สวีเดนพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ถือเป็นรายแรกนอกทวีปแอฟริกา

สวีเดนพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกนอกทวีปแอฟริกา หลังจากองค์การอนามัยโลกเพิ่งประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับประเทศ

สำนักงานศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ในเมืองโซลนา ใกล้กับกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน (Photo by Jonathan NACKSTRAND / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 กล่าวว่า หน่วยงานสาธารณสุขของสวีเดนยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง (Mpox) สายพันธุ์เดียวกับที่ระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 ซึ่งรู้จักกันในชื่อสายพันธุ์ clade 1b (เคลท 1บี)

หน่วยงานดังกล่าวระบุในแถลงการณ์ว่า "ผู้ป่วยรายหนึ่งที่เข้ารับการรักษาในสตอกโฮล์มได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ clade 1b โดยเป็นผู้ป่วยรายแรกที่ติดเชื้อด้วยสายพันธุ์ดังกล่าวนอกทวีปแอฟริกา"

นักระบาดวิทยาของสวีเดนกล่าวในแถลงการณ์ว่า ผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อระหว่างการเดินทางเยือนส่วนหนึ่งของแอฟริกาที่มีการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ clade 1b

หน่วยงานฯ เสริมว่า ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการการรักษาแล้ว โดยสวีเดนมีความพร้อมในการวินิจฉัย, แยกตัว และรักษาผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวอย่างมีมาตรฐาน

"การที่ผู้ป่วยด้วยโรคฝีดาษลิงได้รับการรักษาในประเทศไม่ได้ส่งผลด้านความเสี่ยงต่อประชากรทั่วไป ซึ่งปัจจุบันศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ถือว่าความเสี่ยงนั้นต่ำมาก" หน่วยงานฯ กล่าว

ทั้งนี้ การระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทำให้มีผู้เสียชีวิต 548 รายนับตั้งแต่ต้นปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศเพื่อนบ้านเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความน่ากังวลระดับประเทศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

ไวรัสชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 2513 ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

ฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสที่แพร่สู่คนผ่านทางสัตว์ที่ติดเชื้อ และยังสามารถแพร่จากคนสู่คนได้โดยการสัมผัสทางกายภาพอย่างใกล้ชิด

โรคนี้ทำให้เกิดไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีตุ่มน้ำขนาดใหญ่บนผิวหนัง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ

ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์