ภายหลังการเจรจาอันยาวนาน ในที่สุดสหภาพยุโรปได้ข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้แล้วในหลายพื้นที่
ในอนาคต กฎหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้นจะถูกนำควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป ตัวแทนเจรจาจากรัฐสภายุโรปและประเทศในสหภาพยุโรปได้สรุปข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเมื่อเย็นวันศุกร์ที่กรุงบรัสเซลส์ หลังจากมีการเจรจากันมาอย่างยาวนาน
รัฐสภาสหภาพยุโรปกล่าวว่า นี่คือ “กฎหมาย AI ที่ครอบคลุมฉบับแรกของโลก” เทียร์รี เบรอต็อง-กรรมาธิการตลาดภายในของสหภาพยุโรปโพสต์ข้อความในแพลตฟอร์ต X “นี่คือประวัติศาสตร์! สหภาพยุโรปจะเป็นทวีปแรกสุดที่ตั้งกฎเกณฑ์ชัดเจนสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์”
ปัญญาประดิษฐ์มักจะหมายถึงแอพลิเคชันที่อาศัยการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่งซอฟต์แวร์จะกรองข้อมูลจำนวนมากเพื่อจับคู่และสรุปผลจากแอพลิเคชันเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมดังกล่าวสามารถประเมินภาพจากเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ได้เร็วกว่าและมีความแม่นยำมากกว่ามนุษย์ แม้กระทั่งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังพยายามประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ถนนรายอื่นด้วย และแชทบอทหรือเพลย์ลิสต์อัตโนมัติจากบริการสตรีมมิงก็ทำงานร่วมกับ AI ได้เช่นกัน
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอกฎหมายดังกล่าวในเดือนเมษายน 2021 โดยแบ่งระบบ AI ออกเป็นกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ยิ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานมีมากเท่าใด ข้อกำหนดก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังคาดหวังว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในแนวทางเดียวกันทั่วโลกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้การเจรจาเกือบจะล้มเหลว เนื่องจากคำถามในการควบคุมสิ่งที่เรียกว่า “แบบจำลองพื้นฐาน” เป็นโมเดล AI ที่ทรงพลังมากซึ่งได้รับการฝึกฝนจากชุดข้อมูลที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งานอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึง GPT
ก่อนหน้านี้เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลีต่างเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้งาน AI เฉพาะด้านเท่านั้น แต่ไม่ใช่เทคโนโลยีพื้นฐานในตัวมันเอง รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่วางแผนไว้สำหรับการจดจำใบหน้าโดยใช้ AI เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงของชาติ ก็ทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นด้วยเช่นกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหรียญที่มีสองด้านของ AI ในสังคมไทย
ประเทศไทยมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ บริการและในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอันนำไปสู่ปัญหาของสังคมเช่น
นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ถกสภานโยบายอุดมศึกษาฯ หวังพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ฮังการี ป่วนสหภาพยุโรปอีกครั้ง ด้วยกฎระเบียบใหม่สำหรับชาวรัสเซียและเบลารุส
ชาวรัสเซียหรือเบลารุสที่ลงทะเบียนเป็น “แรงงานรับเชิญ” ในฮังการี สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศได้โดยไม่ต้องมีก
เมืองรับมือโลกเดือดไหวหรือไม่ เช็กความพร้อมชุมชน
งานวิจัยชี้ชัดประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงลำดับต้นๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อนที่ผ่านมาหลายภาคของไทยเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนแทบอยู่ไม่ไหว หลายพื้นทื่เจอกับภาวะร้อนและแล้งยาวมาแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เจอฝนถล่มหนักระยะสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม
คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้