'ตุรเกีย' ออกโรงเรียกร้องให้ยูเอ็นคว่ำบาตรการส่งอาวุธให้อิสราเอล

(ภาพเหตุการณ์การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลซึ่งมุ่งเป้าไปที่เมืองบาลเบ็ค ทางตะวันออกของเลบานอนเมื่อวันอาทิตย์ เห็นได้ชัดว่าสงครามระหว่างอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์ยังไม่ยุติลงง่ายๆ – Photo by Nidal Solh / AFP)

กระทรวงการต่างประเทศของตุรเกียแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติที่ลงนามโดย 52 ประเทศและสององค์กร เรียกร้องให้ยุติการจัดส่งอาวุธให้กับอิสราเอล

จดหมายร่วมเรียกร้องให้ “ทุกประเทศหยุดขายอาวุธและกระสุนให้อิสราเอล” ฮาคาน ฟินดาน-รัฐมนตรีต่างประเทศของตุรเกียกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอาทิตย์ระหว่างการเดินทางไปเยือนจิบูตี จดหมายที่มีผู้ลงนาม 54 คนถูกส่งไปยังองค์การสหประชาติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน

“เราต้องชี้ให้เห็นทุกโอกาสว่าการขายอาวุธให้อิสราเอลถือเป็นการสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ฟิคานซึ่งกำลังเข้าร่วมการประชุมสุดยอดในทวีปแอฟริกากล่าวเสริม และย้ำว่า จดหมายฉบับนี้เป็นความคิดริเริ่มของตุรเกีย

ผู้ร่วมลงนามในจดหมายฉบับดังกล่าว ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย บราซิล แอลจีเรีย จีน อิหร่าน รัสเซีย สันนิบาตอาหรับ และองค์การความร่วมมืออิสลาม

ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอันของตุรเกีย เรียกร้องให้สหประชาชาติบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรการจัดส่งอาวุธให้อิสราเอลเมื่อเดือนที่แล้ว แอร์โดอันกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวเป็น “วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ” ในการยุติสงครามในฉนวนกาซา

นับตั้งแต่เกิดสงครามขึ้นในฉนวนกาซา ผู้นำของตุรเกียเคยกล่าวหานายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลว่ากระทำการโหดร้ายที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งแห่งศตวรรษ เขาจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ในฐานะ “คนแล่เนื้อแห่งฉนวนกาซา” แอร์โดอันกล่าว “รอยเปื้อน” นี้ไม่เพียงติดอยู่กับเนทันยาฮูเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่สนับสนุนเขาอย่างไม่มีเงื่อนไขด้วย

ขณะเดียวกันประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอันก็กล่าวหารัฐบาลตะวันตกด้วยว่า มีส่วนร่วมในการปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังต่อศาสนาอิสลามโดยทำลายล้างชาวปาเลสไตน์

วาทกรรมอันรุนแรงของแอร์โดอันในเวลานั้นสร้างความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ระหว่างตุรเกียและอิสราเอล เมื่อปีก่อนหน้านั้นทั้งสองฝ่ายส่งเอกอัครราชทูตไปประจำการอีกครั้งหลังจากยุคน้ำแข็งทางการทูตอันยาวนาน ทั้งสองประเทศยังได้หารือเกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และการทำงานร่วมกันในโครงการพลังงานใหม่

แต่สงครามในตะวันออกกลางทำให้อิสราเอลถอนเจ้าหน้าที่ทางการทูตทั้งหมดออกจากตุรเกียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัย อังการาก็ได้ถอนเจ้าหน้าที่ทางการทูตออกจากเทลาวีฟเพื่อประท้วงการกระทำของอิสราเอลเช่นกัน.  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'มาริษ' ร่อนหนังสือ​ประท้วงทางการอิสราเอล หลังแรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย

นายมาริษ​ เสงี่ยมพงษ์​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ​ กล่าวถึงเหตุยิงจรวดเข้าไปในเขตประเทศอิสราเอล และทำให้คนไทยเสียชีวิต 4 ราย แล

นายกฯ เสียใจสุดซึ้ง เหตุแรงงานไทยเสียชีวิต ใกล้ชายแดนเลบานอน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทวีตข้อความ ว่า เมื่อคืนนี้(31 ต.ค.) ได้รับรายงานจากนายมาริษ เสงียมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ @AmbPoohMaris

"พิพัฒน์" แสดงความเสียใจ 4 แรงงานเสียชีวิตในอิสราเอล สั่งการปลัดประสานเอกอัคราชทูต อพยพแรงงานภาคเหนือ ไปทางภาคใต้ของอิสราเอล ด่วน

1 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกมาแสดงความเสียใจ กรณีแรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ว่า

ดร.ปณิธาน วิเคราะห์สถานการณ์ตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลตอบโต้กลับอิหร่าน 

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ  โพสต์คลิปสัมภาษณ์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมข้อความว่า  อิสราเอลแถลงว่าการโจมตีอิหร่านสิ้นสุดลงแล้ว (พรุ่งนี้ต้องจับตาดูการเจรจาหยุดยิงและแลกเปลี่ยนตัวประกันรอบใหม่ระหว่างฮามาสและอิสราเอลที่ Doha)