ตำรวจปินส์บุกทลายแหล่งอาชญากรรมไซเบอร์ ช่วยหลายร้อยคนจากการค้ามนุษย์

ชาวต่างชาติหลายร้อยคนถูกช่วยไว้ได้จากแก๊งค้ามนุษย์ หลังตำรวจฟิลิปปินส์บุกทลายศูนย์บัญชาการอาชญากรรมไซเบอร์ในกรุงมะนิลา

เจ้าหน้าที่ตำรวจฟิลิปปินส์กำลังพูดคุยกับชาวต่างชาติที่ช่วยเหลือไว้ได้หลังการบุกตรวจค้นอาคารหลังหนึ่งในเมืองบัมบัง จังหวัดตาร์ลัค ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม มีผู้ต้องสงสัย 8 คนถูกจับกุมในข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยวและค้ามนุษย์ (Photo by Philippines' Presidential Anti-Organized Crime Commission (PAOCC) / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 กล่าวว่า ตำรวจฟิลิปปินส์บุกทลายแหล่งกบดานซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ในกรุงมะนิลา และพบชาวต่างชาติหลายร้อยคนถูกบังคับให้ทำงานในศูนย์ดังกล่าว

ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้จากที่เกิดเหตุจำนวน 8 คน โดยได้เบาะแสจากข้อมูลของชายชาวเวียดนามคนหนึ่งซึ่งหลบหนีออกจากศูนย์แห่งนี้และไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่

หน่วยงานตำรวจมะนิลาแถลงว่า พวกเขาสามารถหยุดยั้งปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์และช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ที่ถูกบังคับให้ดำเนินการดังกล่าวไว้ได้

"กลุ่มชาวต่างชาติที่ได้รับการช่วยเหลือให้ข้อมูลว่า พวกเขาถูกบังคับให้ทำการหลอกลวงด้วยความรักในรูปแบบโรแมนซ์สแกม, ล่อลวงให้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล และกิจกรรมหลอกลวงประเภทอื่นๆ โดยกลุ่มอาชญากรยึดหนังสือเดินทางของพวกเขาไว้ จึงทำให้ไม่สามารถหลบหนีไปไหนได้" หน่วยงานฯกล่าว

ทั้งนี้ ตำรวจพบชาวจีน 432 คน, ชาวฟิลิปปินส์ 371 คน, ชาวเวียดนาม 57 คน, ชาวมาเลเซีย 8 คน, ชาวไต้หวัน 3 คน, ชาวอินโดนีเซีย 2 คน และชาวรวันดา 2 คน ในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นอาคารเอนกประสงค์ขนาด 10 เฮกตาร์ (62.5 ไร่) ในเขตบัมบัง และจดทะเบียนเป็นบริษัทเกมอินเทอร์เน็ต

ศูนย์หลอกลวงออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในระยะหลัง โดยกลุ่มอาชญากรได้ล่อลวง, ลักพาตัว หรือบีบบังคับผู้คนให้ดำเนินกิจกรรมออนไลน์เพื่อหลอกลวงเหยื่อ

ข้อมูลของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติระบุว่า อุตสาหกรรมการหลอกลวงกำลังสร้างความเสียหายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเทียบเท่ากับมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมนี้มักเดินทางข้ามภูมิภาคไปยังดินแดนหนึ่งในรูปแบบการล่อลวงด้วยความรักปลอมๆหรือล่อลวงด้วยการเสนองานที่ได้ค่าตอบแทนสูง แต่สุดท้ายกลับพบว่าตนเองถูกบังคับให้หลอกลวงคนอื่นให้นำเงินเข้าสู่แพลตฟอร์มการลงทุนปลอมและกลอุบายอื่นๆ และมักจะถูกขู่ทำร้ายร่างกายหรือลงโทษในหลายรูปแบบ หากไม่ทำตาม

ล่าสุด ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 8 คนได้รับการตั้งข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยวและการค้ามนุษย์ โดยรายงานระบุว่ากลุ่มคนเหล่านี้อาจเป็นชาวจีน

นอกจากนี้ ตำรวจยังระบุว่าชาวฟิลิปปินส์ที่พบในสถานที่ดังกล่าว จะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ตั้งข้อหา เนื่องจากพวกเขาอยู่ที่นั่นเพียงเพื่อทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงหรือรักษาความปลอดภัย และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชญากรรม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โบลิเวียออกหมายจับอดีตประธานาธิบดี ‘เอโว โมราเลส’

การแย่งชิงอำนาจในโบลิเวียกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ทางการกำลังออกหมายจับอดีตประธานาธิบดี เอโว โมราเลส ด้วยข้อ

มหาดไทยออกประกาศกระทรวง 2 ฉบับบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ลดปัญหาค้ามนุษย์

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างเตรี

รัฐบาลกางแผนปี 68 ไล่ตรวจสอบ 'นอมินี' 2.6 หมื่นราย เน้นธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมรีสอร์ต

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รายงานผลการตรวจสอบธุรกิจที่มีลักษณะนอมินี

ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

19 เหยื่อค้ามนุษย์ วอนนายกฯช่วยด่วน ถูกกักขังทรมานอยู่ในแหล่งอาชญากรรมริมน้ำเมยฝั่งพม่า

ความคืบหน้ากรณีที่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ (Civil Society Network for Victim Assistance in Human Trafficking) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และหน่วยงานต่างๆของไทย

จี้ไทยเร่งประสานช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ 110 รายในเมืองเมียวดี

เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และหน่วยงานต่างๆของไทย อ