ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมอินโดนีเซียเพิ่มเป็น 50 ราย ยังสูญหายอีก 27 คน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถค้นพบศพเพิ่มเติมได้ในวันอังคาร หลังน้ำท่วมฉับพลันและลาวาเย็นที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟมาราปีบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 50 ราย และสูญหายอีก 27 คน

ผู้คนเดินลุยโคลนหลังเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันและลาวาเย็นไหลบ่าในเมืองทานาห์ดาตาร์ จังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม (Photo by Ade Yuandha / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 กล่าวว่า ฝนมรสุมที่ตกหนักหลายชั่วโมงส่งผลให้หินภูเขาไฟขนาดใหญ่จากภูเขาไฟมาราปีแตกกระจายและร่วงหล่นสู่พื้นดินเบื้องล่างของ 6 เขตบนเกาะสุมาตราเมื่อเย็นวันเสาร์ ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดน้ำท่วมถนน, บ้านเรือน และมัสยิด

ล่าสุด กระบวนการฟื้นฟูได้เริ่มต้นขึ้นแล้วด้วยการบิ๊กคลีนนิ่งอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะที่หน่วยกู้ภัยใช้โดรนเพื่อช่วยในการค้นหาผู้ที่ยังคงสูญหาย รวมทั้งใช้รถขุดหรือแม้กระทั่งมือเปล่าในความพยายามค้นหาผู้รอดชีวิตจากแหล่งน้ำและซากปรักหักพัง

"สำหรับการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน เราได้เคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางและเศษซากความเสียหายเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ภัยพิบัติ หลังจากนี้ เราจะไปยังศูนย์พักพิงเพื่อให้แน่ใจว่าชุมชนที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลอย่างดี" ซูฮายันโต หัวหน้าหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (BNPB) กล่าวกับผู้สื่อข่าว

หน่วยงานฯได้อัปเดตยอดผู้เสียชีวิตจาก 44 รายเป็น 50 ราย และกล่าวว่ายังมีผู้สูญหายอีก 27 คน ส่วนยอดผู้บาดเจ็บอยู่ที่ 37 คน นอกจากนี้ยังมีการอพยพประชาชนมากกว่า 3,300 คนออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว

เจ้าหน้าที่เตือนว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้นอีก ในขณะที่การค้นหาผู้สูญหายหลายสิบคนยังคงดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ การค้นหาเป็นเรื่องเร่งด่วนเนื่องจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยมีเวลาเพียง 6 วันเท่านั้นในการตามหาผู้รอดชีวิต

ปัจจุบัน การส่งความช่วยเหลือดำเนินการโดยใช้ทั้งทางอากาศและทางบก ซึ่งบางแห่งเจ้าหน้าที่ต้องเร่งสร้างสะพานฉุกเฉิน หลังจากน้ำท่วมและลาวาเย็นตัดการเข้าถึงถนนบางเส้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด

หน่วยงานฯยังกล่าวอีกว่า บ้านเรือน 71 หลังถูกน้ำซัดถล่มจนพังเสียหายทั้งหมด และ 125 หลังได้รับความเสียหายปานกลางจากน้ำท่วมและลาวาเย็นที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟ

ลาวาเย็น (Lahar-ลาฮาร์) เป็นส่วนผสมจากวัสดุภูเขาไฟ เช่น ขี้เถ้า, ทราย และกรวดที่ถูกน้ำฝนชะล้างจนไหลลงมาตามเนินของภูเขาไฟ

อินโดนีเซียมีแนวโน้มที่จะเกิดดินถล่มและน้ำท่วมรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวโทษการตัดไม้ทำลายป่าว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภัยพิบัติเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะต้นไม้ทำหน้าที่ป้องกันน้ำท่วมตามธรรมชาติและชะลออัตราของน้ำที่ไหลลงสู่เบื้องล่าง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตะลึง! ยึดภูเขาหัวโล้นป่าต้นน้ำ นายทุนบุกรุกสร้างถนน ขนไม้เถื่อน ขุดบ่อดินขาย ทำสวนทุเรียน

กอ.รมน.ชุมพร สนธิกำลังตรวจสอบพื้นที่ป่าต้นน้ำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก ตะลึงแทบกลายเป็นเขาหัวโล้น พบบุกรุกขยายพื้นที่เพิ่ม ใช้รถแบกโฮขุดบ่อดินขาย ปรับทำถนนขึ้นภูเขา สร้างที่พัก ขุดสระน้ำ ขนาดใหญ่ ตัดต้นไม้เกือบเหี้ยน

บุกจับมือลักลอบตัดไม้ในเขตป่าสงวน จ.ยะลา อ้างซื้อที่ปลูกยาง-ทุเรียน แต่ไม่มีเอกสาร

เจ้าหน้าที่สนธิกำลังบุกจับบุคคล โค่นป่า ตัดไม้ใหญ่ เขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากาบัง ต้นน้ำแม่น้ำเทพา วันที่ 14 ก.ย.66 ภายใต้การสั่งการอำนวยการของ ผอ.รมน.ภาค 4

จ่อออกหมายจับ 'มอดไม้' รุกป่าสงวนเมืองคอน หลังพบเขาหัวโล้น 124 ไร่

นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกประชุมด่วนฝ่ายความมั่นคงจังหวัด รอง.ผอ.รมน.จังหวัด น.ศ. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ว่าฯนครศรี ขึ้น ฮ. ตรวจสอบเขาหัวโล้น สั่งเอาผิดเด็ดขาด จนท.เอี่ยวบุกรุกตัดไม้

นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย พลตำรวจตรี สมชาย ซื่อต่อตระกูล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ฝ่ายทหาร) และผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด