‘คณิต’แจงแผนโอนแอร์พอร์ตลิงก์สรุปภายใน 3 เดือน

“คณิต” เผยแผนส่งมอบพื้นที่“ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน”คืบ 98.11% คาดครบ 100% ม.ค.65 ย้ำโอนแอร์พอร์ตลิงก์  รอสรุปภายใน 3 เดือน ด้านซีพีจ่ายมัดจำแล้ว 10% เข้าบริหารวันแรกราบลื่นไม่กระทบการใช้บริการของประชาชน 

26 ต.ค.2564 นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)ว่า โครงการดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project list) ที่ได้ดำเนินการในด้านต่างๆ ต่อเนื่อง โดยรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินก้าวหน้าต่อเนื่อง ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด แล้ว 98.11% ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร (กม.) คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา

ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563 แล้ว ประกอบด้วย การสร้างถนน และสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน  โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีก 1.89% ภายใน ม.ค. 2565 และเมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่ทั้งหมดแล้ว คาดว่า รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (NTP) ประมาณ มี.ค. 2565 ซึ่งยังเป็นไปตามแผน ดังนั้นยังไม่ต้องรีบขอแบงก์ในตอนนี้ และกว่าจะขอได้คือเดือนพ.ย.2565 ต้องใช้เงินกู้ประมาณแสนกว่าล้านบาท เป็นงบการก่อสร้างจากลาดกระบังถึงอู่ตะเภา

นายสุพรรณ กล่าวถึงกรณีบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้เข้าดำเนินการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม นั้น จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารลดลงจากระยะที่ทำสัญญาไว้ ประมาณ 7-8 หมื่นคน/วัน เหลือเพียง 1-2 หมื่นคน/วัน หรือบางวัน 9 พันคน/วัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้จะส่งมอบให้เอกชน รฟท. รับขาดทุนมาโดยตลอด และต้องให้มีการถ่ายโอนการดำเนินการตามกำหนด เนื่องจาก รฟท.ไม่ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้ล่วงหน้า

“ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จึงได้ให้นโยบายว่า ต้องหาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร ซึ่งวันที่ 20 ต.ค. 2564 รฟท. และเอกชนคู่สัญญา จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้บริหารสัญญาร่วมลงทุน ในการแก้ไขปัญหาโครงการฯ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 ให้เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง”นายสุพรรณ กล่าว

สำหรับบันทึกข้อตกลงเมื่อเอกชนเข้ารับดำเนินการนับจากวันที่ 24 ต.ค. 2564 ตามกำหนดการที่วางไว้ โดยเอกชนคู่สัญญารับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และการดำเนินการอื่นใด เพื่อทำให้การเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษาระบบแอร์พอร์ต เรลลิงก์เป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด(KPI)ที่ รฟท. กำหนด ซึ่งก่อนการเข้ารับดำเนินการเอกชนได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท ในการดำเนินการปรับปรุงระบบ และบริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ รวมถึงฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ลงนามสัญญาร่วมลงทุน จึงมีความพร้อมด้านเทคนิคและบุคลากร

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ รฟท. ยังเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรายได้ทั้งหมด ไม่โอนรายได้ให้เอกชนในทันที แต่จะโอนให้เมื่อแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้จะให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกำไรต้องส่งคืน รฟท. ดังนั้น รฟท. จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุน  นับตั้งแต่ที่มีการโอนแอร์พอร์ต เรลลิงก์ อีกต่อไป  โดยเมื่อปีที่ผ่านมา รฟท ขาดทุนประมาณ 600 ล้าน และในวันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงินจำนวน 1,067.11 ล้านบาท คิดเป็น 10% สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะดำเนินการอย่างเคร่งครัดในช่วงที่อยู่ระหว่างหาแนวทางการแก้ไขปัญหา

“บันทึกข้อตกลงนี้ มีระยะเวลา 3 เดือน เป็นการเจรจาหาทางออกร่วมกัน โดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมกับเอกชน โดยในการเจรจาจะดำเนินการโดยคณะทำงาน ที่แต่งตั้งโดย รฟท. และคณะกรรมการกำกับเพื่อนำเสนอ รฟท. กพอ. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป”นายสุพรรณ กล่าว

ทั้งนี้ ทางเอกชนได้เข้าดำเนินการ ตามบันทึกข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 และการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการให้บริการประชาชน โดย รฟท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดพร้อมกันนี้เอกชนได้เสนอการลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นจำนวนเงิน 3,000 ล้านบาท ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม สำหรับการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในอีอีซี สู่ต้นแบบรัฐประหยัดงบประมาณ ดึงเงินเอกชนร่วมพัฒนาประเทศโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในอีอีซี พร้อมเป็นตัวอย่างของการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเงินทุนภาคเอกชนมาร่วมในการพัฒนาประเทศ

