พายุโซนร้อน 'จ่ามี' เตรียมถล่มฟิลิปปินส์ เสียชีวิตแล้ว 7 ราย อพยพกว่าพันคน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยฟิลิปปินส์ลุยน้ำท่วมสูงถึงหน้าอกเพื่อไปช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน 'จ่ามี' ซึ่งล่าสุดคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 7 ราย และทำให้ต้องอพยพอีกหลายพันคน

ยานพาหนะจำนวนมากถูกฝังอยู่ใต้เถ้าภูเขาไฟที่ไหลจากภูเขาไฟมายอน จากอิทธิพลของฝนตกหนักเพราะพายุโซนร้อนจ่ามี ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองกีโนบาตัน จังหวัดอัลเบย์ ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม (Photo by Charism SAYAT / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 23 ตุลาคม 2567 กล่าวว่า พายุโซนร้อน 'จ่ามี' กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

ฝนที่ตกหนักจากพายุทำให้ถนนหลายสายจมอยู่ใต้น้ำ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนของชุมชนหลายแห่ง ซ้ำเติมด้วยตะกอนภูเขาไฟที่ตกลงมาทับถมในหลายพื้นที่

ตำรวจเผยว่าประชาชนอย่างน้อย 32,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนทางภาคเหนือ ขณะที่พายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะหลักของประเทศ

ในเขตบิโคลซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 400 กิโลเมตร เกิดน้ำท่วมสูงอย่างไม่คาดคิด ทำให้การกู้ภัยมีความซับซ้อนมากขึ้น

โฆษกตำรวจประจำภูมิภาคกล่าวกับเอเอฟพีว่า "เราได้ส่งหน่วยกู้ภัยไปแล้ว แต่พวกเขาไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่บางส่วนได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูงและกระแสน้ำแรงมาก"

มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายในรถบัสที่ถูกน้ำท่วมพัดพาไปในเมืองนากาของเขตบิโคลซึ่งมีผู้เสียชีวิตอีก 3 รายจากเหตุอื่นๆ

หญิงชรารายหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในจังหวัดเกซอนทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวง ขณะที่เด็กรายหนึ่งเสียชีวิตหลังจากตกลงไปในคลองที่ถูกน้ำท่วม และผู้เสียชีวิตอีก 1 รายจากกิ่งไม้ที่ตกลงมาทับ

หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ศูนย์กลางของพายุอยู่ห่างจากจังหวัดออโรราของเกาะลูซอนไปทางทิศตะวันออก 160 กิโลเมตร โดยมีความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่อง 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คาดว่าพายุจะพัดเข้าสู่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับเมืองดิวิลากัน ในเวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ในเมืองนากา กว่าครึ่งหนึ่งของหมู่บ้านทั้ง 600 แห่งจมอยู่ใต้น้ำท่วมสูง

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวในการประชุมฉุกเฉินของหน่วยงานรัฐบาลเมื่อเช้าวันพุธว่า "สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง ผมรู้สึกกังวลเล็กน้อย เพราะเราทำได้แค่นั่งนิ่งๆ, รอคอย และภาวนาว่าจะไม่มีความเสียหายมากเกินไป รวมถึงการเสียชีวิต"

ประชาชนในบิโคลได้รับการช่วยเหลือไปยังศูนย์อพยพประมาณ 2,500 แห่งซึ่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค

เจ้าหน้าที่ยังได้อพยพผู้คน 216 คนออกจากชายฝั่งใกล้เมืองดิวิลากัน และอีก 60 คนจากเทศบาลปาลานันที่อยู่ใกล้เคียง หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนว่ามีความเสี่ยงปานกลางถึงมากต่อการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งที่คุกคามชีวิต

ทั้งนี้ พายุลูกใหญ่ประมาณ 20 ลูกพัดถล่มฟิลิปปินส์หรือพื้นที่น่านน้ำโดยรอบทุกปี ทำให้บ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย และคร่าชีวิตผู้คนไปหลายสิบราย

แม้พายุรุนแรงเป็นเรื่องปกติในภูมิภาคนี้ แต่การศึกษาล่าสุดเผยว่าพายุที่มีความรุนแรงเหล่านั้นก่อตัวใกล้ชายฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ, รุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และกินเวลานานขึ้นเมื่อขึ้นฝั่ง โดยทั้งหมดมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตพายุจ่ามี ไม่เข้าไทย แต่ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นลมแรง 26-29 ต.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ "จ่ามี" ฉบับที่ 5 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (25 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อนกำลังแรง “จ่ามี” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 พายุโซนร้อน 'จ่ามี' เตือนไทยฝนตกหนัก 26-29 ต.ค.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 1 'พายุจ่ามี' ทวีเป็นโซนร้อนกำลังแรง เตือนพื้นที่ฝนตกหนัก 26-28 ต.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ "จ่ามี" ฉบับที่ 1 ระบุว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันนี้ (24 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อนกำลังแรง “จ่ามี” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

'อ.เสรี ศุภราทิตย์' จับตาพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดขึ้นอีก 6 ลูก บางลูกกระทบภาคใต้

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพกราฟิกพร้อมข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่า "พายุจ่ามี" ส่งอิทธิพลไม่มากต่อประเทศไทยแต่ควรไม่ประมาทเพราะความชื้นในทะเลมีสูง

กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทางเคลื่อนตัว พายุโซนร้อนจ่ามี-พายุไซโคลนDANA ทวีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และในทะเลอันดามันตอนบน เวลา 04.00น.(24/10/67) : พายุโซนร้อน "จ่ามี (TRAMI)