ชาวเยอรมันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์นิยมใช้อิโมจิในการสื่อสารดิจิทัล

AFP

ไม่ว่าจะเป็นรูปหัวใจหรือใบหน้ายิ้ม ชาวเยอรมันจำนวนมากใช้สิ่งที่เรียกว่า “อิโมจิ” ในการสื่อสารดิจิทัล ประมาณ 81 เปอร์เซ็นต์ใช้อิโมจิในการส่งข้อความ อีเมล หรือแชต ตามข้อมูลของสมาคมดิจิทัล Bitkom ที่ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่กรุงเบอร์ลิน เนื่องในโอกาส “วันอิโมจิโลก” ในวันพุธนี้

เกือบหนึ่งในห้า หรือ 19 เปอร์เซ็นต์ใช้อิโมจิในทุกข้อความ, 31 เปอร์เซ็นต์ในข้อความส่วนใหญ่ และ 24 เปอร์เซ็นต์ในไม่กี่ข้อความ มีเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้อิโมจิน้อยมากหรือแทบไม่ใช้เลย และจากการสำรวจพบว่า อิโมจิถูกใช้ในการสื่อสารส่วนตัวระหว่างเพื่อน คนรู้จัก หรือญาติเป็นหลัก นั่นคือ 98 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจ ซึ่ง Bitkom ได้สำรวจจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไปจำนวน 1,005 คนในเยอรมนี

แต่บางครั้งสัญลักษณ์หรือรูปภาพสีสันสดใสยังถูกนำไปใช้ในการสื่อสารเรื่องงานด้วยเหมือนกัน ชาวเยอรมัน 29 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าพวกเขาใช้อิโมจิในบริบททางวิชาชีพเมื่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน, 19 เปอร์เซ็นต์ใช้เพื่อสื่อสารกับผู้บังคับบัญชาด้วย, 12 เปอร์เซ็นต์ยังใช้อิโมจิเวลาสื่อสารกับร้านค้าออนไลน์หรือผู้ให้บริการ

“อิโมจิได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานทางวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต” แบร์นฮาร์ด โรห์เลเดอร์-ซีอีโอของ Bitkom กล่าว “มันสามารถเสริมสร้างการสื่อสารแบบดิจิทัลได้ แต่บางครั้งก็นำไปสู่ความสับสนได้ด้วย”

การสื่อสารด้วยอิโมจิไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไป อิโมจิสามารถทำให้เกิดความสับสนไปแล้วถึง 56 เปอร์เซ็นต์ และมากถึง 73 เปอร์เซ็นต์ในหมู่ผู้ใช้ที่มีอายุระหว่าง 16-29 ปี

อิโมจิมีแนวโน้มจะเป็นตัวช่วยในการแสดงออกได้ดีสำหรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอัตราส่วน 51 ต่อ 43 เปอร์เซ็นต์ และเกือบครึ่งหนึ่ง หรือราว 48 เปอร์เซ็นต์ มักจะตอบกลับด้วยอิโมจิหรือสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ความรู้สึกแทนการเขียนข้อความ

ในทางตรงข้าม ชาวเยอรมันผู้ตอบแบบสำรวจ 46 เปอร์เซ็นต์รู้สึกรำคาญ เมื่อคู่สนทนาตอบกลับข้อความโดยใช้อิโมจิเท่านั้น และมีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกว่า โลกนี้มีอิโมจิมากเกินไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กโจ๊ก' เตรียมบินเยอรมัน สอบผู้ต้องหาซื้อบริการเด็กพัทยา ยัดเงินตำรวจ 1 ล้านแลกปล่อยตัว

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้ประชุมหารือร่วมกับเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ทราบว่านายเจน ผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ได้หลบหนีไปที่ประเทศเยอรมันตั้งแต่เดือน ก.พ. และมีการคุมตัวดำเนินคดีตามกฎหมายของเยอรมัน

เปิดไทม์ไลน์ คดีผู้ต้องหาเยอรมันซื้อบริการเด็กต่ำกว่า 15 ปี ได้ประกันตัวออกนอกประเทศ

นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ประธานศาลฎีกาทราบข้อมูลตามที่ปรากฏข่าวแล้วไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ติดตามความคืบหน้าและให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเหตุและข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเขตภาค 2

แฟนสาวผู้ป่วย 'ฝีดาษลิง' ชาวเยอรมัน ผลตรวจเป็นลบ กลุ่มเสี่ยงยังไม่มีอาการ

นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร รายที่ 2 ของจังหวัดภูเก็ต เป็นชายชาวเยอรมัน เข้ามาพักกับแฟนสาวชาวไทย และครอบครัว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

เผาศพนักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน ขี่มอเตอร์ไซค์โดนกระบะชนดับ ตรวจพบติดโควิด

พ.ต.ต.สิทธิพงษ์ ทองพรหม สว.สถานีตำรวจท่องเที่ยวระนอง พร้อมด้วย นายอรุณ คนยืน ผู้แทนสถานทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย ได้นำร่างของ นายเคลาส์ เกบฮาร์ดท์ อายุ 57 ปี นักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน ติดเชื้อโควิด-19 มาทำการฌาปนกิจศพ ณ วัดสุวรรณมัทรี หรือวัดคูขุด