'แอปโก้' สร้างแรงบันดาลใจนักวิทย์รุ่นใหม่ จัดให้ความรู้ 'นวัตกรรมเพิ่มเซลล์ T พิฆาต พิชิตมะเร็งและเอดส์'

18 มี.ค.2565 -ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และหัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM ซึ่งเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัดและนวัตกรรมวัฒนชีวาเพื่อการดูแลสุขภาพให้สมดุล เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถิติผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะ โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ ขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว และหากพิจารณาถึงวงจรการเจ็บป่วย จะพบว่า ต้นเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคส่วนใหญ่คือกว่า 80% เกิดจากความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ 20,000-50,000 ล้านเซลล์ในร่างกายนั้นมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน ที่ชื่อ Killer T Cell (เซลล์ T พิฆาต หรือ CD 8)

บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO (แอปโก้) โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ระบุว่า แอปโก้ ได้ริเริ่มโครงการ Science Talk เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และบุคลากรทางการศึกษา ในการศึกษาคิดค้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยถ่ายทอดความสำเร็จการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัดสารสกัดจากพืชกินได้ 5 ชนิด คือ มังคุด ฝรั่ง ถั่วเหลือง งาดำ บัวบก ในการเพิ่มเม็ดเลือดขาว เซลล์ T พิฆาต หรือ Killer T Cell เพื่อจัดการกับ โรคร้าย โดยเฉพาะมะเร็งและเอดส์ โดยล่าสุดยังพบว่านวัตกรรมนี้มีส่วนช่วยชะลอวัย ด้วยการไปเสริมสร้างความยาวของเทโลเมียร์ (telomere)ด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ของคนไทยให้ก้าวไกลต่อไปสู่ระดับสากลทั้งในเชิงขององค์ความรู้และธุรกิจ

ตลอดกว่า 40 ปี ของ การเป็นนักวิทยาศาสตร์ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM มุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสมดุล สำหรับดูแลทุกคน โดยมีการศึกษาวิจัยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ร่วมกับนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ภายใต้ชื่อว่า Operation BIM มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานที่สร้างความหวังให้กับมวลมนุษยชาติ คือการค้นพบสารสกัด GM-1 ในมังคุด ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และเมื่อมีการค้นพบนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของ Killer T Cell เพื่อจัดการโรคร้ายที่อันตรายมากๆเช่น มะเร็ง เอดส์ นั้นนับเป็นความภาคภูมิใจมากของคนไทย เพราะเป็นครั้งแรกในโลกที่สามารถทำให้เชื้อไวรัสในผู้ป่วยเอดส์ลดลง จนตรวจไม่พบเชื้อ อีกทั้งมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งที่หมดหวังแล้ว ก็มีโอกาสกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงได้อีกครั้ง โดยล่าสุดยังต่อยอดสู่การพัฒนา “นวัตกรรมวัฒนชีวา” เพื่อซ่อมสร้างเทโลเมียร์ ทำให้เกิดการย้อนวัยชะลอวัย ด้วยวิธีธรรมชาติ

ด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และเชื่อมั่นในกระบวนการค้นคว้าวิจัย ทั้งในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และในคน ทำให้ เดือนกันยายน 2558 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ประกาศรับรองให้ “นวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด” ที่พัฒนาขึ้นโดย Operation BIM เป็น “นวัตกรรมของชาติไทย” สำหรับการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ HIV และ ในปี 2559 บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO ยังได้รับรางวัลองค์กรที่มีนวัตกรรมดีเด่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วย

ด้าน รศ. ดร. ปรียา ลีฬหกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการชะลอวัย และที่ปรึกษางานวิจัย APCO กล่าวว่า ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ความกังวลเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงวัยนั้นก็มากขึ้น เพราะสถิติโรคร้ายแรงต่างๆสูงขึ้นทุกวัน ทำอย่างไร ที่จะช่วยให้คนไทย และผู้สูงวัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวที่มีความสุขกายสุขใจไปพร้อมกัน ลดเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือลดเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มากับผู้สูงอายุ เช่น ความดันสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ สถานการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการรักษาทางการแพทย์เท่านั้น แต่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ของนักวิทยาศาสตร์ มีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน สนับสนุนการรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ อาจารย์จึงยินดีที่จะให้เวลากับการถ่ายทอดความรู้ จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และจากการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะ กล่าวในโอกาสบรรยายให้ความรู้กับนักศึกษา นักวิจัย และบุคลากร ของสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)หัวข้อ Killer T Cell vs Cancer and HIV” ว่า อยากให้องค์ความรู้จากประสบการณ์ ในการพัฒนานวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัดจากพืชไทย เพื่อเสริมสร้าง และฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงาน ของเซลล์ T พิฆาต หรือ Killer T Cell ในการจัดการกับโรคร้ายตลอดจนเชื้อไวรัสต่างๆ ที่วันนี้ประสบความสำเร็จเป็นรายแรกๆของโลกแล้ว และการพัฒนานวัตกรรมวัฒนชีวา เพื่อซ่อมสร้างเทโลเมียร์ หรือหมวกหุ้มปลายโครโมโซม ที่มีผลวิจัยแล้วว่า มีส่วนทำให้ชะลอวัยและย้อนวัยได้ถึง 5.8 ปี ในระยะ 8 สัปดาห์ จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และบุคลากรทางการศึกษา ในการเรียนรู้อย่างไม่ย่อท้อ เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และต่อยอดสู่อุตสาหกรรม เพื่อการดูแลคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างไม่หยุดนิ่ง

“งานวิจัยใดๆ ถ้าทำสำเร็จก็สร้างความภาคภูมิใจและความสุขให้เรามาก แต่กว่าจะสำเร็จก็จะต้องมีอุปสรรค ทำไม่สำเร็จครั้งหนึ่งก็อย่าเพิ่งท้อ โดยเมื่อจะเริ่มต้นขอให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงว่าน่าจะทำได้ อยู่บนความถนัด บนพื้นฐานความรู้ ระหว่างทำวิจัยหากไม่ประสบความสำเร็จ ล้มก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ มองหาวิธีที่แตกต่าง ให้ไปถึงจุดหมาย และมีความมุ่งมั่นพยายาม ที่สำคัญให้คิดนอกกรอบ ตราบใดที่แนวทางที่เราเดินนั้นถูกต้องและเป็นไปตามวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญคือมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ต่อผลงานวิจัยของเรา เพื่อนร่วมงาน ซึ่งในการทำวิจัยใดๆ ทำคนเดียว โอกาสทำสำเร็จยาก จะต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นสหสาขา มั่นใจว่าถ้าทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งนำวิจัยพัฒนาไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมวลมนุษยชาติ เราก็จะไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด” ศ.ดร.พิเชษฐ์ ให้ข้อคิด

กิจกรรม โครงการ Science Talk จะมีการจัดบรรยายให้ความรู้พร้อมตอบข้อซักถามผ่านการประชุมออนไลน์หรือจัดประชุมตามปกติขึ้นกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สถาบันการศึกษา หรือ หน่วยงานที่สนใจเข้าร่วม สามารถแจ้งมาได้ที่ Linkไลน์@ https://lin.ee/Zgp9c3I หรือโทร 082-9951415 / 089-9221991 หรือดูข้อมูลนวัตกรรมผ่านช่องทาง https://mylife100club.com

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน

ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ผ่านการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