นายคณิต กล่าวว่า ในการร่วมทุนคือทั้ง 2 ฝ่าย รัฐและเอกชนเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงด้วยกันโดยเอกชนนำเงินทุนมาลงทุนด้วย ต่างกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เอกชนรับจ้างรัฐบาล ซึ่งรัฐลงเงินจ้างเอกชนทั้งหมด และรัฐรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียวหากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้คาดมาก่อนการลงนามสัญญาดังจะเห็นได้จากการที่รัฐขยายเวลาส่งมอบงานและยกเว้นค่าปรับในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั่วไปให้กับผู้รับจ้างเมื่อเกิดโควิด-19 ในการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจร่วมกันเป็นพื้นฐานที่จะเจรจาหาทางออกในกรณีสุดวิสัยที่ไม่คาดมาก่อน และนำไปสู่การแก้ไขสัญญาภายใต้ความเข้าใจร่วมกันให้โครงการประสบความสำเร็จโดยรัฐและเอกชนไม่เสียเปรียบซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตามกรณีโควิด-19 ซึ่งอาจเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดการณ์มาก่อนที่จะทำสัญญา ซึ่งรัฐบาลออกมาตรการกำหนดให้ธุรกิจ และประชาชนหยุดการเดินทางเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้จำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และรายได้ลดลงเป็นจำนวนมาก นำไปสู่ การเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดอย่างเป็นธรรมโดยไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ แต่ยอมรับว่าเอกชนยอมเสียเปรียบพอสมควร รายได้ทั้งหมดต้องจ่ายค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆไม่น้อยกว่าเดือนละ 100 ล้านบาท โดยในช่วง3 เดือนนี้จะพยายามหาข้อตกลงให้ได้ ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาเจรจาในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม กรณีโครงการร่วมทุนอื่นๆ ใน EEC ไม่จำเป็นต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาเช่นกรณีแอร์พอร์ท ลิงก์ เพราะ โครงการท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินอู่ตะเภา:เมืองการบินภาคตะวันออก กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จใน 4 ปี ผลกระทบจากโควิดคงหมดไปแล้ว ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะลงนามได้ภายในต้นเดือนพ.ย.นี้ โดยได้พิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในสัญญาไว้แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพีวางเป้าศูนย์กลางการเรียนรู้ จับกลุ่มเด็กและเยาวชน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัทในเครือฯ ได้ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยในนิทรรศการ “The Globe Vengers” หรือ ฮีโร่พิทักษ์ความยั่งยืน ของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพกแห่งประเทศไทย หรือ UNGCNT ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2567 ระหว่าง 16-25 สิงหาคม 2567 ณ อิมแพค เมืองทองธานี โดยซีพีตั้งเป้าหมายเพื่อเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้” (Learning Center) สำหรับเด็กและเยาวชนไทยในการขับเคลื่อนความยั่งยืนและสร้างอนาคตที่ดีกว่า

'ซีพีเอฟ' ขยับแล้วปม 'ปลาหมอคางดำ' ชู 5 โครงการเร่งด่วน

ซีพีเอฟ พร้อมเร่งสนับสนุนการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ขานรับมาตรการรัฐบาล ขับเคลื่อน 5 โครงการอย่างเร่งด่วน ประสานความร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำบูรณาการเชิงรุกในหลายมิติ

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

‘กรมราง’จี้ แอร์พอร์ตลิงก์หาสาเหตุขัดข้องพร้อมดูแลผู้โดยสารได้รับผลกระทบ

‘แอร์พอร์ตลิงก์’ ข้าเข้าสนามบินสุวรรณภูมิขัดข้องช่วงเวลาเร่งด่วน ผู้โดยสารบ่นอุบ  ‘อธิบดีกรมราง’ จี้หาสาเหตุที่เกิดขึ้นและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าให้กลับมาเป็นปกติ สั่งพิจารณาเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ

กระทรวงวัฒนธรรม ผนึกกำลังมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ซีพี และทรู ชวนเยาวชนไทยใจซื่อสัตย์สร้างสรรค์ผลงานละครเวทีเดอะมิวสิคัล เข้าร่วม “การประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2566”

กระทรวงวัฒนธรรม โดย ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมูลนิธิต่อต้านการทุจริต โดย ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมด้วย เครือเจริญโภคภัณฑ์