แอฟริกาใต้ไม่อนุมัติวัคซีน 'สปุตนิกวี' หวั่นเพิ่มความเสี่ยงเอชไอวี

หน่วยงานกำกับดูแลของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เผยเมื่อวันจันทร์ว่า จะไม่อนุมัติวัคซีนโควิด-19 สปุตนิกวี ของรัสเซีย เนื่องจากความวิตกว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในหมู่คนหนุ่ม

แฟ้มภาพ ขวดบรรจุวัคซีน Gam-Gam-COVID-Vac หรือสปุตนิกวี ที่โรงงานของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอแคด ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย (Getty Images)

รายงานของเอเอฟพีเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 กล่าวว่า การตัดสินใจของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของแอฟริกาใต้อ้างอิงจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่ทดสอบความปลอดภัยของไวรัสอะดีโนในรูปแบบที่ผ่านการดัดแปลง ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ก่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่เรียกว่า Ad5 และใช้ในวัคซีนของรัสเซีย

"การใช้วัคซีนสปุตนิกวีในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีอุบัติการณ์และความชุกของเอชไอวีสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ชายที่ฉีดวัคซีนแล้วจะได้รับเชื้อเอชไอวี" แถลงการณ์ของหน่วยงานนี้กล่าว พร้อมกับเผยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการยื่นใบสมัครขอใช้วัคซีนสปุตนิกวีในแอฟริกาใต้ไม่ได้พิสูจน์ว่า สูตรวัคซีนของรัสเซียมีความปลอดภัย "ในสถานที่ที่มีความชุกของเอชไอวีสูง"

แอฟริกาใต้เกิดการระบาดของโควิด-19 รุนแรงที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยมีผู้ติดเชื้อเกือบ 3 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 88,000 คน ประเทศนี้ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมากที่สุดในโลกด้วย และประชาชนจำนวนมากลังเลกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยถึงขณะนี้ในประชากรกลุ่มเป้าหมาย 40 ล้านคนที่รัฐบาลตั้งเป้าฉีดวัคซีนภายในต้นปีหน้า มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วแค่ราวร้อยละ 25

สัปดาห์นี้แอฟริกาใต้จะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และจะฉีดโดสกระตุ้นภูมิให้พลเมืองในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ปัจจุบัน แอฟริกาใต้อนุมัติการใช้งานวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งฉีดเพียงโดสเดียวและใช้ไวรัสอะดีโนแต่คนละชนิดกับของรัสเซีย, วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของไฟเซอร์-ไบออนเทค และวัคซีนซิโนแวคจากจีน

องค์การอนามัยโลกยังไม่รับรองการใช้งานแบบฉุกเฉินสำหรับวัคซีนสปุตนิกวีของรัสเซีย ถึงแม้ว่าวัคซีนนี้จะถูกนำมาใช้แล้วในอย่างน้อย 45 ประเทศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19

โควิดยังไม่แผ่ว! 'กลุ่มเสี่ยง' ยังต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิฯ

โควิดยังอยู่ แพทย์ชี้กลุ่มเสี่ยงยังต้องฉีดวัคซีนโควิด เน้นฉีดกระตุ้นภูมิฯ โดยสามารถฉีดฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา

'รัดเกล้า' สรุปความก้าวหน้าการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด 4 ชนิดในประเทศไทย

นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)