นักผจญเพลิงชาวแอฟริกาใต้ได้ต่อสู้กับไฟป่าครั้งใหญ่ 2 ครั้งบนภูเขาใกล้เคปทาวน์ ซึ่งส่งผลให้หลายครัวเรือนต้องอพยพออกจากพื้นที่
เฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงและกู้ภัยทิ้งระเบิดน้ำเพื่อดับไฟป่าเหนือย่านที่อยู่อาศัยใกล้กับเมืองไซมอนส์ทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม (Photo by GIANLUIGI GUERCIA / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 กล่าวว่า เกิดไฟป่ารุนแรง 2 ครั้งใหญ่ในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ส่งผลให้หลายครัวเรือนต้องอพยพออกจากพื้นที่
เพื่อความปลอดภัยจากไฟป่า ทางการแอฟริกาใต้ได้ปิดการเข้าถึงพื้นที่แหลมกู๊ดโฮป ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
ลมฤดูร้อนช่วยทวีความรุนแรงของเปลวไฟไปยังรีสอร์ทต่างๆ ทั่วเคปทาวน์ ขณะที่ทุกฝ่ายเตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลายหมื่นคนในช่วงวันหยุดสิ้นปี
เครื่องบิน 2 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 5 ลำระดมทิ้งน้ำลงบนเนินเขาที่กำลังลุกโชน ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่าได้ทำลายพื้นที่ป่ามากกว่า 12 ตารางกิโลเมตร
ไฟป่าครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันอังคารรอบเมืองไซมอนส์ทาวน์ซึ่งเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใต้ และอยู่ห่างจากเคปทาวน์ไปทางใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร โดยเปลวไฟยังคงลุกลามและยังไม่ดับสนิท
ไฟป่ารอบใหม่เกิดขึ้นบนเนินเขาใกล้เคียงกับไฟป่าครั้งแรก ทำให้ครอบครัว 97 ครัวเรือนต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่ยังมีชุมชนอีกสองแห่งที่มีความเสี่ยงในเขตมหานครเคปทาวน์ โดยมีอีกราว 300 ครัวเรือนที่ต้องเร่งอพยพออกจากที่อยู่อาศัย
ขณะที่ทีมงานจากสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ได้ให้ความช่วยเหลือต่อสัตว์ในป่าที่หนีตายออกมา รวมทั้งสัตว์เลี้ยงที่ถูกทิ้งไว้ที่บ้าน
"ทีมกู้ภัยพบสัตว์หลายชนิดมีสุขภาพดี แต่ส่วนใหญ่พบว่าตายแล้ว เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก" เบลินดา อับราฮัม โฆษกสมาคมฯกล่าว พร้อมชี้แจงว่าชนิดสัตว์ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกิ้งก่าและงู
ทั้งนี้ เคปทาวน์ต้องทนทุกข์ทรมานจากไฟป่าในฤดูร้อนที่เลวร้ายลงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปชน.' ชงข้อเสนอรัฐบาล ประชุมโลกร้อน 'COP29' เร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
'ปชน.' ชงข้อเสนอ รัฐบาล ในการประชุมโลกร้อน 'COP29' แนะเร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ให้เป็นรูปธรรม-ดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดขึ้นภายในครึ่งปีหน้า
นักวิชาการ ตั้งข้อสังเกต 4 ข้อ สาเหตุน้ำท่วมหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กว่า