ชี้ 'ซิโนแวค' 2 เข็มแล้วบูสต์ด้วยวัคซีนต่างชนิดกระตุ้นภูมิได้มากขึ้น

ผลการศึกษาจากบราซิลและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายของซิโนแวค 2 โดส แล้วบูสต์ด้วยวัคซีนต่างชนิด เช่นของแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ สามารถเพิ่มระดับสารภูมิต้านทานในร่างกายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Getty Images

รายงานรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2565 อ้างผลการศึกษาของนักวิจัยจากบราซิลและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจากอังกฤษที่รวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัคร 1,240 คนในเมืองเซาเปาลูและซัลวาดอร์ของบราซิล ที่พบว่า วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัท ซิโนแวค จากจีน สร้างสารภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นได้ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงภูมิต้านทานไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน เมื่อได้รับการฉีดโดสกระตุ้นภูมิโดสที่ 3 โดยใช้วัคซีนที่เป็นชนิดที่่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ เช่นแอสตร้าเซนเนก้าและจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น ไฟเซอร์-ไบออนเทคและโมเดอร์นา

วัคซีนซิโนแวคนั้นใช้ไวรัสเชื้อตายหรือไวรัสที่หมดฤทธิ์แล้ว ซึ่งได้จากผู้ป่วยโควิด-19 ในจีน วัคซีนชนิดนี้ได้รับการอนุมัติในมากกว่า 50 ประเทศ อาทิ บราซิล, จีน, อาร์เจนตินา, แอฟริกาใต้, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ตุรกี และรวมถึงไทย

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ผู้อำนวยการออกซ์ฟอร์ดวัคซีนกรุ๊ป และเป็นผู้นำการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ให้ทางเลือกที่สำคัญสำหรับผู้ที่กำหนดนโยบายของหลายประเทศที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย

อย่างไรก็ดี รอยเตอร์กล่าวว่า มีผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคมที่พบว่า การฉีดซิโนแวค 2 โดส แล้วฉีดกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ต่ำกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

การศึกษาล่าสุดพบด้วยว่า การฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยซิโนแวคเป็นโดสที่ 3 เพิ่มสารภูมิต้านทานในร่างกายด้วยเช่นกัน แต่การใช้วัคซีนต่างชนิดให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' เทียบผลกระทบวัคซีน 'แอสตร้า' กับ วัคซีนตัดต่อพันธุกรรม เท่ากับเด็กประถม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk

กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด