กมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสังกัดพรรคดีโมแครต เข้าสู่โลกของ TikTok เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เธอและทีมงานของเธอพยายามใช้กลยุทธ์สมัยใหม่เพื่อเข้าถึงผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงรุ่นเยาว์
เริ่มมาจากเธออยากดู TikTok ด้วยตัวเอง เพราะตอนนี้ใครๆ ก็พูดถึงเธอ กมลา แฮร์ริสบอก เธอหัวเราะใส่กล้องและทักทายผู้ติดตามผ่านบัญชี TikTok ใหม่ของเธอ เพื่อเข้าถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์ ดูเหมือนว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคดีโมแครตจะใช้โซเชียลมีเดียในการรณรงค์หาเสียงด้วย
“มีม” ที่เป็นคลิปสั้นๆ หรือรูปภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องตลกขบขันเกี่ยวกับแฮร์ริสถูกสร้างขึ้น และมีคนดูหลายล้านครั้ง ทีมหาเสียงของเธอเลือกมีมเหล่านั้นมาใส่เพลง สีสัน และสไตล์ของคลิปไวรัลเข้ากับช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการ ทำให้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ด้วยบัญชี TikTok ของตัวเอง แฮร์ริสกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้านโซเชียลมีเดียต่อไป โดยปรากฏตัวต่อหน้ากล้องเป็นการส่วนตัว แทนที่จะปล่อยให้ทีมงานของเธอแชร์มีมอย่างเดียว คลิปวิดีโอล่าสุดของเธอตัดสลับระหว่างวาทศาสตร์การหาเสียงแบบคลาสสิกและความบันเทิง ในทางหนึ่งแฮร์ริสพูดถึงกฎหมายการทำแท้งที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันจันทร์ในรัฐไอโอวาของอเมริกา ในอีกทางหนึ่งเธอปรากฏตัวร่วมแลนซ์ เบส-นักร้องของ NSYNC วงบอยแบนด์ที่เคยโด่งดังในช่วงทศวรรษ 2000
ดูเหมือนว่าคลิปบันเทิงจะได้รับความสนใจมากกว่าประเด็นการทำแท้ง นักร้องถามแฮร์ริสว่า เธอจะพูดอะไรกับโดนัลด์ ทรัมป์ในเดือนพฤศจิกายนเมื่อเลือกตั้งเสร็จ เธอตอบกลับว่า “Bye, bye, bye” ก่อนจะมีเสียงคอรัสเพลงชื่อเดียวกันของ NSYNC ดังขึ้นตามมา
โดนัลด์ ทรัมป์เองก็เข้าสู่โลกของ TikTok นานแล้ว เขาเริ่มหาเสียงบนแพลตฟอร์มนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และเช่นเดียวกับแฮร์ริส เขาอาศัยใบหน้าซึ่งเป็นที่รู้จักเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยเยาว์ของแพลตฟอร์ม ในคลิปที่เขาสนทนากับเจค พอล-อินฟลูเอนเซอร์ชาวอเมริกัน ทรัมป์กล่าวว่า กมลา แฮร์ริส “ไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด” แต่คนหนุ่มสาวสมัยนี้ต่างหากที่ฉลาด เจค พอลพูดเสริมพร้อมรอยยิ้มว่า “เรารักคนหนุ่มสาว” และมีคำบรรยายใต้คลิป: “คนหนุ่มสาวทำให้อเมริกายิ่งใหญ่”
TikTok เป็นหนึ่งในช่องทางที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จากกรณีศึกษาของ Pew Research Center พบว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของคนอายุ 18-29 ปีในสหรัฐอเมริกาใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน TikTok ให้บริการคนหนุ่มสาวในฐานะแหล่งข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะอ่านบทความแบบเก่าหรือดูรายงานข่าว คนส่วนใหญ่กลับให้ความสนใจกับความคิดเห็นหรือเนื้อหาตลกเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในฟีดของพวกเขา
ทว่าการปรากฏบนโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนอย่างไรนั้น แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากโจ ไบเดนประกาศถอนตัวจากผู้สมัคร กมลา แฮร์ริสได้กลายเป็นกระแสบนโซเชียลมีเดีย จำนวนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทพไท ชี้ ‘ทักษิณ’ ยังขลัง ขึ้นเวทีช่วยผู้สมัคร นายกอบจ. เพื่อไทย โกยคะแนน
ใครจะบอกว่า นายทักษิณหาเสียงไม่มีผลต่อคะแนน ผมขอเถียงคอเป็นเอ็นว่า ทักษิณขึ้นเวทีหาเสียง มีผลต่อคะแนนผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยแน่นอน
‘วิโรจน์’ ขึ้นโรงพักจันทบุรี แจ้งความโดนขู่ฆ่า สบช่องขอคะแนนเสียง นายก อบจ.
คนเราถ้าเราถ้าไม่คดไม่โกง ไม่คอร์รัปชั่น กล้าที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ประชาชนจะคอยเดินเคียงข้าง และเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กปกป้องเราให้เอง
‘อิ๊งค์’ ลุยนครพนมช่วย ‘อนุชิต’ อ้อนขอคะแนนเสียง
หัวหน้า “อิ๊งค์” ลุยนครพนมช่วย “อนุชิต” ผู้สมัครนายก อบจ.นครพนม เพื่อไทยหาเสียง อ้อนได้กำลังใจกลับไปทำงาน ขอให้กาเบอร์ 8 ดีเอ็นเอ พท.
กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD
กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต
'สว.อังคณา' ตบปาก 'พ่อนายกฯ' พล่อยเหยียดผิว บี้ขอโทษก่อนบานปลาย
'อังคณา' จี้ 'ทักษิณ' ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดผิว ช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่ควรพูดด้อยค่า-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เปิดคิวเดินสายรัวๆ ‘ทักษิณ-พท.’ ลุยหาเสียงทั่วปท. หวังยึดเก้าอี้ นายกอบจ.ครบ 16 จว.
ทักษิณ-พท.โหมหนัก ลุยหาเสียงทั่วประเทศ ยึดเก้าอี้นายกฯอบจ. ครบ 16 จังหวัด เปิดคิวเดินสายรัวๆ ขึ้นรถม้าลำปางอาทิตย์นี้ จากนั้น ถึงคิวอีสานสะเทือน เปิดหน้า ชนสีน้ำเงิน