ซีอีโอไฟเซอร์คาดวัคซีนต้านโอมิครอนพร้อม มี.ค.นี้

อัลเบิร์ต บัวร์ลา ซีอีโอของบริษัท ไฟเซอร์ คาดว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาเพื่อจัดการกับสายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะน่าจะพร้อมใช้งานในเดือนมีนาคมปีนี้

แฟ้มภาพ อัลเบิร์ต บัวร์ลา ซีอีโอไฟเซอร์ กล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองเทสซาโลนีกีของกรีซ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2564 (AFP)

รอยเตอร์รายงานเมื่อวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2565 ว่าอัลเบิร์ต บัวร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไฟเซอร์ ผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่จากสหรัฐ กล่าวต่อที่ประชุมทางไกลด้านการดูแลสุขภาพประจำปีของเจ. พี. มอร์แกน เมื่อวันจันทร์ที่่ผ่านมาว่า บริษัท ไฟเซอร์ ของเขา และบริษัท ไบออนเทค พาร์ตเนอร์จากเยอรมนี กำลังทำงาน ทั้งการออกแบบวัคซีนใหม่เพื่อรับมือกับโอมิครอนโดยเฉพาะ และวัคซีนที่จะรวมระหว่างวัคซีนเวอร์ชันก่อนกับวัคซีนที่พุ่งเป้าสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วนี้

บัวร์ลากล่าวว่า ไฟเซอร์อาจจะพร้อมยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐสำหรับวัคซีนที่ออกแบบมาใหม่ และพร้อมให้ใช้งานได้อย่างเร็วในเดือนมีนาคมนี้ เขาคุยด้วยว่า ไฟเซอร์ได้เสริมสร้างศักยภาพในการผลิตวัคซีนขึ้นมาก ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาหากต้องเปลี่ยนการผลิตทันที

เขาคาดการณ์ด้วยว่า ต่อไปวัคซีนโควิด-19 อาจเป็นวัคซีนที่ต้องฉีดปีละครั้งสำหรับผู้คนส่วนใหญ่ และสำหรับกลุ่มเสี่ยงอาจต้องได้รับวัคซีนถี่ครั้งขึ้น

วันเดียวกัน เอเอฟพีรายงานว่า สเตฟาน บ็องเซล ซีอีโอของบริษัท โมเดอร์นา ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซีว่า โมเดอร์นากำลังพัฒนาวัคซีนบูสเตอร์ที่อาจจัดการกับโอมิครอนและสายพันธุ์ที่เกิดใหม่ได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ โดยบริษัทกำลังหารือกับบรรดาผู้นำด้านสาธารณสุขทั่วโลกเพื่อตัดสินใจในสิ่งที่เราคิดว่าเป็นกลยุทธ์ดีที่สุด เราต้องระมัดระวังเพื่อพยายามนำหน้าไวรัส ไม่ใช่ตามหลัง

บ็องเซลเคยกล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจต้องฉีดโดสกระตุ้นภูมิต้านทานอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนบูสเตอร์อาจจะลดลงในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า