ทำไมมาลีถึงอยากได้รัสเซียเป็นพันธมิตรระดับโลก

AFP

รัฐบาลทหารของมาลีเลื่อนการเลือกตั้งเสรีออกไปอีกครั้ง นักสังเกตการณ์กลัวว่ากลุ่มผู้ต่อต้านภายใต้ประธานาธิบดี อัสซิมี โกอิตา ต้องการจะยึดอำนาจ

แม่น้ำไนเจอร์ไหลเอื่อยผ่านเมืองหลวงบามาโกของมาลี ชีวิตในมหานครแห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย นับตั้งแต่รัฐบาลทหารภายใต้การปกครองของอัสซิมิ โกอิตาเข้ามามีอำนาจ มาลีคงไม่ต่างจากที่อื่นในโลกใบนี้ซึ่งมีปัญหาหลักคือ ค่าครองชีพสูงขึ้น และไฟฟ้าดับในแต่ละวัน

เมื่อสองปีที่แล้ว อัสซิมิ โกอิตา ประธานาธิบดีชั่วคราววัย 40 ปีของมาลี ยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหาร อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษผู้นี้ไม่ค่อยเป็นที่คุ้นตาของประชาชน อาจเป็นไปได้ว่าเขาขี้อาย และไม่ได้พูดจาไพเราะเป็นพิเศษ เขาไม่ค่อยเดินทางออกนอกประเทศ เหตุผลหลักเพราะกลัวว่าจะถูกไล่ให้พ้นตำแหน่งเมื่อเขาไม่อยู่

แต่เมื่อสองเดือนที่แล้วเขาเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอด ‘รัสเซีย-แอฟริกา’ ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โกอิตาแต่งกายในชุดพื้นเมือง จับมือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน นับตั้งแต่เขาก้าวขึ้นสู่อำนาจ การตัดสินใจทางการเมืองก็เริ่มเปลี่ยนไป ยามนี้มาลีต้องการคบหายักษ์ใหญ่อย่างรัสเซียเป็นพันธมิตรเท่านั้น นั่นเพราะรัสเซียอยู่เคียงข้างมาลีมาสามเดือนแล้ว ในขณะที่ชาติอื่นๆ เคยอยู่ในมาลีถึง 60 ปี

‘เยเรโวโล’ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ใหญ่ที่สุดของมาลี และเป็นพลเรือนที่สนับสนุนรัฐบาลทหาร สมาชิกส่วนใหญ่มองว่าตนเองมีความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียมายาวนาน นับตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1960 ที่มาลีมีใจเอนเอียงไปหากลุ่มประเทศอีสต์บล็อก ชาติอื่นๆ ที่เข้าไปมีบทบาทในมาลีหนีไม่พ้นกองทัพตะวันตกของสหประชาชาติ โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมในมาลี แม้ว่าพวกเขาจะออกจากประเทศไปนานแล้วก็ตาม แต่ชาวมาลีส่วนใหญ่ยังจงเกลียดจงชังฝรั่งเศส และมักโยนความผิดให้ฝรั่งเศสที่ทำให้ทุกอย่างในประเทศของพวกเขาแย่ลง

แตกต่างจากรัสเซียที่ไม่เคยเป็นผู้ปกครองอาณานิคมในทวีปแอฟริกามาก่อน ชาวมาลีจึงรู้สึกได้ถึงความเท่าเทียมกันมากกว่า “ปูตินมีความสนใจ ปูตินไม่ได้สนับสนุนมาลีเพราะเป็นมาลี หรือเพราะสงสารมาลี” บัสซารู ซิลลา-นักเคลื่อนไหวของเยเรโวโลกล่าว “ไม่เลย ปูตินมีความสนใจอยู่แล้ว เราโตพอที่จะเข้าใจเรื่องนั้น แต่มาลีก็มีความสนใจร่วมกับปูตินเหมือนกัน เราต้องการอาวุธของรัสเซีย เราต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ ของพวกเขา เราซื้อมันจากพวกเขา แค่นั้นเอง เป็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์โลก”

ความมั่นใจในตนเองของมาลีอยู่ในระดับสูง ความต้องการความช่วยเหลือก็เช่นกัน ประเทศในอนุภาคทะเลทรายซาฮาราแอฟริกาส่วนใหญ่โดดเดี่ยว พันธมิตรที่มีก็แค่ไนเจอร์ กินี และบูร์กินาฟาโซเท่านั้น ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

รัสเซียไม่มีข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ มีก็แต่ด้านการทหาร กองกำลังวากเนอร์เคยสร้างผลงานน่าประทับใจให้กับผู้นำเผด็จการหลายคนในทวีปแอฟริกา รวมทั้งมาลีด้วย ‘ฟามา’ กองทัพมาลีต้องการการสนับสนุนในการสู้รบกับกลุ่มอิสลามอัลกออิดะห์และอัลชาบับ ทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ

กองกำลังของสหประชาชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการ อีกทั้งไม่ใช่ภารกิจในข้อกำหนด และเมื่อพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำ ผู้ก่อการร้ายจึงถือโอกาสโจมตีแบบหนักข้อมากขึ้น นักสังเกตการณ์มีความกังวลว่ามาลีอาจต้องเจอกับปัญหาหนักยิ่งกว่านั้นอีก ยิ่งมาลีหันไปพึ่งพารัสเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว ประเทศก็จะยิ่งโดดเดี่ยวมากขึ้น รวมถึงทำให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาและการลงทุนยากขึ้นด้วย

ดูเหมือนว่ารัฐบาลชั่วคราวของอัสซิมิ โกอิตาต้องการที่จะอยู่ในอำนาจอย่างถาวรโดยไม่มีการเลือกตั้ง ซึ่งนั่นจะทำให้สถานการณ์ในอนุภาคทะเลทรายซาฮาราแอฟริกายากลำบากมากขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัสเซียถล่มยูเครน ไม่เว้นแม้วันคริสต์มาส

รัสเซียยังโจมตียูเครนทางอากาศครั้งใหญ่แม้ในวันคริสต์มาส เมื่อเช้าวันพุธ โอเลคซานเดอร์ โปรคูดิน-ผู้ว่าการแคว้นเคอร์ซอน ทางตอนใต้ของยูเค

'หลานม่า' คว้า 2 รางวัล จากเทศกาลภาพยนตร์รัสเซีย

‘หลานม่า’ ภาพยนตร์ จาก GDH ได้รับ 2 รางวัล จากเทศกาลภาพยนตร์ จากรัสเซีย ‘KinoBravo International Film Festival 2024’ ได้แก่ นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) ยายแต๋ว-อุษา เสมคำ นักแสดงนำผู้รับบท อาม่าเหม้งจู รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography) ก๊อย-บุญยนุช ไกรทอง ผู้กำกับภาพ

จับ 'หนุ่มออสเตรีย' ขับเจ็ตสกี ชนนักท่องเที่ยวรัสเซียดับ

เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา สภ.กะรน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2567 เวลาประมาณ 19.00 น. สถานีตำรวจภูธรกะรน

องค์กรในซีเรียเรียกร้องต่อรัฐบาลรัสเซีย ให้กดดัน 'อัสซาด' เปิดเผยที่ตั้งเรือนจำลับ

องค์กรคุ้มครองพลเรือนซีเรีย ‘หมวกขาว’ เรียกร้องให้มอสโกกดดัน บาชาร์ อัล-อัสซาด ซึ่งมีรายงานว่าได้หลบหนีไปรัสเซีย เปิดเผยสถานที่คุมขั