'หมอเฉลิมชัย' ย้ำ 'พระเกี้ยว' คือสัญลักษณ์ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

25 ต.ค. 2564 - นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยถึงกรณีที่องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) มีมติยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ว่า ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าอยู่ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึง 9 ปีเต็ม มีความเห็นถึงประเด็นดังกล่าวดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยปฏิบัติใดๆ นั้นสามารถกระทำได้ ถ้าผู้ที่เสนอแนวคิดเปลี่ยนแปลงมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ในเนื้อหาข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ทั้งกว้างและลึกอย่างเพียงพอ 

2. ในกรณีการอัญเชิญพระเกี้ยวยังมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และตนอยากจะเสนอให้สาธารณะได้รับทราบ ดังนี้ พระเกี้ยวถือเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5  ซึ่งมีพระราชดำริที่เกิดขึ้นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งประสงค์จะให้สามัญชนประชาชนคนไทยทุกคนได้ศึกษาเล่าเรียนที่เท่าเทียมหรือเสมอภาคกับลูกที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ตลอดจนบุตรหลานของขุนนางข้าราชการชั้นสูง 

“ดังนั้นต้องถือว่าพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ของการลดความเหลื่อมล้ำและพยายามสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่ในหลวง ร.5 มีพระราชประสงค์ไว้ตั้งแต่ต้น โดยในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้สนับสนุนให้เกิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชปณิธานของพระราชบิดาในหลวง ร.5 แล้วก็พระราชทานที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ รวมทั้งพระราชทรัพย์ มาสร้างเป็นมหาวิทยาลัยขึ้น ดังนั้น พระเกี้ยว จึงมิใช่สัญลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำ แต่กลับเป็นตรงข้าม” นพ.เฉลิมชัย กล่าว

ขณะเดียวกันยังมีประเด็นรองอย่างฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์  ซึ่งประเพณีนี้เริ่มต้นเริ่มจากศิษย์เก่า ไม่ได้เริ่มจากศิษย์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นผู้ที่เริ่มประเพณีนี้จึงเป็นศิษย์เก่า ซึ่งเป็นเจ้าภาพผู้ที่ดำเนินการทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯร่วมกับสมาคมนักศึกษาเก่าธรรมศาสตร์ เพียงแต่ศิษย์เก่าทั้งสองสถาบันเห็นว่านิสิตนักศึกษาปัจจุบันที่กำลังเรียนอยู่ ถ้าจะเข้ามาร่วมด้วยในประเพณีนี้ก็ยินดี แล้วก็ได้เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบันเข้าร่วม แต่มิใช่เป็นเจ้าภาพ  ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงเรื่องใดในฟุตบอลประเพณีจุฬาฯธรรมศาสตร์จึงเป็นเรื่องของศิษย์เก่าทั้งสองสถาบัน 

“ การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างนอกจากจะต้องมีความมิติ ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนและลึกซึ้งแล้ว  บางครั้งวิธีการเปลี่ยนแปลงมันก็มีหลายแนวทาง ยกตัวอย่าง เช่น การเลิกทาส ยังสามารถมีวิธีที่แตกต่างกันที่ควรจะเลือกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเลิกทาสโดยในหลวงร.5 ของไทย ในความเห็นผมนะดีกว่าการเลิกทาสของประเทศที่มีสงครามกลางเมืองและคนเสียชีวิตหลายแสนคนเสียอีก ซึ่งสุดท้ายก็เลิกทาสเหมือนกัน อีกทั้งแต่ประเทศหนึ่งไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ส่วนอีกประเทศหนึ่งเสียชีวิตหลายแสนคน”  นพ.เฉลิมชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามนิสิตจุฬา หากไม่เต็มใจเทิดพระเกียรติ ก็ไม่ต้องอัญเชิญพระเกี้ยวออกมา

นันทิวัฒน์ โพสต์ถามนิสิตจุฬาเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอย่างไร นี่มันคือการเทิดพระเกียรติพระเกี้ยว หรือนี่มันคือหลู่เกียรติพระเกี้ยว หากไม่เต็มใจที่จะเทิดพระเกียรติ ก็ไม่ต้องอัญเชิญพระเกี้ยวออกมา

ตะเพิด! ผู้บริหารจุฬาฯ ลาออก ปล่อยนิสิตนำ 'พระเกี้ยว' เล่นข้างถนน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬา รุ่นปี 2512 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ลาออกดีกว่าไหม?

ญี่ปุ่นติดโควิดวันละ 200,000 คน หมอเฉลิมชัย แนะคนไทยเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเที่ยว

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย เรื่อง ญี่ปุ่นติดโควิดวันละ 200,000 คน