การข่มเหงกลุ่มภราดรภาพมุสลิมโดย ซีซี เผด็จการของอียิปต์ ทำให้เกิดความแตกแยกกับตุรเกีย ทั้งสองประเทศตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งมาเป็นเวลาสิบสองปีแล้ว ตอนนี้ซีซีเดินทางถึงอังการาเพื่อยืนยันการเปิดฉากทางการทูตใหม่อีกครั้ง
เมื่อครั้งที่ประชากรชาวอียิปต์โค่นผู้ปกครองที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานในช่วงอาหรับสปริงปี 2011 ตอนนั้นอังการายังสงวนท่าทีอยู่ ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ให้การสนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร ซึ่งขึ้นสู่อำนาจในเวลานั้น สองปีต่อมาความปรารถนาดีสิ้นสุดลง ด้วยการรัฐประหารในปี 2013 อับเดล ฟัตตาห์ เอล-ซีซี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอียิปต์ ได้ทำการโค่นล้มกลุ่มภราดรภาพมุสลิม หลายคนถูกจำคุก บ้างถูกตัดสินประหารชีวิต
ตอนนี้ไคโรและอังการาหันมากระชับมิตรกันอีกครั้ง หลังจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดมานานกว่าทศวรรษ ซีซีเดินทางไปเยือนอังการาเมื่อวันพุธ เพื่อพูดคุยกับแอร์โดอัน ประธานาธิบดีของตุรเกีย นับเป็นการเยือนครั้งแรกของประธานาธิบดีอียิปต์ในรอบ 12 ปี
ประธานาธิบดีแอร์โดอันเคยเดินทางไปเยือนไคโรในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเยือนอียิปต์ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจในภูมิภาค สัญญาณสำคัญสำหรับแอร์โดอันก็คือ เขาเคยเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ที่ได้รับเลือกตามระบอบประชาธิปไตยแห่งกลุ่มภราดรภาพมุสลิม แต่ถูกโค่นล้มโดยอับเดล ฟัตตาห์ เอล-ซีซี
แอร์โดอันให้การต้อนรับซีซีที่สนามบินอังการา ก่อนที่พวกเขาจะมุ่งหน้าไปยังทำเนียบประธานาธิบดีเพื่อเข้าสู่พิธีการต้อนรับ ซีซีกล่าวในแถลงการณ์ว่า การมาเยือนตอบครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงร่วมกันที่จะนำไปสู่ยุคใหม่ของมิตรภาพและความร่วมมือ จากข้อมูลของทำเนียบประธานาธิบดีตุรเกีย จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นระดับภูมิภาคและระดับโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการโจมตีของอิสราเอลในฉนวนกาซาและดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง
ตุรเกีย ซึ่งประณามอิสราเอลอย่างรุนแรงที่ทำสงครามกับกลุ่มฮามาส ได้ส่งความช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์หลายพันตันไปยังอียิปต์ และยกย่องความพยายามของรัฐบาลไคโรในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและประสานการเจรจาหยุดยิงในฉนวนกาซา
ตามรายงานของสำนักข่าว Anadolu ของตุรเกีย คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือประมาณ 20 ฉบับ ทั้งด้านพลังงาน การป้องกันทางทหาร การท่องเที่ยว สุขภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา ในระหว่างการเยือนของซีซี นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะกระชับความร่วมมือในด้านพลังงานทดแทนและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) อีกด้วย
การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเริ่มต้นในปี 2020 เมื่อตุรเกียเปิดฉากการรุกทางการทูตเพื่อบรรเทาความตึงเครียดกับคู่แข่งในภูมิภาค เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ ทั้งตุรเกียและอียิปต์ต่างส่งเอกอัครราชทูตของตนไปประจำการอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ตุรเกีย' ออกโรงเรียกร้องให้ยูเอ็นคว่ำบาตรการส่งอาวุธให้อิสราเอล
กระทรวงการต่างประเทศของตุรเกียแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติที่ลงนามโดย 52 ประเทศและสององค์กร
ตุรเกียรายงานการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในอังการา
ตามที่รัฐบาลระบุ มีการโจมตีสำนักงานใหญ่อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของตุรเกียในเมืองคาห์รามันคาซาน ซึ่งห่างจากก
'เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน' ในวัย 70 และสองทศวรรษในอำนาจ
เรเจป ไตยิป แอร์โดอันอยู่ในอำนาจมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ในฐานะนายกรัฐมนตรีและตั้งแต่ปี 2014 ในฐานะประธานาธิบดี เขาปกครองตุรเกียแบ
'ชาดา' ฮึ่ม! ปราบมาเฟียวัดบางคลาน ไม่เกรงใจ 'สว.' คนดัง
‘ชาดา’ เผย ‘เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร’ ติดต่อขอแรงช่วยปราบ ‘มาเฟียวัดบางคลาน’ ลั่นไม่มีเกรงใจ สว.คนดัง ยันทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย
หวั่นขยะล้นเกาะหลีเป๊ะ เส้นทางสาธารณะถูกปิดจากข้อพิพาท ขนย้ายออกไม่ได้
หวั่นขยะล้นเกาะหลีเป๊ะ เหตุเส้นทางสาธารณะถูกปิดขนย้ายออกจากเกาะไม่ได้ กรมที่ดินตั้งแล้ว กก.แก้ไข น.ส.3 แปลง 11 “ธนพร” เผยเร่งขจัดอิทธิพลก่อนเหตุส่งผลต่อกลไกรัฐ อุทยานฯ เตรียมออกคำสั่งปกครองให้เอกชนรุกที่รื้อถอน
กรรมการสิทธิฯ เตรียมจี้นายกฯ เร่งแก้ปัญหาที่ดิน ข้อพิพาทเอกชนกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)เปิดเผยถึงกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวเลอูรักลาโว้ยบนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล กับเอกชนที่อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งล่าสุดเมื่อปลายเดือนพ.ย. 2565 ที่ผ่านมา