟ้าสำนักงานใหญ่.com” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
เตือนระวังข่าวปลอม ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิ์อาชญากรรมทางออนไลน์” หวั่นปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ดีอี เตือนอย่าเชื่อข่าว รัฐยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม