กลุ่มสิทธิสื่อผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) เรียกร้องทางการอิสราเอลและอียิปต์อนุญาตให้นักข่าวเดินทางข้ามพรมแดนทางใต้ของฉนวนกาซาเข้าสู่อียิปต์ได้อย่างอิสระ
นักข่าวชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา (Photo by SAID KHATIB / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 กล่าวว่า องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders หรือ RSF) ร้องขออิสรภาพในการเดินทางเข้าออกฉนวนกาซา เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงในพื้นที่สู้รบ
องค์กรฯต้องการให้ทางการอิสราเอลและอียิปต์อนุญาตให้นักข่าวสามารถเดินทางข้ามพรมแดนทางใต้ของฉนวนกาซาและอียิปต์ได้อย่างอิสระ ทั้งขาเข้าและขาออก ผ่านด่านราฟาห์
จุดผ่านแดนราฟาห์ถูกปิดหลังจากอิสราเอลประกาศสงครามกับกลุ่มติดอาวุธฮามาสในฉนวนกาซาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม
แม้ว่าจะมีการเปิดเป็นระยะๆ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่อนุญาตเฉพาะผู้ที่อยู่ในรายชื่อที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น
ในแถลงการณ์ขององค์กรฯ มีการเรียกร้องให้เปิดจุดผ่านแดนราฟาห์สำหรับการเดินทางเข้าออกของนักข่าว จากอียิปต์สู่กาซาและจากกาซาสู่อียิปต์
นักข่าวชาวปาเลสไตน์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพที่ต้องการหนีออกจากบ้านของตนทางตอนเหนือของฉนวนกาซา เช่นเดียวกับพลเรือนคนอื่นๆ ที่ผ่านมาได้ปฎิบัติตามคำสั่งของกองทัพอิสราเอลที่ให้มารวมตัวกันที่ชายแดนอียิปต์ แต่ก็ทำได้แค่เฝ้ารออย่างเนิ่นนานโดยไม่มีสัญญาณให้ข้ามพรมแดนออกมา เช่นเดียวกับนักข่าวต่างชาติที่ถูกขัดขวางไม่ให้เข้าไป
ปัจจุบัน จุดผ่านแดนราฟาห์ถูกควบคุมโดยกลุ่มฮามาสและอียิปต์ แต่องค์กรฯเชื่อว่าอิสราเอลคอยควบคุมกิจกรรมทั้งหมดที่ชายแดนทางใต้ ขณะที่จุดผ่านแดนแห่งเดียวในกาซาซึ่งเชื่อมโยงกับดินแดนอิสราเอลก็ถูกปิดเช่นกัน
"ในช่วงสองเดือนของสงคราม ไม่มีนักข่าวสักคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในฉนวนกาซาผ่านทางราฟาห์ ซึ่งถือเป็นการบ่อนทำลายความสามารถของสื่อในการรายงานความขัดแย้งอย่างชัดเจน" องค์กรฯกล่าว และเสริมว่า กองทัพอิสราเอลเองยังเคยทิ้งระเบิดที่ประตูชายแดนแห่งนี้ 4 ครั้งในช่วงเริ่มต้นของสงคราม
จากข้อมูลขององค์กรฯ นักข่าว 58 รายถูกสังหารในฉนวนกาซาจากการโจมตีของอิสราเอล โดย 14 รายในจำนวนนี้เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่
การสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม คร่าชีวิตผู้คนทั้งสองฝ่ายไปแล้วกว่าไป 17,200 รายและส่วนใหญ่เป็นพลเรือน, ผู้หญิง และเด็ก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝนและความหนาวเย็นทำให้สถานการณ์ของผู้พลัดถิ่นและตัวประกันในฉนวนกาซารุนแรงขึ้น
ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ในฉนวนกาซาต้องพลัดถิ่นตั้งแต่เริ่มสงคราม ขณะนี้พวกเขากำลังเผชิญกับภาว