นักโทษปาเลสไตน์ที่อิสราเอลปล่อยตัวแลกเปลี่ยนเป็นใคร?

AFP

ด้วยการจับตัวประกันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสจึงสร้างอำนาจที่แข็งแกร่งเหนือรัฐบาลอิสราเอล ส่วนหนึ่งของข้อตกลงหยุดยิงที่ตกลงกันไว้ ตอนนี้กลุ่มฮามาสยอมปล่อยตัวประกันเฉพาะในกรณีที่ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัวเป็นการตอบแทนเท่านั้น จนถึงขณะนี้ชาวปาเลสไตน์จำนวน 177 คนได้รับการปล่อยตัวจากการคุมขังของอิสราเอลแล้ว เพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกันของกลุ่มฮามาส 58 คน

แต่ชาวปาเลสไตน์เหล่านั้นเป็นใครที่รัฐบาลอิสราเอลยอมปล่อยตัว? และอัตราส่วนของนักโทษประมาณ 3 คนต่อตัวประกัน 1 คนจะยังคงดำเนินต่อไปหรือไม่?

นักโทษชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระนั้น มีรายละเอียดให้ติดตามได้จากเว็บไซต์ของรัฐบาลอิสราเอล ในนั้นมีการเผยแพร่รายชื่อ 300 ชื่อที่มีโอกาสได้รับการปล่อยตัว รายชื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ชายอายุต่ำกว่า 18 ปี ในจำนวนนั้นอายุน้อยที่สุดคือ 14 ปี นอกจากนี้ยังมีผู้หญิง 33 คนในรายชื่อ บางคนสูงวัย คนที่อายุมากที่สุดคือ 59 ปี

ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกควบคุมตัวเป็นนักโทษส่วนใหญ่เพิ่งถูกจับกุม แต่ยังไม่ถูกพิพากษาลงโทษ หลายกรณีถูกตั้งข้อหาค่อนข้างคลุมเครือ อย่างเช่นก่อความไม่สงบในพื้นที่ควบคุม หรือบางคนถูกจับกุมเพียงเพราะขว้างปาก้อนหิน แต่บางคนก็มีข้อหาที่รุนแรงกว่านั้น เช่น การทำร้ายร่างกายสาหัส ผลิตอุปกรณ์ระเบิด หรือลอบวางเพลิง มีนักโทษสองคนเกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าด้วยอาวุธมีด เป็นต้น

ในอดีตเคยมีข้อตกลงการแลกตัวประกันมาแล้ว และเคยเป็นประสบการณ์ที่ขมขื่นเป็นพิเศษสำหรับอิสราเอล คือ การแลกเปลี่ยนตัว กิลาด ชาลิต-ทหารอิสราเอล กับนักโทษชาวปาเลสไตน์จำนวนมากกว่า 1,000 คน ชาลิตถูกกลุ่มฮามาสลักพาตัวไปในเดือนมิถุนายน 2006 และถูกนำตัวไปยังฉนวนกาซา เขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่นั่นนานถึงห้าปี จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในเดือนตุลาคม 2011 เพื่อแลกกับชาวปาเลสไตน์ 1,027 คน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายมองว่าการแลกตัวประกันครั้งแรกถือเป็นมาตรการสร้างความมั่นใจระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล แต่การเจรจาอาจจะยากขึ้นสำหรับตัวประกันแต่ละคน เพราะกลุ่มฮามาสจะเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนตัวประกัน และอาชญากรรมของนักโทษก็จะมีความร้ายแรงมากขึ้นเช่นกัน ฮามาสจะเรียกร้องราคาที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการปล่อยตัวประกันที่เป็นเครือญาติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพอิสราเอล

ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่าการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นแผนของฮามาส กลุ่มผู้ก่อการร้ายใช้การจับตัวประกันเป็นข้อต่อรอง ข่มขู่ เพื่อกลับไปสู่โต๊ะเจรจา นอกจากนี้กลุ่มฮามาสยังใช้การปล่อยตัวประกันแลกกับนักโทษในการแย่งชิงอำนาจกับกลุ่มปาเลสไตน์อื่นๆ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในฐานะผู้ดูแลคุ้มครอง

สิ่งนี้สอดคล้องกับวิธีการรับชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับการปล่อยตัวกลับสู่ภูมิภาคบ้านเกิดของพวกเขา – นักโทษมากกว่าสามสิบคนถูกส่งตัวกลับไปยังเวสต์แบงก์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ชาวเมืองหลายร้อยคนให้การต้อนรับชายหนุ่มทั้ง 39 คนเหมือนวีรบุรุษในใจกลางเมืองรามัลเลาะห์ ฝูงชนพากันห้อมล้อมและโอบอุ้มชายสวมชุดนักโทษสีเทาเหล่านั้นขึ้นบ่า พร้อมทั้งโบกธงสีเขียวของกลุ่มฮามาสแสดงความยินดีปรีดา

ในขณะเดียวกันยังมีคนอีก 184 คนถูกจับเป็นตัวประกันอยู่ในฉนวนกาซา.

AFP

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศร้า! รับร่างไร้วิญญาณแรงงานไทย เหยื่อสู้รบในอิสราเอลกลับถึงบ้านแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถยนต์ตู้ยี่ห้อ โตโยต้า สีขาว ทะเบียน นจ 3915 นนทบุรี ของร้านสุริยาหีบศพ แคราย ได้เคลื่อนย้ายร่างของนายประหยัด

'มาริษ' ร่อนหนังสือ​ประท้วงทางการอิสราเอล หลังแรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย

นายมาริษ​ เสงี่ยมพงษ์​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ​ กล่าวถึงเหตุยิงจรวดเข้าไปในเขตประเทศอิสราเอล และทำให้คนไทยเสียชีวิต 4 ราย แล

นายกฯ เสียใจสุดซึ้ง เหตุแรงงานไทยเสียชีวิต ใกล้ชายแดนเลบานอน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทวีตข้อความ ว่า เมื่อคืนนี้(31 ต.ค.) ได้รับรายงานจากนายมาริษ เสงียมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ @AmbPoohMaris

"พิพัฒน์" แสดงความเสียใจ 4 แรงงานเสียชีวิตในอิสราเอล สั่งการปลัดประสานเอกอัคราชทูต อพยพแรงงานภาคเหนือ ไปทางภาคใต้ของอิสราเอล ด่วน

1 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกมาแสดงความเสียใจ กรณีแรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ว่า