'Takanakuy' ประเพณีต่อยกันช่วงวันคริสต์มาสในเปรู

AFP

ทางตอนใต้ของเปรู ในจังหวัดชุมบีวิลกาส มีการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสด้วยประเพณีที่เต็มไปด้วยสีสัน คนท้องถิ่นพื้นเมืองจะไปรวมตัวกันในภูมิภาคแอนเดียนใกล้กับกุสโก ที่ระดับความสูงประมาณ 3,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

คนท้องถิ่นแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองหลากสีสัน เต้นรำไปกับดนตรีพื้นเมือง กิน ดื่ม และต่อสู้กัน ใช่แล้ว…คุณอ่านไม่ผิด ไฮไลท์ของพิธี ‘ตากานากุย’ คือการดวลหมัดกันของชาวเปรู การทะเลาะวิวาททางกายภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

‘ตากานากุย’ เป็นคำจากภาษาพื้นเมืองเกชัว แถบเทือกเขาแอนดีส แปลคร่าวๆ ว่า “แลกหมัดกัน” เมื่อเวลาผ่านไป การต่อสู้ได้พัฒนาไปสู่ระบบยุติธรรมทางเลือก เพราะปกติแล้วชุมชนในท้องถิ่นชนบทมักไม่สามารถเข้าถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาท วิธีดังกล่าวจึงเป็นทางออกของพวกเขา

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงใช้หมัดจ่ายบิลทุกปีในระหว่างการจัดงานฉลองในชุมชนเล็กๆ ของชุมบีวิลกาส การต่อสู้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งเท่านั้น แต่ยังเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในชุมชนและรับประกันความสงบสุขมากขึ้นด้วย

ในขณะที่การแลกหมัดที่อื่นอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางกฎหมายได้ แต่การแลกหมัดของที่นี่กลับเป็นเรื่องของการแข่งขันในบรรยากาศแบบครอบครัวหรือชุมชน และมีบางคนที่ลงสนามต่อสู้ด้วยเหตุผลด้านกีฬาล้วนๆ หรือบางครั้งเพราะพวกเขาเมาก็มี การเฉลิมฉลองของพวกเขาเริ่มต้นกันตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 25 ธันวาคม

คนท้องถิ่นแต่งกายชุดพื้นเมืองจำนวนหลายพันคนพากันไปรวมกัน และเดินพร้อมกันเป็นขบวนไปยังสนามต่อสู้ ผู้หญิงจะถักผม สวมกระโปรงผ้าและหมวก ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะสวมหน้ากากสกีสีรุ้งคลุมใบหน้า และสวมอุปกรณ์หนังป้องกันขาไว้เหนือน่อง บางคนก็มีซากสัตว์ที่ตายแล้วประดับบนศีรษะด้วย

ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการต่อสู้ได้ ไม่มีการจำกัดอายุหรือเพศ แม้ว่าการต่อสู้ในอดีตจะเกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ผู้ชายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้หญิงก็เข้าร่วมพิธีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านในชุมชนที่เหลือจะยืนหรือนั่งล้อมรอบเวที คอยให้กำลังใจนักสู้ และแม้ว่าการแลกหมัดกันในเทศกาลตากานากุยจะดูดุเดือด แต่ก็ยังมีกฎเกณฑ์อยู่

ความจริงแล้วการต่อสู้นี้เหมือนกับการซ้อมศิลปะการต่อสู้ มากกว่าการแลกหมัดกันตามผับบาร์ ในพิธีตากานากุยอนุญาตให้ต่อยและเตะเท่านั้น การต่อสู้จะจบลงเมื่อนักสู้คนใดคนหนึ่งเลือดออก ล้มลงกับพื้น หรือไม่สามารถป้องกันตัวเองได้อีกต่อไป กรรมการผู้ตัดสินจะคอยจับตาดูการต่อยและบังคับใช้กฎ การต่อสู้มักจะใช้เวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่จบลงหลังจากผ่านไปหนึ่งหรือสองนาที

ความคั่งแค้นควรถูกทิ้งไว้กับปีเก่า และควรต้อนรับปีใหม่ด้วยความปรองดอง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการต่อสู้ของชนพื้นเมืองเปรูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือเด็ก มักจบลงด้วยการสวมกอดฉันมิตร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้

'นายกฯอิ๊งค์' อวยพรคนไทย สุขสันต์ 'วันลอยกระทง' ฉลองปลอดภัย

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งคำอวยพร และเชิญชวนคนไทยร่วมลอยกระทงว่า “สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกท่าน สวัสดีจากประเทศเปรู

'นายกฯอิ๊งค์' สวมผ้าไหมไทย ถก 'ปธน.เปรู' ผลักดัน FTA ให้เสร็จปี 68

นายกฯ สวมผ้าไหมไทยศูนย์ศิลปาชีพ ถก 'ประธานาธิบดีเปรู' ผลักดันการเจรจา FTA ให้เสร็จภายในปี 68 ปลี้ม Softpower หนังไทย เพลงไทย ฮิตในเปรู

'อุ๊งอิ๊งออนทัวร์' เตรียมบินไปจีนแก้ปัญหาแก๊งเทา ลัดฟ้าไปเปรู ประชุมเอเปค

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าร่

ภาพถ่ายเผยเส้นทาง'อินคา'อันยิ่งใหญ่

มรดกโลก ’มาชูปิกชู’ โบราณสถานอันสวยงามบนเขาสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,430 เมตร ที่มีแม่น้ำอูรูบัมบาล้อมรอบของประเทศเปรู เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวไปเยือนปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินคาที่เคยรุ่งเรืองในอดีต