สรุปผลการสำรวจ : มาตรการช่วยเหลือของรัฐในช่วงโควิด-19
24 ต.ค. 2564 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี มาตรการช่วยเหลือของรัฐในช่วงโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง 1,309 คน สำรวจระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2564 พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 ประชาชนได้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด ร้อยละ 78.61 รองลงมาคือมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ ร้อยละ 34.76 มองว่ามาตรการต่าง ๆ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้บ้าง ร้อยละ 62.10 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังมีมาตรการก็ยังใช้จ่ายรายเดือนเท่าเดิม ร้อยละ 43.45 โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างพึงพอใจมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ร้อยละ 49.81 โดยพึงพอใจมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด ร้อยละ 78.66 และนอกจากมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วน คือ ควบคุมราคาสินค้าและค่าครองชีพ ร้อยละ 75.25 ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ร้อยละ 70.61
จากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าประชาชนเทใจให้มาตรการ “คนละครึ่ง” เพราะอย่างน้อยก็เป็นเงินที่เข้ากระเป๋าโดยตรงเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการอื่น ๆ ถึงจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายมากนัก แต่ก็ช่วยประคับประคองให้มีระดับการบริโภคเท่าเดิม เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่แน่นอนทำให้ประชาชนต้องวางแผนการใช้เงินอย่างรัดกุม มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาจึงนับว่าเป็นการเยียวยาประชาชนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ได้อยู่บ้าง
ดร.จิรัฐ ชวนชม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากผลสำรวจ พบว่า ประชาชนได้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด และได้รับการตอบรับจากประชาชนมากที่สุดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้จากข้อมูลมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมโครงการทั้งหมดอยู่ที่ 27.86 ล้านคน จากสิทธิที่เข้าร่วมได้ 28 ล้านสิทธิ คิดเป็น 99.5% ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดี เนื่องจากประชาชนสามารถนำเงินที่ได้ไปใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือ ปัจจัย 4 ประกอบด้วย อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย นอกจากนี้เมื่อดำเนินการวิเคราะห์การเปรียบเทียบก่อนและหลังที่มีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่ยังคงพบว่าประชาชนก็ยังใช้จ่ายรายเดือนเท่าเดิม สาเหตุมาจากการที่ประชาชนยังคงเกิดความกังวลกับภาวะโรคระบาดโควิด-19 ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ทำให้ต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ เมื่อพิจารณาภาพรวมประชาชนค่อนข้างพึงพอใจมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และมาตรการที่อยากให้ทำอย่างเร่งด่วนคือการควบคุมราคาสินค้าและค่าครองชีพ เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ประชาชนต้องใช้เงินในการซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
ดุสิตโพล ชี้ดัชนีการเมือง พ.ย. คะแนนตก สะท้อนประชาชนไม่เชื่อมั่นรัฐบาล
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน
'ธนกร' ปลื้มเรตติ้ง 'พีระพันธุ์' พุ่งต่อเนื่อง
'ธนกร' ปลื้ม โพลเผยเรตติ้ง “พีระพันธุ์” พุ่งต่อเนื่อง หลังทุ่มเททำงานจ่อออกกม.ปฏิรูปรื้อลดปลดสร้างด้านพลังงานทั้งระบบ ชี้ เหตุผลงานรัฐบาลโดดเด่น แก้ปัญหารวดเร็ว ขณะฝ่ายค้านคะแนนลด ต้องปรับปรุง
'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน
ดุสิตโพลชี้ คนไทยเกาะติดเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ หวังสื่อไทยรายงานเป็นกลาง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567
ดุสิตโพล ชี้ ประชาชนหวังเห็น ผบ.ตร.คนใหม่เคลียร์ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังต่อการทำงานของ ผบ.ตร.คนใหม่” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,244 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัญหาขององค์กรตำรวจ ณ วันนี้