อิหร่านตัดสินโทษจำคุกเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 'นาร์เกส โมฮัมมาดี'

AFP

เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2023 ต้องโทษจำคุก โดยศาลอิหร่านได้ตัดสินนักเคลื่อนไหวว่า “กระทำการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐ”

ศาลอิหร่านพิพากษาจำคุก นาร์เกส โมฮัมมาดี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 1 ปี ฐานกระทำการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านระบอบการปกครอง มอสตาฟา นิลี-ทนายความของเธอแจ้งข่าวผ่านแพลตฟอร์ม X เมื่อวันอังคาร คำตัดสินมีพื้นฐานมาจากการเรียกร้องของโมฮัมมาดี ที่ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งรัฐสภา รวมถึงจดหมายที่ส่งถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสวีเดนและนอร์เวย์ และการแสดงความคิดเห็นของเธอเกี่ยวกับคดีของ ‘ดีนา กาลิบัฟ’

ดีนา กาลิบัฟ ผู้สื่อข่าวและนักศึกษาหญิง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวที่สถานีรถไฟใต้ดินในเตหะรานเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ด้วยข้อหาแต่งกายไม่เหมาะสม กลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานผ่านสื่อออนไลน์ว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยใส่กุญแจมือและล่วงละเมิดทางเพศเธอระหว่างการจับกุม กระทั่งในเวลาต่อมากาลิบัฟได้รับการปล่อยตัว หน่วยงานตุลาการของอิหร่านระบุเมื่อวันที่ 22 เมษายนบนเว็บไซต์ Misan-Online ว่า ดีนา กาลิบัฟไม่ได้ “ถูกข่มขืน” พร้อมกันนั้นเธอยังถูกตั้งข้อหา “ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ”

นาร์เกส โมฮัมมาดี นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ส่งข้อความเสียงจากเรือนจำเมื่อเดือนมีนาคม ประณาม “สงครามย่ำยีสตรีครั้งใหญ่” ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เธอปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการพิจารณาคดีต่อเธอในข้อหา “โฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐ” ที่ศาลปฏิวัติในเมืองหลวงเตหะราน

เมื่อเดือนที่แล้ว ครอบครัวของเธออ้างคำพูดของโมฮัมมาดีว่า เธอเรียกร้องให้เปิดการพิจารณาคดีของเธอต่อสาธารณะ เพื่อว่าพยานและผู้รอดชีวิตจะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ระบอบการปกครองอิสลามมุ่งทำร้ายผู้หญิง นอกจากนั้นโมฮัมมาดียังเรียกร้องให้ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบร่วมกันเปิดเผยประสบการณ์การถูกจับกุมและการล่วงละเมิดทางเพศโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อสาธารณะอีกด้วย

เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวอิหร่านวัย 52 ปีถูกจำคุกในเรือนจำเอวินอันโด่งดังในกรุงเตหะรานมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 และไม่ได้พบเจอสามีและลูกสองคนของเธอมานานหลายปีแล้ว เธอมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับการสวมผ้าคลุมศีรษะ รวมถึงโทษประหารชีวิตในอิหร่าน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางการอิหร่านได้เพิ่มการปราบปรามผู้หญิงที่ฝ่าฝืนข้อบังคับตามกฎเกณฑ์อิสลามที่เข้มงวดของประเทศ เช่น การแต่งกายและการสวมผ้าคลุมศีรษะ ซึ่งเริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามปี 1979 นอกจากนี้ยังมีมาตรการเฝ้าระวังด้วยกล้องวงจรปิด

ตั้งแต่เดือนกันยายน 1978 เป็นต้นมา มีการประท้วงครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของพระเจ้าชาห์ในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 8 กันยายน หรือที่เรียกว่า “แบล็ก ฟรายเดย์” มีผู้เสียชีวิต 88 รายระหว่างการประท้วง.   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.ปณิธาน วิเคราะห์สถานการณ์ตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลตอบโต้กลับอิหร่าน 

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ  โพสต์คลิปสัมภาษณ์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมข้อความว่า  อิสราเอลแถลงว่าการโจมตีอิหร่านสิ้นสุดลงแล้ว (พรุ่งนี้ต้องจับตาดูการเจรจาหยุดยิงและแลกเปลี่ยนตัวประกันรอบใหม่ระหว่างฮามาสและอิสราเอลที่ Doha)

อิสราเอลถล่มกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ครั้งใหญ่ด้วยเครื่องบินขับไล่หลายสิบลำ

กองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ทำการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ต่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่สนับสนุนอิหร่านทางตอนใต้ของเลบา

สั่งจำคุก 3 ปี 4 เดือน 'สมหญิง บัวบุตร' อดีต สส.เพื่อไทย คดีสนามฟุตซอลฉาว

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.18/2565 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นางสมหญิง บัวบุตร อดีต สส.อำนาจเจริญ ,นายชินภัทร ภูมิรัตน ,

ศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 'นิว จตุพร' 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดีหมิ่นเบื้องสูง

ที่ศาลอาญา กรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดูหมิ่นสถาบัน หมายเลขดำ อ.1265/2564 ที่พนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ฟ้องน.ส.จตุพร แซ่อึง หรือ นิว อายุ 25 ปี แนวร่วมกลุ่มบุรีรัมย์ปลดแอก

'กรพด' ลั่น! ไม่เคยเข้าคุก ยินดีให้กกต.ตรวจสอบ เล็งฟ้องคนทำเสียหาย

ที่รัฐสภา ว่าที่ พ.ต.กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ สว.กลุ่ม18 สื่อสารมวลชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)สั่งสอบห