แอฟริกาใต้พบติดเชื้อ 'โอมิครอน' เพิ่มภูมิต้านทาน 'เดลตา' ได้

ผลการวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้บ่งชี้ว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา เนื่องจากพบว่าการติดเชื้อโอมิครอนช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานสายพันธุ์เดลตาได้

Getty Images

รอยเตอร์รายงานเมื่อวันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2564 อ้างผลการศึกษาวิจัยโดยคณะนักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้ ซึ่งยังรวบรวมข้อมูลจากคนกลุ่มเล็กๆ และยังไม่ผ่านการตรวจทานโดยผู้รู้เสมอกัน แต่ถือเป็นข่าวดีที่พบว่าผู้ที่ติดไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ได้พัฒนาภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตามากขึ้นด้วย

ผลที่ได้นี้มาจากการวิเคราะห์บุคคล 33 คน ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้วและที่ยังไม่ได้ฉีด ที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในแอฟริกาใต้

รายงานกล่าวว่า แม้ผู้เขียนผลการวิจัยจะพบว่า ภูมิต้านทานต่อโอมิครอนเพิ่มขึ้น 14 เท่าในเวลา 14 วัน แต่ก็พบว่าภูมิต้านต่อเดลตาเพิ่มขึ้น 4.4 เท่าด้วยเช่นกัน การตรวจพบภูมิต้านทานต่อเดลตาที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อโอมิครอนอาจส่งผลต่อการลดความสามารถของเดลตาที่จะแพร่เชื้อติดบุคคลนั้นซ้ำ

นักวิจัยคณะนี้กล่าวว่า ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการที่โอมิครอนกำลังแทนที่เดลตา เพราะโอมิครอนสามารถดึงภูมิคุ้มกันที่ต้านทานเดลตา จนทำให้การติดเชื้อเดลตาซ้ำมีโอกาสน้อยลง อย่างไรก็ดี ความหมายโดยนัยของการแทนที่ยังขึ้นอยู่กับว่า โอมิครอนสามารถก่อโรคได้น้อยกว่าเดลตาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น อุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงโควิด-19 จะลดลง และการติดเชื้ออาจจะก่อความรบกวนต่อบุคคลและสังคมลดน้อยลง

อเล็กซ์ ซีกัล ศาสตราจารย์จากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งแอฟริกา กล่าวผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันจันทร์ว่า ถ้าหากโอมิครอนก่อโรคได้น้อยลงเหมือนอย่างที่ดูจะเป็นเช่นนั้นจากประสบการณ์ของแอฟริกาใต้เอง สิ่งนี้จะช่วยให้เราขจัดเดลตาออกไปได้

การศึกษาของแอฟริกาใต้ก่อนหน้านี้ พบว่าผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีอัตราการรักษาในโรงพยาบาลหรือเป็นโรครุนแรงน้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา แม้ผู้เขียนรายงานจะกล่าวกันว่า บางส่วนอาจเป็นเพราะภูมิคุ้มกันในหมู่ประชากรมีสูง

โอมิครอนถูกตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้และฮ่องกงเมื่อเดือนพฤศจิกายน แต่ตอนนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และคุกคามระบบโรงพยาบาลในบางประเทศที่อาจรองรับไม่ไหว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้