ชาวอะบอริจินอาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาเป็นเวลาหลายพันปี สิทธิของพวกเขาควรได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นทางการด้วยหรือไม่นั้น ชาวออสเตรเลียมีความเห็นแยกเป็นสองขั้ว และผลประชามติเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาสะท้อนชัดเจนแล้วว่า สิทธิของชนพื้นเมืองไม่ได้ถูกรวมไว้ในรัฐธรรมนูญ
‘การลงประชามติเพื่อเสียงชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย’ มีเป้าหมายเพื่อขยายรัฐธรรมนูญออสเตรเลียอายุ 122 ปี โดยมีข้อความที่คำนึงถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างเป็นทางการ เหตุเพราะในอดีตเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เจ้าอาณานิคมบริเตนใหญ่ใช้อำนาจปกครองอย่างกดขี่ และไม่เคยกล่าวถึงชาวพื้นเมืองในรัฐธรรมนูญที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 1901 กระทั่งปี 1967 ชนเผ่าพื้นเมืองเพิ่งได้รับสิทธิพลเมือง จนถึงช่วงทศวรรษ 1970 เด็กชาวเผ่าพื้นเมืองก็ถูกพรากจากครอบครัวเพื่อไป ‘เข้ารับการศึกษาใหม่’ ตามสถาบันที่นับถือศาสนาคริสต์หรืออยู่กับครอบครัวคนผิวขาว จนถึงปี 2008 รัฐบาลออสเตรเลียภายใต้นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ ในขณะนั้น ได้ออกมากล่าวขอโทษสำหรับความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกับเหยื่อของ ‘เจเนอเรชันที่ถูกขโมย’
แต่ถึงอย่างนั้นก็มีชาวพื้นเมืองจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์การลงประชามติครั้งนี้โดยใช้ริมฝีปากแสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ได้นำไปสู่อะไรเลย
แอนโธนี อัลบานีส นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ซึ่งมีส่วนผลักดันการลงประชามติครั้งนี้หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงเชียร์ของผู้สนับสนุน ก่อนหน้านี้เขาเคยกล่าวว่า “เราทุกคนควรภาคภูมิใจที่สังคมพหุวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของเราได้รวมเอาวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของโลกที่ยังคงดำรงอยู่ไว้ด้วยกัน”
แต่การรณรงค์ซึ่งนำโดยพรรคแรงงานก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในการสำรวจหลายครั้งพบว่าเสียงคัดค้านของฝ่ายตรงข้ามมักมีคะแนนนำ และเป็นที่พอใจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านอย่างมาก แต่อัลบานีสก็ไม่สนใจเสียงคัดค้านของฝ่ายตรงข้าม “วันนี้ผมลงคะแนน ‘เห็นด้วย’ อย่างภาคภูมิใจ เพราะผมรู้ว่านี่คือสิ่งที่ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียต้องการ” เขากล่าวกับสื่อในวันลงประชามติ และเสริมว่าการรณรงค์ของฝ่ายตรงข้ามมีพื้นฐานมาจากความกลัว
ชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลียมีสัดส่วน 3.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากร หรือประมาณ 988,000 คนจากประชากรทั้งหมด 26 ล้านคน ส่วนใหญ่มีปัญหา ไม่ว่าเรื่องอายุขัยที่ลดลง อัตราการว่างงานที่สูงอย่างไม่เป็นสัดส่วน การฆ่าตัวตาย การถูกคุมขัง โอกาสทางการศึกษาน้อยลง และการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่จำกัด
กลุ่มผู้สนับสนุนที่ลงคะแนน ‘เห็นด้วย’ ในการเพิ่มสิทธิให้กับชนเผ่าพื้นเมืองในรัฐธรรมนูญเชื่อว่าจะช่วยปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมืองในออสเตรเลียให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ออสเตรเลียสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ที่แท้จริงด้วย
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ดูเหมือนจะเป็นแรงหนุนให้การรณรงค์ ‘เห็นด้วย’ น้อยมาก เพราะนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ไม่เคยมีการลงประชามติครั้งไหนเลยในออสเตรเลียที่ประสบความสำเร็จ และครั้งนี้ก็เช่นกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลียมีแผนจะแบนเครือข่ายออนไลน์สำหรับเด็กและเยาวชน
ออสเตรเลียต้องการสั่งห้ามการใช้เครือข่ายออนไลน์ อย่างเช่น Facebook และ TikTok สำหรับเด็กและเยาวชน นายกรัฐมนต
'จเด็จ' เสียดายแต่ไม่เสียใจ 'ช้างศึก' พ่ายจุดโทษออสเตรเลีย ศึก U-16 อาเซียน
จเด็จ มีลาภ ยอมรับว่าเขารู้สึกเสียดาย ที่ทีมชาติไทย U17 พลาดโอกาสการคว้าแชมป์อาเซียน ประจำปี 2024 ที่ประเทศอินโดนีเซีย มาครอง แต่ก็ไม่เสียใจกับผลงานโดยรวมของทีม
'ช้างศึก' สู้เต็มที่ก่อนพ่ายจุดโทษ 'ออสซี่' คว้ารองแชมป์ U-16 อาเซียน
วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เวลา 19.30 น. ณ มานาฮาน สเตเดียม เมืองสุราการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี รอบชิงขนะเลิศ ทีมชาติไทย พบกับ ทีมชาติออสเตรเลีย
ลุ้นแชมป์รอบ9ปี 'มาดามแป้ง'โฟนอินหาช้างศึกU16 เชื่อเรื่องใจไม่เป็นรองออสซี่
“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ โฟนอินให้กำลังใจ ทีมชาติไทย U16 ต่อเนื่อง พร้อมรับแม้รูปร่างเป็นรองแต่ไม่ใช่เรื่องหัวจิตหัวใจ ในเกมที่เตรียมพบกับ ออสเตรเลีย ศึกชิงแชมป์อาเซียน 2024 รอบชิงชนะเลิศ ช่วงค่ำวันนี้พุธที่ 3 ก.ค.67
'จเด็จ'ยอมรับนัดชิงU16 เจอออสซี่งานหนัก 'มาดามแป้ง'ขอบคุณรัฐฯNBTถ่ายสด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องแถลงข่าว ณ มานาฮาน สเตเดียม ในเมืองสุราการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ เอเอฟเอฟ จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี รอบชิงชนะเลิศ