คณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกลงมติรับรองการเสนอชื่อทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ชิงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เมื่อวันอังคาร และทำให้เขาเป็นคนเดียวที่ได้รับการเสนอชื่อในการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ขององค์กรนี้ในเดือนพฤษภาคม
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 26 มกราคม 2565 กล่าวว่า การลงคะแนนแบบลับเมื่อวันอังคารที่่ผ่านมา ชาติสมาชิกคณะกรรมการบริหารขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) 34 ประเทศ รับรองการเสนอชื่อทีโดรสในตำแหน่งผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอ โดยขาดไปเพียง 3 ชาติที่งดออกเสียง คือ ตองกา, อัฟกานิสถาน และอีสต์ติมอร์
ขั้นตอนจากนี้ ชาติสมาชิกดับเบิลยูเอชโอ 194 ประเทศ จะลงมติเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งจะทำให้ทีโดรสได้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมอีกเป็นสมัยที่ 2 วาระ 5 ปี เนื่องจากไม่มีคู่แข่ง
อดีตรัฐมนตรีสาธารณสุขและรัฐมนตรีต่างประเทศของเอธิโอเปียเป็นชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารขององค์การในสังกัดองค์การสหประชาชาติแห่งนี้ ทีโดรสกล่าวว่า เขารู้สึกซาบซึ้งอย่างมากที่ได้รับการสนับสนุนอีกครั้ง
ทีโดรส วัย 56 ปี เป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในการต่อสู้กับโควิด-19 ทั่วโลก เขายอมรับว่า ช่วงเวลา 5 ปีในการทำหน้าที่ของเขามี "ความท้าทายและยาก" แต่ถือเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับโอกาสในการต่อสู้ต่อไป
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมาลาเรียรายนี้ได้รับคำชมเชยอย่างมากในการเป็นผู้นำดับเบิลยูเอชโอในการต่อสู้กับโควิด-19 ที่เริ่มปรากฏเมื่อกว่า 2 ปีก่อน ประเทศแอฟริกาต่างยินดีที่ดับเบิลยูเอชโอในสมัยของเขาให้ความสนใจกับทวีปนี้ และการรณรงค์อย่างไม่ลดราของเขาเพื่อให้ประเทศที่ยากจนได้รับส่วนแบ่งวัคซีนโควิดอย่างเท่าเทียม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้