องค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อวันศุกร์ว่า ได้อนุมัติการใช้งานแบบฉุกเฉินสำหรับวัคซีน "โคโวแวกซ์" ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัท โนวาแวกซ์ ของสหรัฐ
เอเอฟพีรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 ว่าองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ประกาศในแถลงการณ์จากนครเจนีวาวันเดียวกันว่า องค์การได้อนุมัติวัคซีนโคโวแวกซ์ ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัท โนวาแวกซ์ สำหรับการใช้งานแบบฉุกเฉิน และจากนี้ วัคซีนโคโวแวกซ์จะถูกแจกจ่ายในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการโคแวกซ์ที่เป็นระบบแบ่งปันวัคซีนทั่วโลก ซึ่งเป็นการส่งเสริมที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความพยายามที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ ในการฉีดวัคซีนให้กับผู้คนในประเทศที่มีรายได้น้อย
มารีอันเจลา ซิเมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอด้านการเข้าถึงยา, วัคซีน และเภสัชภัณฑ์ กล่าวว่า แม้จะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น แต่วัคซีนยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปกป้องผู้คนจากการเจ็บป่วยร้ายแรงและการเสียชีวิตจากไวรัส SARS-COV-2
เธอกล่าวอีกว่า การขึ้นบัญชีวัคซีนชนิดนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเข้าถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ซึ่ง 41 ประเทศยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรได้ถึง 10% ขณะที่ 98 ประเทศยังฉีดวัคซีนได้ไม่ถึง 40%
วัคซีนโคโวแวกซ์ต้องฉีด 2 โดส และสามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิของตู้เย็นทั่วไปที่ 2-8 องศาเซลเซียส.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้