บอริส พิสโทริอุส-รัฐมนตรีกลาโหมของเยอรมนี ต้องการฟื้นฟูการขึ้นทะเบียนของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับราชการทหารซึ่งเคยถูกระงับไปเมื่อ 13 ปีที่แล้วสำหรับรูปแบบการเกณฑ์ทหารใหม่ นอกจากนี้นักการเมืองสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) ยังใช้มาตรการบังคับให้ชายหนุ่มแจ้งข้อมูลในแบบสอบถามเกี่ยวกับความเต็มใจและความสามารถในการรับใช้ราชการทหารของพวกเขาด้วย
ข้อเสนอของนักการเมืองพรรค SPD ถือเป็นก้าวแรกสู่ความเป็นไปได้ในการนำมาตรการรับราชการทหารภาคบังคับกลับมาใช้ใหม่ ขณะเดียวกันพิสโทริอุสต้องการดำเนินการตามขั้นตอนที่ดูเหมือนจะเป็นไปได้จริงในช่วงระยะเวลาของกฎหมายนี้จากข้อมูลของสื่อเยอรมัน แผนการของพิสโทริอุสจำเป็นต้องมีการขยายกรอบกฎหมายการเกณฑ์ทหารสำหรับชายหนุ่ม
นักวางแผนทางทหารประเมินว่า ในแต่ละปีจะต้องมีคน 400,000 คนกรอกแบบสอบถาม และคาดการณ์ว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนนั้นอาจแสดงความสนใจ โดยมีแผนจะสั่งผู้สมัคร 40,000 คนเพื่อทำการทดสอบ ขณะนี้ทางกองทัพมีความสามารถในการฝึกอบรมทหารเกณฑ์ได้ 5,000-7,000 คน แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการฝึกอบรมจะใช้เวลาหกหรือสิบสองเดือน
บอริส พิสโทริอุสรายงานข้อเสนอเกี่ยวกับแผนการของเขาให้คณะกรรมการรัฐสภากลาโหมทราบในเช้าวันพุธ และในช่วงบ่ายเขาได้เปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณะ
เมื่อเร็วๆ นี้มีการคัดค้านอย่างชัดเจนต่อแผนการรื้อฟื้นการรับราชการทหารภาคบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางส่วนของพรรค SPD เอง ลาร์ส คลิงไบล์-หัวหน้าพรรค SPD กล่าวยืนยันว่าเขายังสนับสนุนการสรรหาบุคลากรทางทหารโดยสมัครใจต่อไป “ผมคิดว่าแนวทางการสรรหาด้วยความสมัครใจจะทำให้บุนเดสแวร์ (กองทัพเยอรมัน) น่าดึงดูดใจมากกว่า” ส่วนโอมิด นูริปูร์-หัวหน้าพรรคกรีน กล่าวอย่างชัดเจนเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วว่า “ผมไม่เชื่อว่าเราจำเป็นต้องมีการเกณฑ์ทหาร” นอกจากนี้ยังมีเสียงคัดค้านการคัดเลือกกำลังพลภาคบังคับจากพรรคเสรีประชาธิปไตยเยอรมนี (FDP) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นกัน
ตามแบบจำลองของพิสโทริอุส ทุกคนจะต้องตอบแบบสอบถามและเข้ารับการทดสอบเมื่อถูกเรียกตัว มีรายงานว่าเขาเห็นชอบที่จะเปิดทางสำหรับการรับราชการทหารภาคบังคับ แม้ในยามสงบ หากไม่สามารถสรรหาทหารเกณฑ์ได้เพียงพอ
การรับราชการทหารภาคบังคับในเยอรมนีเคยถูกระงับไปเมื่อปี 2011 ภายใต้รัฐมนตรีกลาโหม คาร์ล-เทโอดอร์ ซู กุตเทนแบร์ก (สังกัดพรรค CSU ซึ่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในขณะนั้น) ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และทำให้โครงสร้างการรับราชการทหารภาคบังคับเกือบทั้งหมดสลายไปด้วย
แม้จะขาดแคลนกำลังพล แต่ในปีที่แล้วบุนเดสแวร์ก็ลดจำนวนทหารลงเหลือ 181,500 นาย บอริส พิสโทริอุสจึงรื้อฟื้นแบบจำลองการรับราชการทหารภาคบังคับมาตรวจสอบอีกครั้ง ภายใต้แรงกดดันจากสงครามรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน เขาได้ชี้แจงอย่างชัดเจนในกระทู้ของรัฐบาลว่า เขาไม่หวังจะพึ่งพาความสมัครใจเพียงอย่างเดียว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน
'รองอ้วน' เมินกระแสต้าน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงค์ชาติ อ้างเป็นไปตามข้อกฎหมาย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานว่าคณะกรรมการคัดเลื
'ภูมิธรรม' เชื่อ ปม 'เขากระโดง' ไม่สร้างขัดแย้ง 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ว่าไปตามกฎหมาย
ที่ทำเนียบนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณี นายสุริยะ จึงรุ่งเรือ
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
'สหายอ้วน' โยนถาม 'ป.ป.ช.- ตร' ปมขอเวชระเบียน 'ทักษิณ' ชั้น 14 รพ.ตรวจ
ที่ทำเนียบรัฐบาลนาย ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะกำกับดูแล คณะกรรมการนโยบายตำรว
'รมว.กห.' เรียกถกสาง 'เรือดำน้ำ' ต้องตัดสินใจระวังอย่างยิ่งยวด
'ภูมิธรรม' เรียกถกเรือดำน้ำ รับต้องระวังอย่างยิ่งยวดในการตัดสินใจ เหตุมีความเห็นแตกสองฝ่าย พยายามทำให้จบยุคที่คุมกลาโหม