นักสิ่งแวดล้อมติง กพช. เห็นชอบซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงเพิ่ม เชื่อเพียงแอบอ้างสิงคโปร์แต่คนไทยอ่วม เหตุไฟฟ้าสำรองไทยท่วม
9 มี.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก Energy New Center ของกระทรวงพลังงาน เผยแพร่เอกสารข่าวระบุคำให้สัมภาษณ์ของนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ระบุถึงผลการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ว่ามีมติเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการหลวงพระบาง 2.8432 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2573 และโครงการปากแบง 2.9179 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2576 โดยอัตราค่าไฟฟ้าค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา
นายกุลิศ กล่าวว่าได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิดแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ลงนามในร่าง Tariff MOU โครงการหลวงพระบาง และโครงการปากแบง ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว และให้ กฟผ. สามารถปรับปรุงเงื่อนไขในร่าง Tariff MOU ของโครงการหลวงพระบาง และโครงการปากแบง ในขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบอัตราค่า Wheeling Charge ของไทยและหลักการร่างสัญญา Energy Wheeling Agreement (EWA) โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปประเทศสิงคโปร์ ผ่านระบบส่งของประเทศไทยและมาเลเซีย (LTMS - PIP) ในอัตราเท่ากับ 3.1584 US Cents/หน่วย ระยะเวลาโครงการ 2 ปี โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ กฟผ. ลงนามในร่างสัญญา EWA โครงการ LTMS - PIP ที่ผ่านการพิจารณาจาก อส. แล้ว ทั้งนี้ หาก อส. และ กพช. มีความเห็นให้แก้ไขร่างสัญญา EWA โครงการ LTMS - PIP ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญาเห็นควรให้ กฟผ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
ด้านนายมนตรี จันทวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง กล่าวว่าโครงการรับซื้อไฟฟ้าไปยังสิงคโปร์ระยะเวลาโครงการ 2 ปีนั้น เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสัญญาสัมปทานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามีอายุถึง 29-30 ปี เท่ากับเป็นการใช้สิงคโปร์เป็นข้ออ้าง แล้วหลังจากนั้นไฟฟ้าที่เหลือหลังจาก 2 ปี ใครจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า ภาระนี้ใครจะรับผิดชอบ ซึ่งอาจเป็นภาระของเราประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าต่อไป ปัจจุบันภาระค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคก็อยู่ในระดับสูงมากแล้วเนื่องจากสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าที่ผูกพันในระยะยาว
น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการรณรงค์ประเทศไทย องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่าโครงการเขื่อนปากแบง และเขื่อนหลวงพระบาง ไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้างเนื่องจากปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยอยู่ในปริมาณสูงมาก กำลังผลิตในระบบไฟฟ้าเดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 46,136 เมกะวัตต์ (MW) ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของเดือนเดียวกันอยู่ที่เพียง 26,688 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าประเทศไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรองสูงมาก การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสถานการณนี้มีเหตุผลอื่นหรือไม่ เหตุใดกพช. จึงต้องเร่งรัดร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
“โครงการเขื่อนหลวงพระบาง กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำการศึกษาผลกระทบต่อเมืองมรดกโลก Heritage Impacts Assessment ตามข้อกำหนดของยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ นอกจากนี้มีความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบซ้ำซ้อนด้านสิ่งแวดล้อมต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเขื่อนแม่น้ำโขง ได้ทำลายความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ปลา การประมง เศรษฐกิจท้องถิ่น และน้ำประปาของเทศบาลและเมืองต่างๆ ตลอดลำน้ำ” น.ส.เพียรพร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา
'วรงค์' เหนื่อยใจกับนายกฯอิ๊งค์ พูดวกวน เหมือนดีใจที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอ้อมเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "เหนื่อยใจกับอุ๊งอิ๊ง"
'หมอวรงค์' ประกาศล่า 1 แสนชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก 'MOU 44'
'ไทยภักดี' ประกาศล่า 1 แสนรายชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก MOU 44 แนะรัฐคุยกัมพูชา ลงสัตยาบัน UNCLOS ก่อนเจรจาผลประโยชน์