WHO รายงานการติดเชื้ออหิวาตกโรคเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ

AFP
.

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า เมื่อปีที่แล้วมีการจดทะเบียนผู้ป่วยสูงถึง 470,000 ราย ในปีนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก

ในลิเบีย ความกลัวการระบาดของอหิวาตกโรคขณะนี้รุนแรงมาก สถานการณ์ส่อเค้าจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ องค์การอนามัยโลกในเจนีวาได้รับรายงานว่าในพื้นที่ต่างๆ มีจำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรคเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ที่จำนวน 470,000 รายในขณะที่ปีก่อนหน้ามีเพียง 220,000 ราย อย่างไรก็ตามข้อมูลตัวเลขยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด

ก่อนหน้านี้ WHO คาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยราว 1.3 ถึง 4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิต 143,000 รายในแต่ละปี ตอนนี้ WHO ได้ประกาศว่ามีการระบาดของโรคท้องร่วงในปี 2022 ครั้งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษได้แก่ อัฟกานิสถาน แคมเมอรูน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มาลาวี ไนจีเรีย โซมาเลีย และซีเรีย

ยิ่งการระบาดเป็นวงกว้างเท่าไหร่ การควบคุมก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น – WHO กล่าว การระบาดของอหิวาตกโรคมีความเชื่อมโยงกับแหล่งน้ำดื่มที่ไม่เพียงพอ ความยากจน และความขัดแย้งทางการเมือง โดยรวมแล้วมี 44 ประเทศที่รายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรค เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9 ประเทศ และมีรายงานผู้เสียชีวิต 2,349 ราย

ข้อมูลปัจจุบันของ WHO สำหรับปี 2023 บ่งชี้ว่าจำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมี 24 ประเทศที่ระบุว่าอหิวาตกโรคกำลังระบาด อหิวาตกโรคมักเกิดขึ้นภายหลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น หรืออุทกภัย ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้มีความกังวลกันว่าโรคนี้อาจระบาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมในลิเบีย

โรคท้องร่วงที่ติดต่อได้ง่ายมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย Vibrio cholera ซึ่งก่อให้เกิดพิษในลำไส้ สาเหตุหลักคือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย รวมถึงอาหารปนเปื้อน

ผู้ติดเชื้อจำนวนมากอาจไม่มีอาการ แต่ในกรณีที่รุนแรง การสูญเสียของเหลวและเกลืออย่างรุนแรงอาจทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว กล้ามเนื้อเป็นตะคริว อาจถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคในช่องปากด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้