รัฐสภากรีซผ่านร่างกฎหมาย อนุญาตให้มีการสมรสระหว่างเพศเดียวกันได้ ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของผู้สนับสนุนสิทธิ LGBT ซึ่งได้รับการต้อนรับด้วยเสียงเชียร์จากผู้คนในรัฐสภาและผู้คนบนท้องถนนในกรุงเอเธนส์ กรีซเป็นประเทศแรกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ที่รับรองการสมรสเท่าเทียม
เมื่อเย็นวันพฤหัสบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรข้ามพรรคส่วนใหญ่ 176 คนจากทั้งหมด 300 คนลงคะแนนสนับสนุนร่างกฎหมายที่เคยเสนอ ในฉันทามติข้ามพรรคซึ่งหาได้ยากสำหรับกรีซ ทั้งสมาชิกรัฐสภาฝ่ายซ้าย ตลอดจนสมาชิกรัฐสภาฝ่ายสังคมประชาธิปไตยและอนุรักษ์นิยมก็สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว
นับเป็นชัยชนะของนายกรัฐมนตรี คิเรียคอส มิตโซทาคิส หลังจากถูกต่อต้านจากพรรค Nea Dimokratia (ประชาธิปไตยใหม่) สายอนุรักษ์นิยมของเขาเอง “ในกรีซ ไม่มีใครควรรู้สึกเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง วันนี้จึงเป็นวันแห่งความสุข” เขากล่าวภายหลังร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา “เราไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ตรงนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมานานแล้ว การเข้าถึงการแต่งงานอย่างเท่าเทียมช่วยปรับปรุงชีวิตของพลเมืองของเราหลายคน” พลเมืองที่ก่อนหน้านี้เคย “ไร้ตัวตน” เวลานี้สามารถปรากฏให้เห็นได้
จนถึงขณะนี้มีเพียงสิ่งที่เรียกว่าการจดทะเบียนคู่ครองเท่านั้นที่เป็นไปได้ในกรีซ ด้วยกฎหมายใหม่ คู่สมรสรักร่วมเพศจะมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ พวกเขาสามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้ และทั้งคู่จะได้รับการดูแล แม้ว่าเด็กจะมาจากคู่ครองคนใดคนหนึ่งก็ตาม อย่างไรก็ดี กฎหมายยังไม่อนุญาตให้แม่ที่ตั้งครรภ์แทนให้กำเนิดลูกสำหรับคู่รักร่วมเพศ
จากการสำรวจล่าสุด สังคมกรีซยังมีความเห็นต่างกันเมื่อพูดถึงประเด็นการแต่งงานของชาวเกย์ เมื่อเร็วๆ นี้ผู้สนับสนุนและฝ่ายตรงข้ามยังมีคะแนนเท่ากัน การผ่านกฎหมายใหม่ครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับสิทธิมนุษยชน สำหรับความเท่าเทียมกัน และสำหรับสังคมชาวกรีซ
ถึงกระนั้นยังมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากกลุ่มคริสตจักรกรีกออร์โธดอกซ์ อธิการบางคนถึงกับข่มขู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภูมิภาคของตนให้ “คิดให้รอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจทำ” คริสตจักรออร์โธดอกซ์ได้รับการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของกรีซในฐานะศาสนาหลัก และมีอิทธิพลอย่างมากเหนือเขตเลือกตั้งที่เลื่อมใสในศาสนา
อันโตนิส ซามาราส-อดีตนายกรัฐมนตรีฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมพรรคของมิตโซทาคิส ก็ต่อต้านการสมรสเท่าเทียมเช่นกัน ในรัฐสภาเขาอธิบายว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นอันตราย เนื่องจากเป็นการลิดรอนสิทธิที่จะมีบิดามารดาที่มีเพศต่างกัน
ขณะเดียวกันเขาก็ประกาศว่า การสมรสของคนเพศเดียวกันไม่ใช่สิทธิมนุษยชน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลชวนคนไทย นับถอยหลังอีก 2 วัน ร่วมฉลอง 'ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม'
“รัดเกล้า” ชวนคนไทย นับถอยหลังอีก 2 วัน 18 มิ.ย. ร่วมฉลอง “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ใกล้เข้าเส้นชัย สู่ความเป็นจริงที่สมบูรณ์
'อุ๊งอิ๊ง' โวลั่นดันกฎหมาย 'สมรสเท่าเทียม' ตั้งแต่ยุคไทยรักไทย แต่ถูกรัฐประหารเสียก่อน
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งระหว่างการเดินขบวนพาเหรดในงาน Bangkok Pride Festival 2024 ว่า ในฐานะที่เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอย่างเต็มตัว ก็เคยให้สัมภาษณ์อยู่เสมอว่าการที่คนเรารักกัน
คนบันเทิงเตรียมสะบัดธงสีรุ้ง ชวน LGBTQ+ ทั่วโลกรวมตัวที่ไทย 1 มิถุนายนนี้
นฤมิตไพรด์ จับมือ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมพันธมิตรภาคประชาสังคมและภาคเอกชน จัดแถลงข่าวเตรียมความพร้อมที่จะเนรมิต ถนนพระราม 1 เป็นถนนสีรุ้งแห่งความเท่าเทียมใจกลางกรุงในงาน “บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024” (Bangkok Pride Festival 2024)
'ครูหยุย' มั่นใจร่างพรบ.สมรสเท่าเทียม คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน
’ครูหยุย‘ มั่นใจ ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน เหตุตัวบทกฎหมายไม่มีอะไรยาก มองเกณฑ์อายุไม่เป็นปัญหา ส่วนศาสนาไม่ได้บังคับ
ผ่านแล้ว พรบ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิเบื้องต้น LGBTQ อายุ 18 ปี หมั้น-สมรสได้
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.)พ.ศ…. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม