เจ้าหน้าที่กู้ภัยตุรเคียหลายร้อยคนเร่งค้นหาคนงานในเหมืองทองคำ 9 คนซึ่งถูกกลืนหายไปหลังเกิดดินถล่มขนาดใหญ่ฝังทับร่างอย่างไม่ทันตั้งตัว
ภาพกองดินถล่มครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบๆ เหมืองทองคำในเขตอิลิคของจังหวัดเอร์ซินจาน ทางตะวันออกของประเทศตุรเคีย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ มีคนงานสูญหาย 9 คนใต้กองดินดังกล่าว (Photo by DHA (Demiroren News Agency) / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 กล่าวว่า เกิดเหตุเหมืองทองคำถล่มในเขตอิลิคของจังหวัดเอร์ซินจาน ทางตะวันออกของประเทศตุรเคีย และมีคนงานสูญหายใต้กองดินขนาดใหญ่ 9 คน
อาลี เยร์ลิคายา รัฐมนตรีมหาดไทยตุรเคียกล่าวว่า ยังไม่มีความคืบหน้าในการค้นหาคนงานทั้ง 9 ขณะที่คนงานอีกราว 650 คนปลอดภัยดี
ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกล่าวว่า การค้นหามีความซับซ้อนเนื่องจากมีไซยาไนด์จำนวนมากอยู่ในพื้นดิน ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่ใช้ในการสกัดทองคำ จึงจำเป็นต้องรออุปกรณ์พิเศษในการดำเนินการ ท่ามกลางความกังวลว่าผู้สูญหายอาจรอไม่ได้นาน
จังหวัดเอร์ซินจานตั้งอยู่บนฝั่งทางเหนือของแม่น้ำคาราซู ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำยูเฟรติสที่ไหลผ่านตุรเคียไปจนถึงซีเรียและอิรัก
กระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าได้ปิดกั้นลำธารรอบๆบริเวณที่เกิดเหตุเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแม่น้ำยูเฟรติส โดยกองดินขนาดใหญ่จากเหมืองดังกล่าวที่ไหลไปทางแม่น้ำ ประกอบด้วยวัสดุที่ถูกชะล้างด้วยไซยาไนด์และกรดซัลฟิวริก
เมื่อ 2 ปีก่อน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพยายามกดดันให้มีการปิดเหมืองทองคำแห่งนี้อย่างถาวร หลังเกิดการรั่วไหลของไซยาไนด์ ซึ่งเหมืองดังกล่าวถูกปิดไปเพียงแค่สองสามเดือนแต่ก็กลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้งหลังมีการจ่ายค่าปรับ ทำให้เกิดกระแสต่อต้านด้วยความไม่พอใจจากหลายฝ่ายที่ตำหนิความย่อหย่อนของรัฐบาล
อนาโกลด์ บริษัทเอกชนที่ดูแลเหมืองอิลิคกล่าวว่า กำลังดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากหายนะครั้งนี้ และจะระดมทุกวิถีทางเพื่อให้ความกระจ่างแก่เหตุการณ์นี้อย่างเร่งด่วน
ขณะที่กระทรวงยุติธรรมตุรเคียได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ 4 คนเริ่มสอบสวนการดำเนินงานของเหมืองดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ ตุรเคียมีแนวโน้มที่จะเกิดดินถล่มร้ายแรงมากขึ้น เนื่องจากมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในเหมืองหลายครั้งในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยครั้งล่าสุดเกิดเหตุระเบิดมีเทนที่เหมืองถ่านหินทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ คร่าชีวิตผู้คนไป 42 รายเมื่อเดือนตุลาคม 2565.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
25 จังหวัด ศปช.เตือนเฝ้าระวัง 'ดินถล่ม - น้ำป่า'
ศปช.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี บ่ายนี้น้ำลดปกติแล้ว ส่งทุกหน่วยงานเข้าฟื้นฟู ส่วนอากาศจากจีนส่งไทยแปรปรวนยังคงต้องแจ้งเตือน 25 จังหวัดระวังดินถล่มและน้ำป่า ทยอยจ่ายเงินเยียวยา ขณะที่เชียงรายล้างโคลนบ้านเรือน ปชช.พรุ่งนี้เสร็จเรียบร้อย
'ศปช.' สรุป 5 ข้อหลัก น้ำท่วมเชียงใหม่-เชียงราย ยันเป็นเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์
เช็กเลย! พื้นที่ไหนต้องเฝ้าระวังภัยอะไร ปภ.แจ้งเตือนสาธารณภัย
เพจ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 25 ก.ย. 2567 ระบุว่า
ปภ.พังงา ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน 'ดินถล่ม-ตลิ่งทรุด' หลังฝนตกหนัก
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายพีรพัฒน์ เงินเจริญ นายอำเภอเมืองพังงา นายสงบ สะโตน หัวหน้าสำนักงาน ปภ.จังหวัดพังงา
ฝนถล่มภูเก็ต เฝ้าระวังดินโคลนถล่มตำบลกะรน ผวาซ้ำรอยจุดเดิม
เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ตำบลกะรนหลายจุด และได้อพยพประชาชน พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลกะรนอำเภอเมือง
'อนุทิน' เตรียมรับมวลน้ำหลากเข้าอีสาน เร่งระบายลงโขง ลุยเยียวยาเชียงราย
'อนุทิน' เตรียมรับมวลน้ำหลากเข้าพื้นที่ภาคอีสาน เร่งระบายลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด เดินหน้าเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย จ่ายชดเชยโรงแรมหลังให้ประชาชนพักฟรี