มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 รายและบาดเจ็บ 31 คนจากเหตุดินถล่มหมู่บ้านบริเวณเหมืองทองแห่งหนึ่งในพื้นที่ภูเขาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์
ภาพถ่ายทางอากาศในบริเวณที่เกิดดินถล่มในจังหวัดดาเวา เด โอโร บนเกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 รายและบาดเจ็บ 31 คน (Photo by Renante Naparan / AFPTV / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 กล่าวว่า ฝนที่ตกหนักในฟิลิปปินส์เป็นเหตุให้เกิดดินถล่มที่เมืองมาซารา ในจังหวัดดาเวา เด โอโร บนเกาะมินดาเนา
กองดินมหาศาลจากภูเขาไหลลงมาถล่มทับทำลายบ้านเรือน, รถบัสขนาด 60 ที่นั่ง 3 คัน และรถจิ๊ปนีย์ขนาด 36 ที่นั่ง 1 คัน ที่หมู่บ้านในบริเวณเหมืองทองแห่งหนึ่ง
รถบัสและรถจี๊ปนีย์ซึ่งทำหน้าที่รับส่งคนงาน จอดอยู่ด้านนอกเหมืองทองคำที่ดำเนินการโดยบริษัทเอเพ็กซ์ ไมนิ่ง (Apex Mining) ของฟิลิปปินส์ ก่อนเกิดเหตุดินถล่มทับที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 รายและบาดเจ็บ 31 คน
ด้านเจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งขุดดินโคลนเพื่อค้นหาผู้สูญหาย 48 คนซึ่งในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 20 คนที่ติดอยู่ภายในยานพาหนะ ตามรายงานที่ระบุว่าตอนเกิดดินถล่มลงมา มีผู้คนอยู่บนยานพาหนะอย่างน้อย 28 คน แต่อีก 8 คนสามารถหลบหนีออกไปทางหน้าต่างได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่โคลนจะท่วมตัว
ทั้งนี้ ทีมกู้ภัยถูกระดมมาจากทั่วภูมิภาคเพื่อช่วยค้นหาผู้ประสบภัย เนื่องจากการขุดด้วยรถแบ็คโฮอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนที่ติดอยู่ใต้โคลนที่ปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ สิ่งที่พึ่งพาได้ตอนนี้จึงมีแต่การใช้แรงงานคนในการขุดเท่านั้น
หน่วยงานกู้ภัยระบุว่า มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในหมู่บ้านไม่นานหลังเกิดดินถล่ม ทำให้ภารกิจค้นหาถูกระงับในเวลาเที่ยงคืน เพราะอันตรายเกินกว่าที่จะทำต่อไป และจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งในเวลากลางวัน
ขณะเดียวกัน หลายร้อยครัวเรือนจากมาซาราและหมู่บ้านใกล้เคียงอีก 4 แห่งถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านเพื่อมาหลบภัยชั่วคราวที่ศูนย์พักพิงฉุกเฉิน
ดินถล่มถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วฟิลิปปินส์ เนื่องมาจากมีภูมิประเทศเป็นภูเขา, ฝนตกหนัก และการตัดไม้ทำลายป่าเป็นวงกว้างจากการทำเหมือง, เกษตรกรรมแบบตัดแล้วเผา และการลักลอบตัดไม้
ก่อนหน้านี้ ฝนได้พัดถล่มพื้นที่บางส่วนของเกาะมินดาเนาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานภัยพิบัติแห่งชาติระบุในข้อมูลล่าสุดว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 18 รายจากเหตุดินถล่มและน้ำท่วมในภูมิภาค ในขณะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและร่องความกดอากาศต่ำยังคงทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
25 จังหวัด ศปช.เตือนเฝ้าระวัง 'ดินถล่ม - น้ำป่า'
ศปช.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี บ่ายนี้น้ำลดปกติแล้ว ส่งทุกหน่วยงานเข้าฟื้นฟู ส่วนอากาศจากจีนส่งไทยแปรปรวนยังคงต้องแจ้งเตือน 25 จังหวัดระวังดินถล่มและน้ำป่า ทยอยจ่ายเงินเยียวยา ขณะที่เชียงรายล้างโคลนบ้านเรือน ปชช.พรุ่งนี้เสร็จเรียบร้อย
'ศปช.' สรุป 5 ข้อหลัก น้ำท่วมเชียงใหม่-เชียงราย ยันเป็นเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์
เช็กเลย! พื้นที่ไหนต้องเฝ้าระวังภัยอะไร ปภ.แจ้งเตือนสาธารณภัย
เพจ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 25 ก.ย. 2567 ระบุว่า
ปภ.พังงา ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน 'ดินถล่ม-ตลิ่งทรุด' หลังฝนตกหนัก
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายพีรพัฒน์ เงินเจริญ นายอำเภอเมืองพังงา นายสงบ สะโตน หัวหน้าสำนักงาน ปภ.จังหวัดพังงา
ฝนถล่มภูเก็ต เฝ้าระวังดินโคลนถล่มตำบลกะรน ผวาซ้ำรอยจุดเดิม
เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ตำบลกะรนหลายจุด และได้อพยพประชาชน พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลกะรนอำเภอเมือง