ตรวจพบ 'ไวรัสแมว' จากไซปรัสครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ

AFP

แมวหลายพันตัวในไซปรัสเสียชีวิตไปในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องมาจากไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขณะนี้ตรวจพบไวรัสชนิดดังกล่าวเป็นครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ

ตามรายงานของทีมนักวิชาการซึ่งนำโดยนักไวรัสวิทยา คริสทีน เทต-เบอร์การ์ด จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ พวกเขาได้ค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่เรียกว่า ‘F-CoV-23’ เป็นครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ ซึ่งเป็นแมวจากเกาะไซปรัส สาเหตุเพราะการนำเข้าแมวจรจัดจากเกาะในเมดิเตอร์เรเนียนเป็นที่แพร่หลายในอังกฤษ

ในการศึกษาของทีมนักวิชาการ มีการสืบค้นไปถึงต้นตอว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการระบาดในไซปรัส เพราะปกติแล้วไวรัสจะไม่แพร่กระจายได้ง่ายนัก แต่คาดว่ามีแมวอย่างน้อย 8,000 ตัวเสียชีวิตบนเกาะไซปรัสที่มีแมวจรจัดหลานแสนตัวอาศัยอยู่ แต่จำนวนเหยื่อไวรัสที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้มาก เมื่อตรวจสอบจีโนมของไวรัสโคโรนาในแมวที่ทำให้เกิดการระบาด ทีมงานได้ค้นพบไวรัส 2 ชนิดที่แตกต่างอยู่รวมกัน

สไปค์โปรตีนที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเซลล์เจ้าบ้านไม่ได้มาจากไวรัสในแมว แต่มาจากสายพันธ์โคโรนาที่มักเกิดขึ้นในสุนัข การรวมกันของไวรัสนี้อาจนำไปสู่การระบาดของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว (FIP = Feline infectious peritonitis) เนื่องจากสัตว์ไม่ได้ตายจากไวรัส แต่มักเกิดจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรืออาการอื่นๆ ที่แพร่กระจาย FIP สามารถแพร่ไปทั่วโลกได้ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับแมว

เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า โรคนี้อาจเกิดจากไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ในแมว แต่ไวรัสเหล่านี้มักแพร่เชื้อได้ไม่ง่าย แต่สาเหตุที่มีการระบาดอย่างรุนแรงในแมวไซปรัสจนเป็นที่สังเกตได้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นั่นเพราะ ‘F-CoV-23’ คือตัวแปรสำคัญที่อาจแพร่เชื้อผ่านทางอุจจาระสัตว์และทางปาก อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสสามารถแพร่เชื้อสู่คน สุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้

มีแมวจำนวนมากในไซปรัสซึ่งกระตุ้นให้ไวรัสนี้แพร่กระจาย แต่สัตว์เหล่านี้ดูเหมือนจะมีภูมิต้านทานต่อสารตั้งต้นไวรัส ซึ่งอาจไม่ใช่กรณีของแมวบนเกาะอังกฤษ จนถึงตอนนี้นักวิชาการยังไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเจ้าของแมวชาวอังกฤษจะต้องตื่นตระหนก และให้แมวของตนอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น แต่หากแมวที่เลี้ยงมีอาการซึมเศร้า มีไข้ ชัก หรือท้องบวม ก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

นอกจากนี้ทีมนักวิชาการยังไม่เห็นความเกี่ยวข้องใดๆ กับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในมนุษย์ แม้ว่าก่อนหน้านี้มีการตรวจพบการรวมตัวกันของไวรัสที่คล้ายคลึงกันในแมวก็ตาม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์

นักไวรัสวิทยาแนะทำตัวเหมือนป้องกันโควิดสกัดไข้หวัดใหญ่ที่พุ่งช่วงนี้ได้

นักไวรัสวิทยาแจงรายละเอียดข้อมูลไข้หวัดใหญ่ไทยกับ WHO เตือนช่วงนี้ตัวเลขไทยพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แนะใช้ช่องป้องกันตัวเหมือนโควิด

นักไวรัสวิทยาแนะ 'พิธา' ไม่ควรเป็นพรีเซนเตอร์ฉีดซัคซีน!

'นักไวรัสวิทยา' ชี้ 'พิธา' ติดโควิดน่าจะหนีไม่พ้นสายพันธุ์ XBB พร้อมแนะไม่ควรฉีดเข็ม 7 และไม่ควรเป็นพรีเซนเตอร์วัคซีน เพราะฉีดเยอะเกิน!