องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิง (Mpox) ในทวีปแอฟริกาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับประเทศแล้ว โดยส่งสัญญาณเตือนสูงสุดต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายลงทุกขณะ
ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (Photo by Christopher BLACK / World Health Organization (WHO) / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาการระบาดของโรคฝีดาษลิง (Mpox) และเสนอคำแนะนำต่อทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งสหประชาชาติ
"วันนี้ คณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินได้ประชุมกันและแจ้งให้ผมทราบว่าในความเห็นของคณะกรรมการ สถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และผมได้ยอมรับคำแนะนำนั้นแล้ว"
"นี่เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรต้องกังวล องค์การอนามัยโลกได้ให้คำมั่นว่าจะประสานงานการตอบสนองทั่วโลกในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ โดยจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับแต่ละประเทศที่ได้รับผลกระทบ และใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของเราในพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด, รักษาผู้ติดเชื้อ และช่วยชีวิต" กีบรีเยซุสกล่าวในการแถลงข่าว
การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านสุขภาพของสหภาพแอฟริกาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาค อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคฝีดาษลิงที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน ฝีดาษลิงกำลังแพร่ระบาดไปทั่วสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งเป็นที่ที่ไวรัสโรคฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 2513 และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ
กีบรีเยซุสกล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยมากกว่า 14,000 คนและยอดผู้เสียชีวิต 524 รายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปีนี้นั้นมากกว่าจำนวนผู้ป่วยในปีก่อนไปแล้ว
"การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์ clade 1b (เคลท 1บี) ในคองโกเมื่อปีที่แล้ว ส่วนใหญ่มักกระจายผ่านเครือข่ายทางเพศ แต่การตรวจพบโรคนี้ในประเทศเพื่อนบ้านรอบๆคองโกในปีนี้นั้นน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง และเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ผมตัดสินใจเรียกประชุมฉุกเฉินครั้งนี้" เขากล่าวในการเปิดการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉิน
ทั้งนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยด้วยสายพันธุ์ clade 1b (เคลท 1บี) ประมาณ 90 คนใน 4 ประเทศเพื่อนบ้านของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่ไม่เคยรายงานพบเชื้อฝีดาษลิงมาก่อน ได้แก่ บุรุนดี, เคนยา, รวันดา และยูกันดา
ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ถือเป็นสัญญาณเตือนสูงสุดที่องค์การอนามัยโลกสามารถประกาศออกไปได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองภาวะฉุกเฉินในประเทศต่างๆ ทั่วโลกภายใต้ข้อบังคับด้านสุขภาพระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
ในเดือนพฤษภาคม 2565 การติดเชื้อฝีดาษลิงพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก โดยส่วนใหญ่ส่งผลกระทบในผู้ชายที่เป็นเกย์และรักร่วมเพศ ภายใต้การติดต่อด้วยสายพันธุ์ที่เรียกว่า clade 2b (เคลท 2บี)
ในครั้งนั้น องค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขซึ่งกินเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม 2566 การระบาดครั้งดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 140 รายจากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดประมาณ 90,000 คน
สายพันธุ์เคลท 1บี ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในคองโกตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เคลท 2บี โดยมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า
ฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสที่แพร่สู่คนผ่านทางสัตว์ที่ติดเชื้อ และยังสามารถแพร่จากคนสู่คนได้โดยการสัมผัสทางกายภาพอย่างใกล้ชิด
โรคนี้ทำให้เกิดไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีตุ่มน้ำขนาดใหญ่บนผิวหนัง
ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันขององค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนสำหรับฝีดาษลิงทั้ง 2 สายพันธุ์
ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกมีการประกาศให้ฉีดวัคซีนเพียง 7 ครั้งเท่านั้นตั้งแต่ปี 2552 ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1, โปลิโอ, ไวรัสอีโบลา, ไวรัสซิกา, ไวรัสอีโบลาระลอก 2, โควิด-19 และฝีดาษลิง
ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) จะช่วยยกระดับการเตือนภัยทั่วโลก และอาจทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถเข้าถึงเงินทุนสำหรับการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' มีคำตอบ 'วัคซีนป้องกันฝีดาษวานร' มีหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์