นายกฯ กัมพูชาลั่น จะไม่สร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง

ผู้นำกัมพูชากล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า รัฐบาลของเขาจะไม่สร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง หลังล้มเลิกโครงการถ่านหินมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ในเขตอนุรักษ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

พื้นที่ระบบนิเวศในแม่น้ำโขงของกัมพูชา (Photo by Sarah LAI / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2566 กล่าวว่า กัมพูชาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากการอนุญาตให้บริษัทต่างๆ เข้าใช้พื้นที่ป่าหลายแสนเฮกตาร์ รวมถึงในพื้นที่คุ้มครอง สำหรับกิจการทุกสิ่งตั้งแต่สวนยางพาราและอ้อย ไปจนถึงเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ

นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา กล่าวว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาในแม่น้ำและทะเลสาบโตนเลสาบ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแหล่งปลาที่สำคัญสำหรับชาวกัมพูชา ดังนั้นจะไม่มีการดำเนินการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง

"รัฐบาลจะไม่สร้างเขื่อนใดๆ ตามแนวแม่น้ำโขง เพราะมันส่งผลกระทบอย่างมาก" เขากล่าวระหว่างพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในจังหวัดชายฝั่งทะเลของเกาะกง

นอกจากนี้ ทายาทฮุนเซนยังได้ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการยกเลิกโรงงานถ่านหินขนาด 700 เมกะวัตต์มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ในอุทยานโบตัมสาครที่ได้รับการคุ้มครองในเกาะกง

ทั้งนี้ โรงงานโบตัมสาครซึ่งมี 2 ยูนิตมีกำหนดจะเริ่มดำเนินการประมาณปี 2568 การล้มโครงการของนายกฯกัมพูชาจึงทำให้เจ้าหน้าที่พิจารณาเปลี่ยนโครงการจากเดิมเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แทน

ฮุน มาเน็ต ย้ำว่ากัมพูชาจะไม่พัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ เพราะต้องการแสดงความรับผิดชอบของประเทศต่อสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศโลกที่ใช้ร่วมกัน

เขากล่าวว่า ขอส่งความเคลื่อนไหวนี้เป็นข้อความถึงประเทศต่างๆ ในเวทีเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศของ COP28 ในดูไบ

เพื่อให้ประเทศกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านพลังงานสะอาดสำหรับการท่องเที่ยวและการลงทุน รัฐบาลกัมพูชาจึงตั้งเป้านำพลังงานทดแทนมาใช้ให้ได้มากถึง 70% ภายในปี 2573 จากปัจจุบันที่คิดเป็น 60% ของแหล่งพลังงานทั้งประเทศ

เมื่อเดือนธันวาคม 2564 กัมพูชาได้เผยแพร่แผนงานเพื่อให้บรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 พร้อมให้คำมั่นสัญญาที่จะส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนอันมีส่วนสำคัญในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ รวมถึงการลงทุนในการนำเข้า, การจัดเก็บ และโครงสร้างพื้นฐานของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)

การไฟฟ้าของประเทศระบุว่า ในปี 2565 การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินมีสัดส่วนเพียง 35.5% ขณะที่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำมีสัดส่วนมากถึง 54%.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' ปลื้ม 'มาครง' หนุนสานต่อสัญญาการค้า ตั้งกรุ๊ป Whatapp ร่วม 'ฮุน มาเน็ต' ไว้หารือ

'เศรษฐา' เยือนฝรั่งเศส เผยเวลาน้อยแต่คุ้ม บอก 'มาครง' พร้อมหนุนสานต่อสัญญา การค้า-ท่องเที่ยว- EV-พลังงานสะอาด ช่วยอัปเกรดกองทัพไทยภายใน 10 ปี ยกฝรั่งเศสเป็นแม่แบบพลังงานสะอาดนำใช้ในไทย ปลื้มสตรีหมายเลข 1 สวมชุดแดงทักทาย แย้มแลกเบอร์โทรพร้อมตั้งกรุ๊ป Whatapp ร่วม 'ฮุน มาเน็ต' ไว้หารือ

'สยามเทคโนโพล' เผย คนไทยส่วนใหญ่สนใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เหตุช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา นักวิชาการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ร่วมกับ อาจารย์วงศกร อยู่มาก หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และ ดร.ธนเสฏฐ์ อัคคัญญ์ภูดิส อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล เปิดเผย ผลสำรวจเรื่อง ประชาชนสนใจโซลาร์เซลล์