‘ทีดีอาร์ไอ’แนะกทม.-รัฐเปิดโต๊ะเจรจาเร่งสางปัญหาสัมปทานสายสีเขียวใหม่

TDRI  แนะ กทม. รัฐเปิดเจรจารอบใหม่  สางปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว และใช้เวลาก่อนหมดสัมปทานปี 2572 ปรับโครงสร้างค่าโดยสารทั้งระบบ

25 ต.ค.2564-นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยถึงกรณีปัญหาสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียว ภายหลังกระทรวงมหาดไทย ได้ขอถอนวาระ การพิจารณาต่ออายุ สัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว  ออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา  โดยระบุ  หากพิจารณาอายุสัมปทานที่เหลือในขณะนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่จะหมดในปี 2572  และสัญญาว่าจ้างเดินรถ ที่จะหมดในปี 2585   ขณะนี้ก็ยังถือว่ายังมีเวลาในการดำเนินการเจรจาหาทางออก 

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องนี้ กทม. ซึ่งเห็นว่า มีทางออกเพียงทางเดียว คือ การดำเนินการเจรจาต่อสัมปทาน  และไม่สามารถตอบประเด็นคำถามที่กระทรวงคมนาคม ตั้งประเด็นไว้ใน 4 ข้อได้  รวมทั้ง กทม.ยอมรับว่า ไม่มีเงิน ที่จะไปชำระภาระทางการเงินที่ กทม. รับโอนโครงสร้างส่วนต่อขยาย จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ซึ่งทำให้แนวทางแก้ปัญหาชะงักไป  ในส่วนนี้เห็นว่า ท้ายที่สุดต้องดำเนินการเปิดโต๊ะเจรจา ระหว่าง กทม.และรัฐบาล  ซึ่งต้องไปดูว่า จะต้องมีการรื้อ MOU ที่เคยลงนามไว้ ระหว่าง กทม.และ รฟม.หรือไม่

อย่างไรก็ตาม ทีดีอาร์ไอ เห็นว่าควรใช้โอกาสนี้ เร่งแก้ปัญหาโครงสร้างราคาค่ารถไฟฟ้าทั้งระบบ ให้จบก่อนสัญญาสัมปทานจะหมดลง ที่ผ่านมา กทม.เคยไปวางแนวคิด จะมีการแยกเก็บค่าโดยสาร ออกเป็น  3 โครงการ ซึ่งก็พบแล้วว่า ทำให้ราคาค่าโดยสารแพงขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลไม่จูงใจให้คนมาใช้บริการระบบ 

“ยกตัวอย่าง อัตราที่ระบุมาว่า  จากสถานีสะพานใหม่  ไปสมุทรปราการ จัดเก็บค่าโดยสาร 104 บาท โดยอ้างว่า มีประชาชนนั่งรถไฟฟ้าในระยะยาว  ตั้งแต่ต้นถึงปลายทางน้อยมาก  เมื่อเห็นว่ามีคนใช้น้อย แต่กลับไปคิดค่าโดยสารแพงอีก  ก็ยิ่งไม่มีคนใช้  ทำไมไม่ทำให้ราคาถูก และมีคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ” นายสุเมธ กล่าว 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สำหรับภาระทางการเงินที่ กทม. ต้องดำเนินการ ตามที่ได้มีการ รับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย  ยอดเงินถึง 30 ก.ย. 2564 ประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ 1.ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่- คูคต   ประกอบด้วย  หนี้เงินกู้ค่าก่อสร้างงานโยธา (กู้จากกระทรวงการคลัง)  วงเงิน 37,124,475,428 บาท เงินงบประมาณ ใช้ดำเนินการ เวนคืนจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน  วงเงิน 7,216,333,199 บาท 2.ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ประกอบด้วย หนี้เงินกู้ฯ วงเงิน 19,824,304,936 บาทและเงินงบประมาณอีก  วงเงิน 1,142,856,152 บาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' รับฟังข้อเสนอประธาน ทีดีอาร์ไอ ทั้งเห็นด้วย-เห็นต่างนโยบายรัฐบาล

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำคณะผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือประเด็นนโยบายด้านการวิจัย

'ผอ.ทีดีอาร์ไอ' ชำแหละหลุมดำดิจิทัลวอลเล็ต เกิดค่าเสียโอกาสพัฒนาปท.

ผอ.ทีดีอาร์ไอ ชำแหละหลุมดำดิจิทัลวอลเล็ต เกิดค่าเสียโอกาสพัฒนาประเทศ เตือนกระทบความเชื่อมั่นในเรื่องของวินัยการคลังของรัฐบาล  จนนำไปสู่ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ กระทบการลงทุนจากต่างชาติ

นักวิชาการ 'ทีดีอาร์ไอ' เผยผลศึกษาโครงการแจกเงินรัฐ พบเงินหมุนไม่ถึงครึ่งรอบ ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

นายสมชัย จิตสุชน นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อ นักเศรษฐศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Jitsuchon